ยูแซฟ ปิวซุตสกี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ยูแซฟ ปิวซุดสกี)
ยูแซฟ ปิวซุตสกี
ปิวซุตสกี ป. ทศวรรษ 1920
ประมุขแห่งรัฐโปแลนด์
ดำรงตำแหน่ง
22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 – 14 ธันวาคม ค.ศ. 1922
นายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้าคณะผู้สำเร็จราชการ
ถัดไปกาบรีแยล นารูตอวิตช์ (ในฐานะประธานาธิบดี)
นายกรัฐมนตรีโปแลนด์
ดำรงตำแหน่ง
2 ตุลาคม ค.ศ. 1926 – 27 มิถุนายน ค.ศ. 1928
ประธานาธิบดีอิกนัตซือ มอชต์ซิตสกี
รองกาซีมีแยช บาร์แตล
ก่อนหน้ากาซีมีแยช บาร์แตล
ถัดไปกาซีมีแยช บาร์แตล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ยูแซฟ แกลแมนส์ ปิวซุตสกี

5 ธันวาคม ค.ศ. 1867(1867-12-05)
ซูวูฟ เขตผู้ว่าการวิลนา
จักรวรรดิรัสเซีย (ปัจจุบันคือประเทศลิทัวเนีย)
เสียชีวิต12 พฤษภาคม ค.ศ. 1935(1935-05-12) (67 ปี)
วอร์ซอ ประเทศโปแลนด์
พรรคการเมืองอิสระ
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พรรคสังคมนิยมโปแลนด์ (ค.ศ. 1893–1918)
คู่สมรส
บุตร
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้
สังกัด
ประจำการ
  • ค.ศ. 1914–1923
  • ค.ศ. 1926–1935
ยศจอมพลแห่งโปแลนด์
ผ่านศึก
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1920 ปิวซุตสกีสถาปนาตนเองเป็น "จอมพลแห่งโปแลนด์คนแรก"

ยูแซฟ แกลแมนส์ ปิวซุตสกี (โปแลนด์: Józef Klemens Piłsudski; 5 ธันวาคม ค.ศ. 1867 – 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1935) เป็นรัฐบุรุษชาวโปแลนด์ ผู้เป็นประมุขแห่งรัฐ (ค.ศ. 1918–1922) และจอมพลแห่งโปแลนด์คนแรก (ตั้งแต่ ค.ศ. 1920) เขาเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเมืองโปแลนด์ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศของโปแลนด์ ประชาชนส่วนใหญ่ต่างมีมุมมองต่อปิวซุตสกีว่าเป็นบิดาแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 ซึ่งเป็นรัฐโปแลนด์ที่ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1918 หลังจากช่วงเวลา 123 ปี ของการแบ่งโปแลนด์ครั้งสุดท้ายใน ค.ศ. 1795 และเป็นผู้นำโดยพฤตินัย (ค.ศ. 1926–1935) ของสาธารณรัฐที่สอง ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ปิวซุตสกีมองว่าตนเองเป็นผู้สืบทอดทางวัฒนธรรมและประเพณีของเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย เขามีความเชื่อในประเทศโปแลนด์ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ("บ้านของบรรดาชาติ") รวมถึงชาติพันธุ์พื้นเมืองและชนกลุ่มน้อยทางศาสนา สำหรับอาชีพทางการเมืองในช่วงแรก ปิวซุตสกีเข้าเป็นหัวหน้าพรรคสังคมนิยมโปแลนด์ และต่อมาใน ค.ศ. 1914 ปิวซุตสกีได้ก่อตั้งหน่วยทหารโปแลนด์ขึ้น ด้วยความเชื่อว่าเอกราชของโปแลนด์จะสามารถเกิดขึ้นได้จากชัยชนะทางทหาร โดยเขาคาดการณ์ว่ามหาสงครามครั้งใหม่จะทำลายล้างจักรวรรดิรัสเซียกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง หลังการอุบัติขึ้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งใน ค.ศ. 1914 หน่วยทหารของปิวซุตสกีได้ต่อสู้กับรัสเซียเคียงข้างฝ่ายจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งต่อมาเมื่อรัสเซียเริ่มเพลี่ยงพล้ำในสงครามใน ค.ศ. 1917 เขาจึงถอนการสนับสนุนฝ่ายมหาอำนาจกลาง และถูกฝ่ายเยอรมนีคุมขังไว้ที่มัคเดอบวร์ค

ปิวซุตสกีเป็นประมุขแห่งรัฐโปแลนด์ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เมื่อโปแลนด์ได้รับเอกราชอีกครั้งหนึ่งจนถึง ค.ศ. 1922 โดยในระหว่าง ค.ศ. 1919–1921 เขาเป็นผู้นำกองทัพโปแลนด์ในหกสงครามที่เป็นการกำหนดเขตแดนของประเทศ แม้ว่าประเทศจะเกือบปราชัยในสงครามโปแลนด์–โซเวียตในช่วงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1920 แต่กองกำลังของเขาก็ยังยับยั้งการรุกรานจากรัสเซียโซเวียตได้ในยุทธการที่วอร์ซอ จากนั้นใน ค.ศ. 1923 ปิวซุตสกีได้เกษียณตัวเองในแวดวงการเมือง หลังจากรัฐบาลอยู่ภายใต้การครอบงำของฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประชาธิปไตยแห่งชาติ แต่ในอีกสามปีต่อมา เขากลับสู่อำนาจอีกครั้งจากการรัฐประหารเดือนพฤษภาคม และกลายเป็นบุคคลผู้มีอำนาจสูงสุดในระบอบซานัตสยา (Sanacja) โดยในช่วงเวลานี้ ปิวซุตสกีมุ่งความสนใจไปที่กิจการทหารและการต่างประเทศจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ ค.ศ. 1935 รวมถึงได้พัฒนาลัทธิบูชาบุคคลที่จะสามารถดำรงอยู่ได้จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 21

แม้ว่าจะมีการโต้เถียงกันในบางแง่มุมของการบริหารของปิวซุตสกี เช่น การคุมขังฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองที่เบเรซาการ์ตุสกา (Bereza Kartuska) แต่เขายังคงเป็นหนึ่งในบุคคลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์โปแลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 และได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้ก่อตั้งประเทศโปแลนด์สมัยใหม่


บรรณานุกรม[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

This is only a small selection. See also National Library in Warsaw lists เก็บถาวร 11 เมษายน 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  • Czubiński, Antoni, บ.ก. (1988). Józef Piłsudski i jego legenda [Józef Piłsudski and His Legend]. Warsaw: Państowe Wydawnictwo Naukowe PWN. ISBN 978-83-01-07819-5.
  • Davies, Norman (2001) [1984]. Heart of Europe, The Past in Poland's Present. Oxford; New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-280126-5.
  • Dziewanowski, Marian Kamil (1969). Joseph Pilsudski: A European Federalist, 1918–1922. Stanford: Stanford University Press. ISBN 978-0-8179-1791-3.
  • Garlicki, Andrzej (1981). "Piłsudski, Józef Klemens". Polish Biographical Dictionary (Polski Słownik Biograficzny) vol. XXVI (ภาษาโปแลนด์). Wrocław: Polska Akademia Nauk. pp. 311–324.
  • Hauser, Przemysław (1992). Dorosz, Janina (transl.). "Józef Piłsudski's Views on the Territorial Shape of the Polish State and His Endeavours to Put them into Effect, 1918–1921". Polish Western Affairs. Poznań: Komisja Naukowa Zachodniej Agencji Prasowej (2): 235–249. ISSN 0032-3039.
  • Jędrzejewicz, Wacław (1989). Józef Piłsudski 1867–1935. Wrocław: Wydawnictwo LTW. ISBN 978-83-88736-25-4.
  • Piłsudska, Aleksandra (1941). Pilsudski: A Biography by His Wife. New York: Dodd, Mead. OCLC 65700731.
  • Piłsudski, Józef; Gillie, Darsie Rutherford (1931). Joseph Pilsudski, the Memories of a Polish Revolutionary and soldier. Faber & Faber.
  • Piłsudski, Józef (1972). Year 1920 and its Climax: Battle of Warsaw during the Polish-Soviet War, 1919–1920, with the Addition of Soviet Marshal Tukhachevski's March beyond the Vistula. New York: Józef Piłsudski Institute of America. ASIN B0006EIT3A.
  • Reddaway, William Fiddian (1939). Marshal Pilsudski. London: Routledge. OCLC 1704492.
  • Rothschild, Joseph (1967). Pilsudski's Coup d'État. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-02984-1.
  • Wandycz, Piotr S. (1970). "Polish Federalism 1919–1920 and its Historical Antecedents". East European Quarterly. Boulder, Colorado. 4 (1): 25–39. ISSN 0012-8449.
  • Wójcik, Włodzimierz (1987). Legenda Piłsudskiego w Polskiej literaturze międzywojennej (Piłsudski's Legend in Polish Interwar Literature). Warsaw: Śląsk. ISBN 978-83-216-0533-3.
  • Zimmerman, Joshua D. Jozef Pilsudski: Founding Father of Modern Poland (Harvard University Press, 2022) online review

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]