ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นูกูอาโลฟา"

พิกัด: 21°8′9″S 175°12′32″W / 21.13583°S 175.20889°W / -21.13583; -175.20889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 227: บรรทัด 227:
==การปกครอง==
==การปกครอง==
[[ไฟล์:British High Commissioner's residence, Nukuʻalofa, Tonga.jpg|thumbnail|right|150px|สำนักงานข้าหลวงใหญ่สหราชอาณาจักร]]
[[ไฟล์:British High Commissioner's residence, Nukuʻalofa, Tonga.jpg|thumbnail|right|150px|สำนักงานข้าหลวงใหญ่สหราชอาณาจักร]]
กรุงนูกูอาโลฟาไม่ได้จัดเป็นเขตการปกครองหรือหมู่บ้านตามหลักการแบ่งเขตการปกครองของประเทศตองงา แต่เกิดจากการรวมกันของหมู่บ้านชุมชนเมือง 3 แห่งทางตอนเหนือของ[[เกาะโตงาตาปู]]ได้แก่ โกโลโฟโออู มาอูฟางา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขต[[โกโลโฟโออู]] และโกโลโมตูอา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขต[[โกโลโมตูอา]]<ref name=census/> ในบางครั้งเรียกรวมพื้นที่ของเขตโกโลโฟโออูและเขตโกโลโมตูอารวมกันว่า ''Greater Nuku'alofa''<ref>United Nations,"Compendium of Human Settlements Statistics 1995'', หน้า 25</ref> ดังนั้นอำนาจการดูแลพื้นที่ของกรุงนูกูอาโลฟาจึงอยู่ในขอบเขตของเจ้าหน้าที่ประจำเขตและเจ้าหน้าที่ประจำหมู่บ้านที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งตำแหน่งเหล่านี้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน<ref>{{cite web| url=https://www.clgf.org.uk/default/assets/File/Country_profiles/Tonga.pdf | title=THE LOCAL GOVERNMENT SYSTEM IN TONGA| publisher=Commonwealth Local Government Forum| accessdate=6 กรกฎาคม 2563}}</ref> อย่างไรก็ตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีอยู่อย่างจำกัด<ref>Sansom,"Principles for Local Government Legislation: Lessons from the Commonwealth Pacific'', หน้า 21</ref> ดังนั้นหน้าที่การบริหารจัดการส่วนใหญ่ในการดูแลกรุงนูกูอาโลฟาจึงอยู่ภายใต้การจัดการของรัฐบาลตองงาเป็นหลัก<ref>Asian Development Bank,''The State of Pacific Towns and Cities: Urbanization in ADB's Pacific Developing Member Countries'', หน้า 126</ref>
กรุงนูกูอาโลฟาไม่ได้จัดเป็นเขตการปกครองหรือหมู่บ้านตามหลักการแบ่งเขตการปกครองของประเทศตองงา แต่เกิดจากการรวมกันของหมู่บ้านชุมชนเมือง 3 แห่งทางตอนเหนือของเกาะโตงาตาปูได้แก่ โกโลโฟโออู มาอูฟางา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตโกโลโฟโออู และโกโลโมตูอา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตโกโลโมตูอา<ref name=census/> ในบางครั้งเรียกรวมพื้นที่ของเขตโกโลโฟโออูและเขตโกโลโมตูอารวมกันว่า ''Greater Nuku'alofa''<ref>United Nations,"Compendium of Human Settlements Statistics 1995'', หน้า 25</ref> ดังนั้นอำนาจการดูแลพื้นที่ของกรุงนูกูอาโลฟาจึงอยู่ในขอบเขตของเจ้าหน้าที่ประจำเขตและเจ้าหน้าที่ประจำหมู่บ้านที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งตำแหน่งเหล่านี้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน<ref>{{cite web| url=https://www.clgf.org.uk/default/assets/File/Country_profiles/Tonga.pdf | title=THE LOCAL GOVERNMENT SYSTEM IN TONGA| publisher=Commonwealth Local Government Forum| accessdate=6 กรกฎาคม 2563}}</ref> อย่างไรก็ตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีอยู่อย่างจำกัด<ref>Sansom,"Principles for Local Government Legislation: Lessons from the Commonwealth Pacific'', หน้า 21</ref> ดังนั้นหน้าที่การบริหารจัดการส่วนใหญ่ในการดูแลกรุงนูกูอาโลฟาจึงอยู่ภายใต้การจัดการของรัฐบาลตองงาเป็นหลัก


กรุงนูกูอาโลฟาในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของประเทศ จึงเป็นศูนย์กลางทางด้านการเมืองการปกครองของประเทศ โดยมีทั้งหน่วยงานด้าน[[นิติบัญญัติ]] [[อำนาจบริหาร|บริหาร]]และ[[ตุลาการ]] รวมไปถึง[[พระราชวังหลวงตองงา]] ซึ่งเป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการของ[[รายพระนามพระมหากษัตริย์ตองงา|พระมหากษัตริย์ตองงา]]ด้วย<ref>{{cite web| url=https://www.britannica.com/place/Nukualofa | title=Nukuʿalofa| publisher=ENCYCLOPÆDIA BRITANNICA| accessdate=6 กรกฎาคม 2563}}</ref><ref>Dorall,''Commonwealth Ministers Reference Book 2003'', หน้า 95</ref> นอกจากนี้กรุงนูกูอาโลฟายังเป็นที่ตั้งของสถาน[[เอกอัครราชทูต]] 5 ประเทศ ได้แก่ [[ประเทศออสเตรเลีย]]<ref>{{cite web| url=https://tonga.embassy.gov.au/nkfa/home.html | title=Australian High Commission: Kingdom of Tonga| publisher=Australian High Commission| accessdate=7 กรกฎาคม 2563}}</ref> [[ประเทศนิวซีแลนด์]]<ref>{{cite web| url=https://www.mfat.govt.nz/en/countries-and-regions/pacific/tonga/new-zealand-high-commission/ | title=New Zealand High Commission, Nuku'alofa, Tonga| publisher=New Zealand High Commission| accessdate=7 กรกฎาคม 2563}}</ref> [[ประเทศจีน]]<ref>{{cite web| url=http://to.chineseembassy.org/eng/lxwm/ | title=Embassy of the People's Republic of China | publisher=Embassy of the People's Republic of China| accessdate=7 กรกฎาคม 2563}}</ref> [[ประเทศญี่ปุ่น]]<ref>{{cite web| url=https://www.ton.emb-japan.go.jp/itpr_en/about_e.html | title=Embassy of Japan in the Kingdom of Tonga | publisher=Embassy of Japan in the Kingdom of Tonga | accessdate=7 กรกฎาคม 2563}}</ref> และ[[สหราชอาณาจักร]]<ref>{{cite web| url=https://www.rnz.co.nz/international/pacific-news/390939/resident-high-commissioner-to-tonga-announced-as-british-embassy-reopens | title=Resident High Commissioner to Tonga announced as British embassy reopens | publisher=Radio New Zealand | accessdate=7 กรกฎาคม 2563}}</ref>
กรุงนูกูอาโลฟาในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของประเทศ จึงเป็นศูนย์กลางทางด้านการเมืองการปกครองของประเทศ โดยมีทั้งหน่วยงานด้านนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ รวมไปถึงพระราชวังหลวงตองงา ซึ่งเป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการของพระมหากษัตริย์ตองงาด้วย นอกจากนี้กรุงนูกูอาโลฟายังเป็นที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูต 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศจีน<ref>{{cite web| url=http://to.chineseembassy.org/eng/lxwm/ | title=Embassy of the People's Republic of China | publisher=Embassy of the People's Republic of China| accessdate=7 กรกฎาคม 2563}}</ref> ประเทศญี่ปุ่น<ref>{{cite web| url=https://www.ton.emb-japan.go.jp/itpr_en/about_e.html | title=Embassy of Japan in the Kingdom of Tonga | publisher=Embassy of Japan in the Kingdom of Tonga | accessdate=7 กรกฎาคม 2563}}</ref> และสหราชอาณาจักร


==ประชากร==
==ประชากร==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:04, 28 กรกฎาคม 2563

นูกูอาโลฟา
Nukuʻalofa
ย่านกลางกรุง
ย่านกลางกรุง
แผนที่ประเทศตองงา
แผนที่ประเทศตองงา
พิกัด: 21°8′9″S 175°12′32″W / 21.13583°S 175.20889°W / -21.13583; -175.20889
ประเทศ ตองงา
เขตปกครองโตงาตาปู
พื้นที่
 • ทั้งหมด11.41 ตร.กม. (4.41 ตร.ไมล์)
ความสูง3 เมตร (10 ฟุต)
ความสูงจุดสูงสุด6 เมตร (20 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด0 เมตร (0 ฟุต)
ประชากร
 (2016)
 • ทั้งหมด23,221 คน
 • ความหนาแน่น2,035 คน/ตร.กม. (5,270 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+13 (–)
รหัสพื้นที่676
ภูมิอากาศAf

นูกูอาโลฟา (ตองงา: Nukuʻalofa) เป็นเมืองหลวงของตองงา มีประชากรทั้งหมด 23,221 คน เมืองนี้อยู่บนเกาะโตงาตาปู โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เนื้อมะพร้าวตากแห้ง กล้วย วานิลลา และงานฝีมือ

นูกูอาโลฟามีความสำคัญมากในทางด้านการค้าขาย การขนส่ง และเป็นศูนย์รวมทางสังคมของตองงา กรุงนูกูอาโลฟามีประชากรทั้งหมดร้อยละ 35 ของทั้งประเทศ ทั้งพระราชวัง โบถส์คริสต์เวสเลยัน และสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรัฐบาลล้วนอยู่ในเมืองนี้ทั้งสิ้น

ศัพทมูลวิทยา

เมื่อศึกษาตามหลักศัพทมูลวิทยาพบว่านูกูอาโลฟา มีที่มาจากคำในภาษาตองงา 2 คำ คือคำว่า Nuku ซึ่งหมายถึง ที่พัก และคำว่า Alofa ซึ่งหมายถึง ความรัก ดังนั้นนูกูอาโลฟา จึงมีความหมายว่าที่พักแห่งความรัก[1] ในภาษาตองงาสามารถถอดชื่อเมืองหลวงแห่งนี้เป็นสัทอักษรได้ว่า /nuku.ˈəloʊfə/[2] นูกูอาโลฟาปรากฏชื่อเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในหนังสือของมิชชันนารีชาวอังกฤษที่ชื่อจอร์จ แวสัน ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1810 บอกเล่าถึงประสบการณ์ของเขาในการเดือนทางเยือนตองงาในปี ค.ศ. 1797 โดยสะกดชื่อว่า Noogollefa[3] สาเหตุที่การสะกดต่างจากปัจจุบัน เนื่องจากการพัฒนาตัวอักษรละตินเพื่อเขียนภาษาตองงาได้เริ่มจริงจังในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1820–1830[4][5]

ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศ

ภาพถ่ายดาวเทียมกรุงนูกูอาโลฟา

กรุงนูกูอาโลฟาตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะโตงาตาปู ซึ่งเป็นเกาะปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะตองงา[6] ห่างไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงซูวาเมืองหลวงของฟีจีเป็นระยะทางประมาณ 750 กิโลเมตรและห่างจากนครออกแลนด์ของนิวซีแลนด์ประมาณ 2,000 กิโลเมตร[7] ครอบคลุมพื้นที่ 11.41 ตารางกิโลเมตร และหากนับรวมพื้นที่ปริมณฑลด้วยจะครอบคลุมพื้นที่ 34.82 ตารางกิโลเมตร[8] ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ มีระดับความสูงเฉลี่ยจากระดับน้ำทะเลประมาณ 4 เมตร[9] ทรัพยากรดินโดยรวมมีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากเถ้าถ่านภูเขาไฟจากเกาะข้างเคียง[10] และดินในบริเวณใกล้ชายฝั่งตอนเหนือของกรุงนูกูอาโลฟามีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกมากที่สุดบนเกาะโตงาตาปู[11] ส่วนทรัพยากรน้ำนั้น กรุงนูกูอาโลฟาพึ่งพาการใช้ระบบน้ำใต้ดินเป็นหลัก โดยส่งผ่านท่อไปตามครัวเรือนต่างๆ อย่างไรก็ตามพบว่าครัวเรือนที่อยู่ใกล้ชายฝั่งนิยมใช้น้ำที่มาจากน้ำฝนมากกว่า เนื่องจากพื้นที่โดยรวมค่อนข้างต่ำ การวางท่อประปาใกล้ทะเลจึงมักพบปัญหาน้ำทะเลรุกล้ำเข้ามา ส่งผลให้รสชาติไม่เป็นที่น่าพอใจ[12] นอกจากนี้บางส่วนยังพบการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินจากน้ำเสียอีกด้วย[13]

บริเวณพื้นที่ทางทะเลที่ตั้งอยู่ใกล้กรุงนูกูอาโลฟามีพื้นที่อนุรักษ์หรือพื้นที่สงวนทางทะเลที่สำคัญหลายแห่ง เช่น แนวปะการังโมอูนู ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 0.506 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงนูกูอาโลฟา[14] แนวปะการังปาไงโมตู ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 1.325 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงนูกูอาโลฟา[15] และลากูนฟางาอูตาและฟางากาเกา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 22.273 ตารางกิโลเมตร โดยกรุงนูกูอาโลฟามีพื้นที่ติดต่อกับลากูนนี้ทางทิศใต้[16] เป็นต้น

ภูมิอากาศ

ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน กรุงนูกูอาโลฟามีลักษณะภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น โดยได้รับอิทธิพลจากลมค้าตะวันออกเฉียงใต้[17] ฤดูกาลในกรุงนูกูอาโลฟาเหมือนกับฤดูกาลโดยทั่วไปของประเทศตองงา ซึ่งมี 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและฤดูแล้ง โดยจะเข้าสู่ช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤศจิกายน–เมษายน ซึ่งช่วงเดือนมกราคม–มีนาคม จะเป็นช่วงเดือนที่ฝนตกมากที่สุด และฤดูแล้งระหว่างเดือนพฤษภาคม–ตุลาคม[17] ด้วยกรุงนูกูอาโลฟาไม่มีเดือนใดที่มีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 60 มิลลิเมตร (2.4 นิ้ว) จึงกล่าวได้ว่าไม่มีฤดูแล้งที่แท้จริง[18] อย่างไรก็ตามในระยะหลังปริมาณน้ำฝนเริ่มลดน้อยลงเล็กน้อยและมีความผันผวนของปริมาณน้ำฝนเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนและปรากฏการณ์เอลนีโญ[17] สำหรับอุณหภูมิเฉลี่ยของกรุงนูกูอาโลฟาอยู่ที่ประมาณ 24 องศาเซลเซียส (75 องศาฟาเรนไฮต์) โดยเดือนมกราคม–มีนาคม เป็นช่วงที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงที่สุด ในขณะที่เดือนมิถุนายน–สิงหาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำที่สุด[18] จากการเก็บข้อมูลสภาพภูมิอากาศของกรุงนูกูอาโลฟาย้อนกลับไปตั้งแต่ ค.ศ. 1949 พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยพิ่มขึ้นประมาณ 0.4–0.6 องศาเซลเซียส นับตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา[17]

ข้อมูลภูมิอากาศของนูกูอาโลฟา
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 32
(90)
32
(90)
31
(88)
30
(86)
30
(86)
28
(82)
28
(82)
28
(82)
28
(82)
29
(84)
30
(86)
31
(88)
32
(90)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 29.4
(84.9)
29.9
(85.8)
29.6
(85.3)
28.5
(83.3)
26.8
(80.2)
25.8
(78.4)
24.9
(76.8)
24.8
(76.6)
25.3
(77.5)
26.4
(79.5)
27.6
(81.7)
28.7
(83.7)
27.3
(81.1)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 26.4
(79.5)
26.8
(80.2)
26.6
(79.9)
25.3
(77.5)
23.6
(74.5)
22.7
(72.9)
21.5
(70.7)
21.5
(70.7)
22.0
(71.6)
23.1
(73.6)
24.4
(75.9)
25.6
(78.1)
24.1
(75.4)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 23.4
(74.1)
23.7
(74.7)
23.6
(74.5)
22.1
(71.8)
20.3
(68.5)
19.5
(67.1)
18.1
(64.6)
18.2
(64.8)
18.6
(65.5)
19.7
(67.5)
21.1
(70)
22.5
(72.5)
20.9
(69.6)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 16
(61)
17
(63)
15
(59)
15
(59)
13
(55)
11
(52)
10
(50)
11
(52)
11
(52)
12
(54)
13
(55)
16
(61)
10
(50)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 174
(6.85)
210
(8.27)
206
(8.11)
165
(6.5)
111
(4.37)
95
(3.74)
95
(3.74)
117
(4.61)
122
(4.8)
128
(5.04)
123
(4.84)
175
(6.89)
1,721
(67.76)
ความชื้นร้อยละ 77 78 79 76 78 77 75 75 74 74 73 75 76
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 17 19 19 17 15 14 15 13 13 11 12 15 180
แหล่งที่มา: Weatherbase[18]

การปกครอง

สำนักงานข้าหลวงใหญ่สหราชอาณาจักร

กรุงนูกูอาโลฟาไม่ได้จัดเป็นเขตการปกครองหรือหมู่บ้านตามหลักการแบ่งเขตการปกครองของประเทศตองงา แต่เกิดจากการรวมกันของหมู่บ้านชุมชนเมือง 3 แห่งทางตอนเหนือของเกาะโตงาตาปูได้แก่ โกโลโฟโออู มาอูฟางา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตโกโลโฟโออู และโกโลโมตูอา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตโกโลโมตูอา[8] ในบางครั้งเรียกรวมพื้นที่ของเขตโกโลโฟโออูและเขตโกโลโมตูอารวมกันว่า Greater Nuku'alofa[19] ดังนั้นอำนาจการดูแลพื้นที่ของกรุงนูกูอาโลฟาจึงอยู่ในขอบเขตของเจ้าหน้าที่ประจำเขตและเจ้าหน้าที่ประจำหมู่บ้านที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งตำแหน่งเหล่านี้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน[20] อย่างไรก็ตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีอยู่อย่างจำกัด[21] ดังนั้นหน้าที่การบริหารจัดการส่วนใหญ่ในการดูแลกรุงนูกูอาโลฟาจึงอยู่ภายใต้การจัดการของรัฐบาลตองงาเป็นหลัก

กรุงนูกูอาโลฟาในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของประเทศ จึงเป็นศูนย์กลางทางด้านการเมืองการปกครองของประเทศ โดยมีทั้งหน่วยงานด้านนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ รวมไปถึงพระราชวังหลวงตองงา ซึ่งเป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการของพระมหากษัตริย์ตองงาด้วย นอกจากนี้กรุงนูกูอาโลฟายังเป็นที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูต 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศจีน[22] ประเทศญี่ปุ่น[23] และสหราชอาณาจักร

ประชากร

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
19314,005—    
19569,202+129.8%
196615,545+68.9%
197618,312+17.8%
198621,383+16.8%
199622,400+4.8%
200623,658+5.6%
201124,229+2.4%
201623,221−4.2%
สำมะโนประชากรของนูกูอาโลฟา[24][25]
หมู่บ้าน ประชากร[8]
โกโลโฟโออู 8,265
โกโลโมตูอา 7,595
มาอูฟางา 7,361
รวม 23,221

จากการทำสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2016 พบว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในกรุงนูกูอาโลฟามีทั้งสิ้น 23,221 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 23.20 ของประชากรทั้งประเทศ และหากรวมประชากรในเขตปริมณฑลของกรุงนูกูอะโลฟาจะมีประชากรรวมกัน 35,184 คน โดยมีความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 2035 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร[8] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 ประชากรที่อาศัยอยู่ในกรุงนูกูอาโลฟามีเพียงร้อยละ 10 จากประชากรของทั้งประเทศ[26] แต่นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1931 เป็นต้นมา ประชากรในกรุงนูกูอาโลฟาเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด[27] เนื่องจากประชากรในชนบทต้องการแสวงหาโอกาสทางการศึกษาและการประกอบอาชีพ ประกอบกับพื้นที่ชนบทมีข้อจำกัดทางด้านการขยายที่ดินทำการเกษตร ส่งผลให้ประชากรในเขตเกาะต่าง ๆ ลดน้อยลงเป็นอย่างมาก[26] แต่ในปี ค.ศ. 2016 อัตราการเติบโตของประชากรในกรุงนูกูอาโลฟากลับลดลง ซึ่งลักษณะเช่นนี้พบได้ทั่วไปเกือบทุกเมืองในประเทศตองงา[8] อย่างไรก็ตามมีการคาดหมายว่าประชากรของกรุงนูกูอาโลฟาอาจเพิ่มสูงได้ถึง 45,000 คน ในปี ค.ศ. 2030[28] ประชากรที่อาศัยอยู่ในกรุงนูกูอาโลฟาจัดว่าเป็นประชากรเพียงกลุ่มเดียวในประเทศที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง โดยเกณฑ์การจัดเขตเมืองของประเทศตองงากำหนดให้เขตเมืองคือหมู่บ้านที่มีประชากรเกิน 5,000 คน ซึ่งพบได้เฉพาะในกรุงนูกูอาโลฟาเท่านั้น[8]

โครงสร้างประชากรของกรุงนูกูอาโลฟามีประชากรเชื้อชาติตองงาและลูกครึ่งตองงาเป็นประชากรกลุ่มหลัก มีจำนวน 22,117 คน (ร้อยละ 95.25) รองลงมาคือชาวจีน 369 คน (ร้อยละ 1.59) ส่วนที่เหลือเป็นชาวยุโรป ชาวฟีจี ชาวเอเชียและกลุ่มประชากรที่มาจากหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก[8] ประชากรส่วนมากสามารถใช้ภาษาตองงาและภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ แต่ประชากรโดยรวมเริ่มมีค่านิยมให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาตองงามากขึ้น เห็นได้ชัดเจนจากหลักสูตรของโรงเรียนมัธยมในกรุงนูกูอาโลฟา และกิจการด้านสื่อของประเทศ[29]

การนับถือศาสนาของประชากรในกรุงนูกูอาโลฟาคล้ายคลึงกับการนับถือศาสนาของประชากรตองงาทั่วไป โดยประชากรส่วนใหญ่ในกรุงนูกูอาโลฟานับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนมาก โดยแบ่งเป็นคริสตจักรฟรีเวสเลยันจำนวน 8,491 คน (ร้อยละ 36.67) โรมันคาทอลิกจำนวน 4,374 คน (ร้อยละ 18.83) ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งสิทธิชนยุคสุดท้ายจำนวน 2,754 คน (ร้อยละ 11.86) นอกจากนั้นนับถือศาสนาคริสต์นิกายอื่น ๆ เช่น คริสตจักรอิสระตองงา แองกลิคัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีประชากรที่นับถือศาสนาอื่น โดยกลุ่มใหญ่ที่สุดคือกลุ่มผู้นับถือศาสนาบาไฮจำนวน 167 คน (ร้อยละ 0.72) และศาสนาพุทธจำนวน 21 คน (ร้อยละ 0.09)[8]

วัฒนธรรม

สถาปัตยกรรม

ไฟล์:St Mary's Cathedral, Tonga.jpg
อาสนวิหารเซนต์แมรี

ด้วยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญตองงาที่ให้สิทธิ์แก่ชายอายุ 16 ปีขึ้นไป สามารถถือครองที่ดินสำหรับทำการเกษตรและที่ดินสำหรับสร้างที่อยู่อาศัย ส่งผลให้ประชาชนชาวตองงาเปลี่ยนรูปแบบที่อยู่อาศัยจากการที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นการอยู่แบบแยกครอบครัวมากขึ้น โดยแต่ละครอบครัวจะมีการสร้าง ฟาเล (ตองงา: fale) สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย และมีการแบ่งพื้นที่สำหรับการซักล้าง การทำอาหารและพื้นที่เลี้ยงหมู[30] ด้วยการเจริญเติบโตของกรุงนูกูอาโลฟาและการติดต่อกับชาติตะวันตก ความนิยมการสร้างบ้านด้วยงานสถาปัตยกรรมแบบฟาเลได้เปลี่ยนไปเป็นแบบสมัยนิยมมากขึ้น[31] เช่น พระราชวังหลวงตองงาที่สร้างขึ้นในลักษณะของอาคารสองชั้นในรูปแบบวิกตอเรีย เป็นต้น[32] อย่างไรก็ตามงานสถาปัตยกรรมแบบฟาเลยังคงอยู่ในรูปแบบของศาสนสถานของคริสต์ศาสนาและอาคารสำคัญหลายแห่ง[33] โดยนำวิธีการก่อสร้างสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการก่อสร้าง[34] เช่น อาสนวิหารเซนต์แมรี พิพิธภัณฑ์ตองงา อาคารรัฐสภาและศูนย์วัฒนธรรม เป็นต้น[31]

อาหาร

โอตาอีกา

อาารทะเลเป็นอาหารที่พบได้ทั่วไปในกรุงนูกูอาโลฟา ซึ่งมีการจัดจำหน่ายอาหารเหล่านี้ทั้งในร้านอาหารและร้านค้าข้างถนน[35] โดยอาหารที่ถือได้ว่าขึ้นชื่อที่สุดของกรุงนูกูอาโลฟาและประเทศตองงาเป็นอาหารที่มีมะพร้าวและเนื้อสัตว์เป็นองค์ประกอบ เช่น โอตาอีกา ('Ota 'ika) ซึ่งเป็นการนำเนื้อปลาทะเลสดหมักกับน้ำกะทิ[36] และลู (Lū) ซึ่งเป็นการนำเนื้อสัตว์และกะทิพันด้วยใบเผือก[36] เป็นต้น นอกจากอาหารพื้นเมืองแล้ว พบว่าภายในกรุงนูกูอาโลฟามีการจำหน่ายอาหารนานาชาติด้วย เช่น อาหารจีนและอาหารตะวันตก เป็นต้น[37]

เทศกาล

ในฐานะที่กรุงนูกูอาโลฟาเป็นเมืองหลวงและชุมชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ ดังนั้นกิจกรรมและเทศกาลหลายอย่างจึงจัดขึ้นในเมืองนี้ ทั้งกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวันสากล ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันจันทร์ศักดิ์สิทธิ์ วันศุกร์ประเสริฐและวันคริสต์มาส เป็นต้นแล้ว[38][39] ยังมีวันหยุดและเทศกาลที่เกี่ยวเนื่องกับประเทศตองงาด้วย งานเทศกาลที่ถือได้ว่ามีการจัดอย่างยิ่งใหญ่และเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือเทศกาลเฮอิลาลา ซึ่งมีการจัดเฉลิมฉลองขึ้นเป็นเวลา 2–3 สัปดาห์ในระหว่างเดือนมิถุนายน–กรกฎาคม[40] โดยเทศกาลนี้เริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1980 เพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของสมเด็จพระราชาธิบดีเตาฟาอาเฮา ตูโปอูที่ 4[41] ในช่วงเทศกาล ชาวตองงาจะรวมตัวกันเพื่อร่วมชมขบวนพาเหรด เข้าร่วมการประกวดในกิจกรรมดนตรีและรับประทานอาหารในบริเวณรอบตัวเมือง พร้อมทั้งสนทนาพูดคุยกับเพื่อนและบุคคลในครอบครัว[38][42] กิจกรรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเทศกาลนี้คือการประกวดนางงาม Miss Heilala ซึ่งมีสาวงามจากตองงาและต่างประเทศเข้าร่วมการประกวด[43] นอกจากเทศกาลเฮอิลาลา มีงานเทศกาลที่เกี่ยวเนื่องกับประเทศตองงาอื่นที่จัดทั่วไปในกรุงนูกูอาโลฟา เช่น งานเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระมหากษัตริย์และรัชทายาท งานวันตองงา ซึ่งจัดในวันที่ 4 พฤศจิกายนของทุกปี เพื่อเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ เป็นต้น[38] อย่างไรก็ตามในบางครั้งกรุงนูกูอาโลฟามักมีเทศกาลเฉลิมฉลองพิเศษเกิดขึ้น ซึ่งรัฐบาลมักประกาศให้วันเฉลิมฉลองดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการแบบกรณีพิเศษด้วย เห็นได้จากการจัดงานเฉลิมฉลองให้กับทีมรักบี้ลีกตองงาที่สามารถทำการแข่งขันชนะทีมสหราชอาณาจักรและออสเตรเลียเป็นครั้งแรก[44]

กีฬา

รักบี้ยูเนียนเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศตองงา[45] เมื่อทีมรักบี้ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติ มักมีการจัดงานเฉลิมฉลองทั่วไปในกรุงนูกูอาโลฟา[46] โดยมีกะลาสีเรือและมิชชันนารีเป็นผู้นำกีฬารักบี้มาเผยแพร่ที่กรุงนูกูอาโฟลและบริเวณใกล้เคียงเป็นที่แรก[47] รักบี้ทีมชาติตองงาจะใช้สนามกีฬาเตอูฟาอีวาในกรุงนูกูอาโลฟาเป็นสนามเหย้า[48] ในระดับท้องถิ่นเมื่อมีการแข่งกีฬารักบี้ชิงชนะเลิศระดับชาติ จะใช้สนามกีฬาเตอูฟาอีวาเป็นสนามกีฬาที่ใช้จัดการแข่งขันเช่นกัน โดยมักได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก[49] นอกจากกีฬารักบี้แล้ว มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลและกรีฑาที่สนามกีฬาแห่งนี้เช่นกัน[50]

กรุงนูกูอาโลฟาได้รับโอกาสเป็นเจ้าภาพในมหกรรมกีฬาหลายรายการ โดยจะใช้สนามกีฬาเตอูฟาอีวาเป็นสนามกีฬาหลัก การแข่งขันระดับประเทศที่จัดในกรุงนูกูอาโลฟาเป็นประจำทุกปีคือการแข่งขันกีฬาระหว่างวิทยาลัย ซึ่งจัดขึ้นในเดือนเมษายนเป็นประจำทุกปี[51] นอกจากนี้กรุงนูกูอาโลฟาเคยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาในระดับนานาชาติหลายรายการ เช่น เซาธ์แปซิฟิกมินิเกมส์ 1989[52] การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โอเชียเนีย 1998[53]และการแข่งขันกรีฑาเยาวชนชิงแชมป์โอเชียเนีย 1998[54] เป็นต้น

การศึกษา

ระบบการศึกษาตองงากำหนดให้เด็กที่อายุ 7–14 ปีต้องเข้ารับการศึกษาภาคบังคับ โดยแบ่งเป็นชั้นประถมศึกษา 6 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี มัธยมศึกษาตอนปลาย 4 ปี และการศึกษาระดับหลังมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา[55] ซึ่งการจัดการเรียนการสอนจะใช้ภาษาตองงาและภาษาอังกฤษในการจัดการเรียนการสอน โดยจะเพิ่มการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น เมื่ออยู่ในระดับชั้นที่สูงขึ้น[56] เมื่อพิจารณาจากคุณวุฒิทางการศึกษาและการศึกษาต่อในระดับสูงพบว่าประชากรในกรุงนูกูอาโลฟามีวุฒิการศึกษาและอัตราการเข้าศึกษาต่อในระดับสูงสูงที่สุดในประเทศตองงา โดยมีประชากรนูกูอาโลฟาร้อยละ 17 สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งมากกว่าประชากรกลุ่มอื่นในประเทศที่มีเพียงร้อยละ 9 เท่านั้น[7]

ภายในกรุงนูกูอาโลฟามีสถานศึกษาทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา โดยสถานศึกษาเหล่านี้จะอยู่ภายใต้การจัดการของรัฐบาลตองงา โบสถ์และเอกชน[57] สำหรับสถานศึกษาระดับประถมศึกษามีรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการเป็นส่วนมากและนักเรียนส่วนใหญ่เรียนในสถานศึกษาเหล่านี้[58] ในขณะที่ระดับมัธยมศึกษา มีโรงเรียนมัธยมของรัฐ 1 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองนี้คือโตงาไฮสคูล[59] โดยโตงาไฮสคูลเป็น 1 ใน 2 โรงเรียนมัธยมของรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะโตงาตาปู และถือได้ว่าทั้ง 2 แห่งนี้ มีจำนวนนักเรียนรวมกันมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนมัธยมของรัฐโรงเรียนอื่นในตองงา[60] ในระดับหลังมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาส่วนใหญ่มีเอกชนเป็นเจ้าของ เช่น สถาบันอาเทนซี มหาวิทยาลัยนานาชาติคิง เป็นต้น[61][62] ส่วนสถาบันระดับอุดมศึกษาของรัฐบาลที่ตั้งอยู่ในเมืองแห่งนี้ เช่น สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น[63][64]

การคมนาคม

ถนนในกรุงนูกูอาโลฟา

ทางบก

กรุงนูกูอาโลฟามีเส้นทางถนนซึ่งเชื่อมกับพื้นที่อื่นบนเกาะโตงาตาปู โดยเชื่อมต่อกับฮาอะตาฟู ซึ่งเป็นชุมชนด้านตะวันตกสุดของเกาะเป็นระยะทาง 20 กิโลเมตร (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที) และเชื่อมต่อกับนีอูโตอัว ซึ่งเป็นชุมชนด้านตะวันออกสุดของเกาะเป็นระยะทาง 30 กิโลเมตร (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที)[65] นอกจากนี้รัฐบาลตองงาได้พิจารณาสร้างสะพานข้ามลากูนฟางาอูตาเพื่อเชื่อมระหว่างกรุงนูกูอาโลฟาและพื้นที่ด้านใต้ของเกาะโตงาตาปู ซึ่งสามารถลดระยะทางและเวลาการเดินทางระหว่างสนามบินนานาชาติฟูอาอะโมตูและเมืองหลวงได้[66] ตามกฎหมายของประเทศตองงา ผู้ขับขี่สามารถขับรถภายในกรุงนูกูอาโลฟา ซึ่งเป็นเขตเมืองได้ไม่เกิน 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[67] ปัจจุบันกรุงนูกูอาโลฟาประสบปัญหากับการจราจรติดขัด[68] สภาพถนนโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ได้ มีเป็นหลุมเป็นบ่อและแคบในบางจุด[69] โดยการก่อสร้างและซ่อมบำรุงถนนในกรุงนูกูอาโลฟาอยู่ภายใต้การดูแลของกรมโยธาธิการ ซึ่งมักประสบปัญหาขาดแคลนงบประมาณในการดำเนินงาน[70] ในอดีตเคยมีเส้นทางรถไฟจากลากูนผ่านกรุงนูกูอาโลฟามุ่งสู่ท่าเรือ แต่ไม่มีให้เห็นในปัจจุบันแล้ว โดยไม่มีทั้งข้อมูลการก่อสร้างและสาเหตุการยกเลิกเส้นทาง เหลือไว้เพียงแค่ชื่อถนนรถไฟภายในกรุงนูกูอาโลฟาเท่านั้น[71]

สำหรับการขนส่งสาธารณะในกรุงนูกูอาโลฟานั้น มีสถานีรถโดยสารอยู่ 2 สถานี คือ สถานีบนถนนวูนาฝั่งตรงข้ามกับสำนักงานการท่องเที่ยว ซึ่งมีเส้นทางวิ่งผ่านรอบ ๆ กรุงนูกูอาโลฟาและสถานีที่อยู่ตรงข้ามกับที่ทำการของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีเส้นทางไปส่วนตะวันออกและตะวันตกของเกาะ อย่างไรก็ตามรถโดยสารมีกำหนดการเดินทางที่ไม่แน่นอน โดยมีกำหนดเวลาให้บริการระหว่างเวลา 08.00 น. – 17.00 น. และหยุดให้บริการในวันอาทิตย์[72] นอกจากนี้ยังมีการให้บริการแท็กซี่ในเขตกรุงนูกูอาโลฟาด้วย แต่แท็กซี่จะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการรับส่งผู้โดยสารในวันอาทิตย์เช่นกัน[73]

ท่าเรือวูนา

ทางน้ำ

ท่าเรือนูกูอาโลฟาเป็นท่าเรือน้ำลึกเพียงแห่งเดียวของประเทศ ในอดีตเคยใช้ท่าเรือวูนาเป็นท่าเรือนานาชาติ แต่ถูกแผ่นดินไหวทำลายในปี ค.ศ. 1977 และได้ซ่อมแซมกลับมาใช้ใหม่ได้ในปี ค.ศ. 2012 ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นท่าเรือสำหรับเรือสำราญและจุดพักเรือของกองทัพเรือต่างประเทศ[74] สำหรับท่าเรือนูกูอาโลฟาเป็นทั้งท่าเรือรับส่งสินค้านานาชาติ และเป็นท่าเรือศูนย์กลางในการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างกรุงนูกูอาโลฟาและส่วนอื่น ๆ ของประเทศ โดยสามารถใช้ท่าเรือแห่งนี้เพื่อเดินทางไปเขตการปกครองอื่น ๆ ในประเทศตองงา โดยมีเรือเดินทางไปเออัววันละ 2 รอบ ฮาอะไปและวาวาอูสัปดาห์ละ 2 รอบ รวมถึงมีเรือที่ให้บริการโดยผู้ประกอบการท้องถิ่นเดินทางไปเกาะขนาดเล็กอื่น ๆ ที่อยู่โดยรอบ เช่น ปาไงโมตู โนมูกา เป็นต้น[75]

ทางอากาศ

สนามบินนานาชาติฟูอาอะโมตู

สนามบินนานาชาติฟูอาอะโมตู (IATA: TBUICAO: NFTF) ตั้งอยู่ห่างจากกรุงนูกูอาโลฟาไปทางใต้ประมาณ 21 กิโลเมตร (13 ไมล์) โดยเป็นสนามบินที่มีความหนาแน่นของผู้ใช้บริการสูงที่สุดในประเทศตองงา ผู้ที่เดินทางมาประเทศตองงาสามารถเปลี่ยนเครื่องบินได้ที่สนามบินแห่งนี้เพื่อเดินทางไปส่วนอื่นของประเทศ[76] ปัจจุบันสนามบินนานาชาติแห่งนี้มีเที่ยวบินทั้งขาเข้าและขาออกรวม 62 เที่ยวบิน เชื่อมต่อ 5 เมืองใน 8 ประเทศ[77] มีสายการบินเรียลตองงาใช้สนามบินแห่งนี้เป็นฐานการบิน และมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงกรุงนูกูอาโลฟากับเกาะรอบนอก เช่น ฮาอะไป นีอูอาโตปูตาปู เออัว เป็นต้น อย่างไรก็ตามสนามบินนานาชาติแห่งนี้ยังไม่มีการเชื่อมโยงกับการขนส่งมวลชนสาธารณะ ผู้โดยสารที่เดินทางมาจากกรุงนูกูอาโลฟาต้องใช้แท็กซี่หรือบริการรับส่งสนามบินของที่พักเพื่อเดินทางมาเท่านั้น[76]

เมื่องพี่น้อง

กรุงนูกูอาโลฟามีเมืองพี่น้อง ดังนี้

อ้างอิง

เชิงอรรถ

  1. CIA. "Australia–Oceania: Tonga". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. LEXICO. "Nuku'alofa:Definition of Nuku'alofa by Oxford Dictionary". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. Vason, An authentic of narrative of four years residence at one of the Friendly Islands, หน้า 68
  4. Paul, Peoples of the Pacific: The History of Oceania to 1870
  5. Tzan, William Taylor and the Mapping of the Methodist Missionary Tradition, หน้า 109
  6. Lal,The Pacific Islands: An Encyclopedia, หน้า 100
  7. 7.0 7.1 "Tonga 2016 Census of Population and Housing Volume 2:ANALYTICAL REPORT" (PDF). citypopulation. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 8.7 "Tonga 2016 Census of Population and Housing Volume 1:BASIC TABLES AND ADMINISTRATIVE REPORT" (PDF). Tonga Statistics Department. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "Elevation of Nuku`alofa,Tonga Elevation Map, Topo, Contour". FloodMap.net. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. Gibbs, Soils of Tongatapu, Tonga, หน้า 5 - 6
  11. Gibbs, Soils of Tongatapu, Tonga, หน้า 10
  12. "Tonga Water Supply System Description Nuku'alofa/ Lomaiviti" (PDF). Water Safety Plan Programme:Kingdom Of Tonga. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. Connell, Pacific 2010: Urbanisation in Polynesia, หน้า 126
  14. "Mounu Reef, Tonga". Pacific Islands Protected Area Portal. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "Pangaimotu Reef, Tonga". Pacific Islands Protected Area Portal. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "Fanga'uta and Fanga Kakau Lagoons, Tonga". Pacific Islands Protected Area Portal. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 "The Kingdom of Tonga's Initial National Communication" (PDF). The Kingdom of Tonga’s Initial National Communication. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. 18.0 18.1 18.2 "Nuku'alofa Climate Info". Weatherbase. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. United Nations,"Compendium of Human Settlements Statistics 1995, หน้า 25
  20. "THE LOCAL GOVERNMENT SYSTEM IN TONGA" (PDF). Commonwealth Local Government Forum. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. Sansom,"Principles for Local Government Legislation: Lessons from the Commonwealth Pacific, หน้า 21
  22. "Embassy of the People's Republic of China". Embassy of the People's Republic of China. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. "Embassy of Japan in the Kingdom of Tonga". Embassy of Japan in the Kingdom of Tonga. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. Connell, Pacific 2010: Urbanisation in Polynesia, หน้า 33
  25. "Population and Housing Census". Tonga Statistics Department. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  26. 26.0 26.1 "Tonga: Migration and the Homeland". Migration Policy Institute. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  27. Connell, Pacific 2010: Urbanisation in Polynesia, หน้า 33
  28. "Nuku'alofa Urban Development Sector Project" (PDF). Asian Development Bank. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. "Making a Case for Tongan as an Endangered Language" (PDF). Yuko Otsuka. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. Grant,The Handbook of Contemporary Indigenous Architecture, หน้า 698 - 699
  31. 31.0 31.1 Bill McKay. "A guide to the architecture of the Pacific: Kingdom of Tonga". สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. Charmaine 'Ilaiu. "Building Tonga's Western fale". สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. Bill McKay. "A field guide to the architecture of the South Pacific". สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. Paula Folau Nonu. "RECONNECTING WITH THE PAST:TRADITIONAL TONGAN ARCHITECTURE AS AN EDUCATIONAL DEVICE FOR THE TONGAN PEOPLE". สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  35. "TONGA-SHOPPING & FOOD". สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  36. 36.0 36.1 "The Guide to Nuku'alofa on a Budget". สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  37. "Top Cheap Eats in Nuku'alofa". สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  38. 38.0 38.1 38.2 "Events, Conferences, Public Holidays & Festivals in Tonga". Tonga Pocket Guide. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  39. "TONGA PUBLIC HOLIDAYS FOR 2020" (PDF). Government of Tonga. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  40. "Tonga postpones Heilala 2020 because of Covid-19 threat". Radio New Zealand. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  41. "Heilala Festival 2017 In Tonga". Pacific Tourism Organization. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  42. "Tongan Heilala Festival and Birthday Celebrations". Ashley Cultra. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  43. "HEILALA FESTIVAL 2015". Kingdom Travel. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  44. "Tonga declares public holiday to celebrate rugby league win". Radio New Zealand. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  45. "tonga". Topend Sports Network. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  46. "Tonga celebrates rugby league winners". Matangi Tonga. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  47. Roca, Alexis. "The development of rugby in the Pacific Islands" (PDF). สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  48. "Attention NRL: A glorious future awaits in the Pacific". ROAR. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  49. "Marist win best way to end rugby season: Father Selwyn". Tonga Daily News. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  50. "Sport: Tonga's Teufaiva Stadium set to re-open". Radio New Zealand. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  51. "2019 Inter-College Sports Competition wraps up". Matangi Tonga. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  52. "Third South Pacific Mini Games" (PDF). Olympic Review. International Olympic Committee. 1989. p. 112. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF 0.2 MB)เมื่อ 27 May 2015. สืบค้นเมื่อ 27 May 2015.
  53. "OCEANIA CHAMPIONSHIPS". Athletics Weekly. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  54. "OCEANIA JUNIOR CHAMPIONSHIPS". Athletics Weekly. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  55. MOET. "Tonga School Level Structure". สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  56. MEIDECC. "Minister of Education introduces new language policy for Tongan schools". สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  57. MOET,REPORT OF THE MINISTRY OF EDUCATION AND TRAINING 2013, หน้า 186
  58. MOET,REPORT OF THE MINISTRY OF EDUCATION AND TRAINING 2013, หน้า 186–187
  59. "Tonga High School celebrates 72nd anniversary". matangitonga. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  60. "Secondary General information". MOET. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  61. "ʻATENISI INSTITUTE". ʻATENISI INSTITUTE. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  62. "contact". King's International University. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  63. "TIST". TIST. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  64. "Tongan Institute of Higher Education". Tongan Institute of Higher Education. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  65. "Tonga Road Network". สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  66. "Tonga look at possible bridge out of Nuku'alofa". สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  67. "Rental Cars". สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  68. "Traffic jams increasing with growing demand for vehicles in 2018". สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  69. "Driving in Tonga". สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  70. "Logistics Capacity Assessment" (PDF). สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  71. "Railways in Tonga". สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  72. "Bus". สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  73. "Taxi". สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  74. "Vuna Wharf" (PDF). สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  75. "Tonga Port of Nuku'alofa". สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  76. 76.0 76.1 "FUA'AMOTU INTERNATIONAL AIRPORT". สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  77. "Tongatapu Fuaʻamotu International Airport TBU". สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  78. "Whitby's Twin Towns". สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

บรรณานุกรม

  • Vason, George (1810). An authentic of narrative of four years residence at one of the Friendly Islands. J. Staford. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2020. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  • D'Arcy, Paul (2008). Peoples of the Pacific: The History of Oceania to 1870. Routledge. ISBN 0754662217. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  • Tzan, Douglas D. (2019). William Taylor and the Mapping of the Methodist Missionary Tradition. Lexington Books. ISBN 1498559085. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  • Connell, John (1995). Pacific 2010: Urbanisation in Polynesia. National Centre for Development Studies, Research School of Pacific and Asian Studies, Australian National University. ISBN 9780731519545. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  • Gibbs, H.S. (1976). Soils of Tongatapu, Tonga. N.Z. soil survey report. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2020. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  • Lal, Brij V. (2000). The Pacific Islands: An Encyclopedia. University of Hawaii press. ISBN 082482265X. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  • United Nations. Department for Economic and Social Information and Policy Analysis. Statistics Division, United Nations Centre for Human Settlements (1995). Compendium of Human Settlements Statistics 1995. United Nations. ISBN 9211613787. {{cite book}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help); Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  • Sansom, Graham (2013). Principles for Local Government Legislation: Lessons from the Commonwealth Pacific. Commonwealth Secretariat. ISBN 9781849290890. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  • Asian Development Bank (2012). The State of Pacific Towns and Cities: Urbanization in ADB's Pacific Developing Member Countries. Asian Development Bank. ISBN 9789290928706. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  • Dorall, Cheryl (2004). Commonwealth Ministers Reference Book 2003. Commonwealth Secretariat. ISBN 0850927935. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  • Grant, Elizabeth (2018). The Handbook of Contemporary Indigenous Architecture. Springer. ISBN 9811069042. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  • MOET (2013). REPORT OF THE MINISTRY OF EDUCATION AND TRAINING 2013. Government of Tonga. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)