ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าปุษยมิตรศุงคะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระเจ้าปุศยมิตรศุงคะ)
พระเจ้าปุษยมิตรศุงคะ
รูปปั้นจากสมัยศุงคะ
จักรพรรดิศุงคะองค์ที่ 1
ครองราชย์ป. 185 –  149 ปีก่อน ค.ศ.
ก่อนหน้าพระเจ้าพฤหทรถะเมารยะ (ในฐานะจักรพรรดิเมารยะ)
ถัดไปพระเจ้าอัคนิมิตร
เสนาบดีแห่งจักรวรรดิเมารยะ
ราชวงศ์ศุงคะ
ศาสนาฮินดู

พระเจ้าปุศยมิตรศุงคะ (อักษรโรมัน: Pushyamitra Shunga, Puṣyamitra Śuṅga; ขึ้นครองราชย์เมื่อ ป. 185 –  149 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นผู้ก่อตั้งและปฐมกษัตริย์ของจักรวรรดิศุงคะที่เขาก่อตั้งขึ้นถัดจากจักรวรรดิเมารยะ[1] ชื่อเดิมของเขาคือ Puṣpaka หรือ Puṣpamitra และความสับสนระหว่างชื่อ Puṣyamitra กับ Puṣpamitra ปรากฏขึ้นเนื่องจากรูปอ่านที่ผิดพลาดของอักษร 'p' กับ 'y' ในเอกสารตัวเขียน[2]

พระองค์ได้ประกอบพิธีอัศวเมธ หรือพิธีปล่อยม้าอุปการตามประเพณีของกษัตริย์อินเดียโบราณ เพื่อสร้างความชอบธรรมในการปกครอง[3] ซึ่งมีการค้นพบจารึกของราชวงศ์ศุงกะอย่างมากมายจนถึง อโยธยา (Dhanadeva-Ayodhya inscription) และ ทิพยวทานะ กล่าวว่าอาณาจักรของพระองค์ได้ขยายออกไปไกลถึงสาคละหรือเสียลโกต ใน แคว้นปัญจาบ ทางตะวันตกเฉียงเหนือ

ตำราทางพระพุทธศาสนาระบุว่าพระองค์เป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนา แม้ว่านักวิชาการสมัยใหม่บางคนจะแสดงความสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลเหล่านี้ก็ตาม[4][5]

บรรพบุรุษ[แก้]

ตามบันทึกในปุราณะ ปุศยมิตรขึ้นเป็นกษัตริย์ด้วยการสังหารพระเจ้าพฤหทรถะ จักรพรรดิเมารยะองค์สุดท้าย[6] อย่างไรก็ตาม ตำราพุทธ ทิวยาวทาน ระบุ Pushyamitra เป็นจักรพรรดิเมารยะองค์สุดท้าย[7] ดูเหมือนว่าตำรานี้สับสนพระนามระหว่างพฤหทรถะกับ Pushyamitra[8]

H. C. Raychaudhuri ตั้งทฤษฎีว่า นาม "ศุงคะ" มาจากศัพท์สันสกฤตของต้นมะเดื่อ[9]

ข้อกล่าวหาเป็นปฏิปักษ์ต่อชาวพุทธ[แก้]

ตำราพุทธอ้างว่าพระเจ้าปุษยมิตรศุงคะกดขี่ชาวพุทธอย่างรุนแรง ข้อมูลแรกสุดที่กล่าวถึงสิ่งนี้มาจากตำราอโศกาวทาน (ส่วนหนึ่งของทิวยาวทาน) ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ซึ่งระบุว่า พระเจ้าปุษยมิตร (ระบุเป็นจักรพรรดิเมารยะองค์สุดท้าย) ต้องการมีชื่อเสียง เสนาบดีจึงให้คำแนะนำพระองค์ว่า ตราบเท่าที่ศาสนาพุทธยังคงเป็นศาสนาหลัก พระองค์คงไม่มีวันที่จะมีชื่อเสียงเท่าพระเจ้าอโศก บรรพบุรุษที่มีรับสั่งให้สร้างสถูป 84,000 แห่ง ที่ปรึกษาคนหนึ่งบอกว่า พระองค์สามารถมีชื่อเสียงด้วยการทำลายศาสนาพุทธ จากนั้นพระเจ้าปุษยมิตรพยายามทำลายอารามกุกกุฏาราม แต่กลับรอดได้โดยบังเอิญ จากนั้นจึงเสด็จไปที่สาคละทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยพระองค์บำเหน็จรางวัล 100 เดนารีโรมัน (เหรียญ) สำหรับผู้ที่นำเศียรพระภิกษุมาให้ ต่อมา พระองค์จึงเสด็จไปที่อาณาจักร Koshthaka ที่มียักษ์พุทธนาม Damshtranivasin กับยักษ์อีกตนนาม Krimisha สังหารพระองค์กับบรรดาทหาร[10][11]

... พระเจ้าปุษยมิตรเตรียมกองทัพสี่กองและตั้งใจที่จะทำลายศาสนาพุทธ พระองค์เสด็จไปยังกุกกุฏาราม (ที่ปาฏลีบุตร) ... ดังนั้น พระเจ้าปุษยมิตรจึงทำลายสังฆาราม สังหารพระภิกษุ และเสด็จจากไป ... หลังจากนั้น พระองค์เสด็จถึงสาคละและประกาศพระองค์จะบำเหน็จ ... รางวัลแก่ใครก็ตามที่นำเศียรพระภิกษุมากให้พระองค์[12]

Vibhasa ตำราคริสต์ศตวรรษที่ 2 อีกเล่ม ระบุว่า พระเจ้าปุษยมิตรเผาคัมภีร์พุทธ สังหารพระภิกษุ และทำลายอาราม 500 แห่งทั้งในและรอบกัศมีร์ โดยมีบรรดายักษ์ กุมภัณฑ์ และปีศาจตนอื่น ๆ สนับสนุนการทัพนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพระองค์เสด็จถึงต้นโพธิ์ เทพที่อยู่ในต้นนั้นแปลงกายเป็นสตรีและสังหารพระองค์[13] Shariputrapariprichha ซึ่งแปลเป็ยภาษาจีนในช่วง ค.ศ. 317 ถึง 420 ก็กล่าวถึงตำนานนี้ แต่ในฉบับนี้มีรายละเอียดมากกว่า และกล่าวถึงศูนย์กลางการทัพต่อต้านศาสนาพุทธของพระเจ้าปุษยมิตรที่อินเดียตะวันออก (ไม่ใช่กัศมีร์)[13]

Arya-Manjushri-Mula-Kalpa ในสมัยกลางกล่าวถึงกษัตริย์ที่ชั่วร้ายและโง่เขลานาม Gomimukhya ("พระพักตร์โค") หรือ Gomishanda ("โกมิน วัวตัวผู้") ผู้ยึดดินแดนจากตะวันออกถึงกัศมีร์ ทำลายอารามและสังหารพระภิกษุ ท้ายที่สุด ทั้งพระองค์กับบรรดาขุนนางเสียชีวิตจากหินบนภูเขาตกหล่นทับ[13][14] นักเขียนบางคนระบุกษัตริย์องค์นี้เข้ากับพระเจ้าปุษยมิตร[15]

Taranatha นักประวัติศาสตร์พุทธชาวทิเบตในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็กล่าวว่า พระเจ้าปุษยมิตรกับพันธมิตรสังหารพระภิกษุและทำลายอารามจาก มัธยเทศ (พื้นที่ตอนกลาง) ถึงชลันธร ทำให้คัมภีร์พุทธถูกกำจัดจากทางเหนือภายใน 5 ปี[13]

ความน่าเชื่อถือของข้ออ้าง[แก้]

พระนาม "ปุษยมิตร" (อักษรพราหมี: 𑀧𑀼𑀰𑁆𑀬𑀫𑀺𑀢𑁆𑀭) ในจารึกทานอโยธยา

เมื่ออิงตามธรรมเนียมพุทธ นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่าพระเจ้าปุษยมิตรเป็นผู้กดขี่ศาสนาพุทธจริง อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่านักวิชาการพุทธมีอคติต่อพระเจ้าปุษยมิตรศุงคะ เนื่องจากพระองค์ไม่ได้อุปถัมภ์พวกตน[16] จอห์น มาร์แชลล์ นักโบราณคดี รายงานว่า มีหลักฐานความเสียหายบางส่วนจากสถานประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาที่ตักศิลาประมาณสมัยศุงคะ เขายังตั้งทฤษฎีว่าสถูปสัญจีเคยถูกทำลายในศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. (สมัยพระเจ้าปุษยมิตรศุงคะ) ก่อนสร้างใหม่ขนานใหญ่[17] G. R. Sharma ผู้ขุดค้นซากปรักหักพังทางศาสนาพุทธที่โกสัมพี เสนอแนะว่า การทำลายอารามท้องถิ่นอาจเกิดขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าปุษยมิตรศุงคะ P. K. Mishra เชื่อว่าความเสียหายต่อสถูป Deur Kothar ก็มีอายุถถึงสมัยพระเจ้าปุษยมิตร[18] H. C. Raychaudhari ชี้ให้เห็นว่าพุทธสถานสร้างขึ้นที่ภารหุตในสมัยศุงคะ[19] อย่างไรก็ตาม N. N. Ghosh รายงานว่าสิ่งก่อสร้างเหล่านี้สร้างขึ้นในสมัยผู้นำศุงคะยุคหลัง ไม่ใช่สมัยพระเจ้าปุษยมิตร[18]

H. Bhattacharya ตั้งทฤษฎีว่าพระเจ้าปุษยมิตรอาจกดขี่ชาวพุทธในทางการเมืองมากกว่าทางศาสนา โดยมีเหตุผลว่า ชาวพุทธที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมืองน่าจะสนับสนุนฝ่ายศัตรูอินโด-กรีกของพระเจ้าปุษยมิตร ซึ่งอาจทำให้พระองค์ต้องข่มเหงพวกเขา[20] อโศกาวทานระบุว่าพระเจ้าปุษยมิตรประกาศรางวัลแก่ผู้ที่สังหารพระภิกษุที่สังคละ (ปัจจุบันคือซิอัลโกต) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ชายแดนอินโด-กรีก K. P. Jayaswal รายงานว่าสิ่งนี้เน้นย้ำถึงแรงจูงใจทางการเมืองที่อยู่เบื้องหลังการกล่าวหาว่าพระองค์ทำการกดขี่ชาวพุทธ[21]

Historian Eric Seldeslachts นักประวัตืศาสตร์ ระบุว่า "ไม่มีหลักฐานใดก็ตามที่ระบุว่าพระเจ้าปุษยมิตรศุงคะกดขี่ชาวพุทธจริง ๆ" แม้ว่าพระองค์อาจไม่ได้สนับสนุนศาสนาพุทธอย่างจริงจัง ซึ่งทำให้ชาวพุทธโกรธแค้น[22]

Romila Thapar เขียนไว้ว่า การขาดหลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นรูปธรรมทำให้เกิดข้อสงสัยต่อการกล่าวอ้างถึงการกดขี่ชาวพุทธของพระเจ้าปุษยมิตร[5]

มีความเป็นไปได้ว่าอิทธิพุทธในราชสำนักเมารยะเสื่อมถอยในรัชสมัยพระเจ้าปุษยมิตรศุงคะ และอารามพุทธและสถาบันอื่น ๆ หยุดได้รับพระราชอุปถัมภ์ การเปลี่ยนแปลวนี้อาจนำไปสู่ความไม่พอใจในหมู่ชาวพุทธ ส่งผลให้เกิดรายงานการกดขี่ที่มีเนื้อหาเกินจริง[21]

อ้างอิง[แก้]

  1. Mitchiner, John E. (1986). The Yuga Purāṇa (ภาษาอังกฤษ) (1st ed.). Kolkata: The Asiatic Society. p. 71. ISBN 978-93-81574-56-0.
  2. Mitchiner, John E. (1986). The Yuga Purāṇa (ภาษาอังกฤษ) (1st ed.). Kolkata: The Asiatic Society. pp. 71–72. ISBN 978-93-81574-56-0.
  3. Dineshchandra Sircar (1971). Studies in the Religious Life of Ancient and Medieval India. Motilal Banarsidass. p. 175. ISBN 978-81-208-2790-5.
  4. Mishra, Ram Kumar (2012). "Pushyamitra Sunga and the Buddhists". Proceedings of the Indian History Congress. 73: 50–57. ISSN 2249-1937. JSTOR 44156189.
  5. 5.0 5.1 Aśoka and the Decline of the Mauryas by Romila Thapar, Oxford University Press, 1960 P200
  6. Thapar 2013, p. 296.
  7. Lahiri 1974, p. 29.
  8. Lahiri 1974, p. 30.
  9. Raychaudhari Hemchandra, "Tha Audvijja Senani of the Harivansa?", Indian culture, Vol. IV, 1938, P. 360-365
  10. Simmons & Sarao 2010, pp. 95–96.
  11. Lahiri 1974, p. 33.
  12. Strong 1989, p. 293.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 Simmons & Sarao 2010, p. 96.
  14. Lahiri 1974, p. 33-34.
  15. Bandyopadhyaya, Jayantanuja (2007). Class and Religion in Ancient India. Anthem. p. 209. ISBN 978-1-84331-332-8.
  16. Lahiri 1974, pp. 34–35.
  17. Simmons & Sarao 2010, pp. 96–97.
  18. 18.0 18.1 Simmons & Sarao 2010, p. 97.
  19. Lahiri 1974, p. 34.
  20. Simmons & Sarao 2010, p. 100.
  21. 21.0 21.1 Simmons & Sarao 2010, pp. 99–100.
  22. Heirman, Ann; Bumbacher, Stephan Peter (2007-05-11). The Spread of Buddhism (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 141. ISBN 978-90-04-15830-6.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]