พระพรหมวชิโรดม (สุทัศน์ วรทสฺสี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพรหมวชิโรดม

(สุทัศน์ วรทสฺสี)
คำนำหน้าชื่อพระเดชพระคุณ
ชื่ออื่นเจ้าคุณพระมหาสุทัศน์
ส่วนบุคคล
เกิด6 มีนาคม พ.ศ. 2514 (53 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษาน.ธ.เอก
ป.ธ.๙
ป.วค.(วิชาชีพครู)
พธ.บ.(ปรัชญา)
ศษ.บ.(บริหารการศึกษา)
ค.ม.(บริหารการศึกษา)
อ.ม.(ศาสนาเปรียบเทียบ)
ปร.ด.(วัฒนธรรมศาสตร์)
ศศ.ด.กิตติมศักดิ์เชิดชูเกียรติคุณ (สาขาวิชาการจัดการชุมชน)
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท21 มิถุนายน พ.ศ. 2535
พรรษา31
ตำแหน่งเจ้าคณะภาค 10, เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร, รองแม่กองบาลีสนามหลวง

พระพรหมวชิโรดม ดร.,ป.ธ.๙ [1] นามเดิม สุทัศน์ ไชยะภา ฉายา วรทสฺสี ชาวจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ[2]ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะภาค 10, เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร[3] แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร และรองแม่กองบาลีสนามหลวง

ประวัติ[แก้]

ชาตภูมิ[แก้]

พระพรหมวชิโรดม[4]นามเดิมชื่อ สุทัศน์ ไชยะภา เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2514 บิดาชื่อ นายสา ไชยะภา มารดาชื่อ นางจันทร์ ไชยะภา ภูมิลำเนาเดิม ณ บ้านเลขที่ 152 บ้านราษฎร์นิยม ตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

การบรรพชา และอุปสมบท[แก้]

เมื่อจบประถมศึกษาปีที่ 6 แล้วก็ได้บรรพชาครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2527 โดยมีพระครูวิบูลวุฒิคุณ (ฉลัน) อดีตเจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวงและรองเจ้าคณะอำเภอนางรอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านจึงเข้าศึกษานักธรรมตรีที่สำนักศาสนศึกษาแห่งนี้ จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อนักธรรมโท-เอก และบาลี ณ วัดกลาง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้การปกครองของ พระครูพิทักษ์ชินวงศ์ (บัณฑร ชินวํโส) (น.ธ.เอก,อภิธรรมบัณฑิต) เจ้าคณะอำเภอนางรอง(สมัยนั้น) เมื่อสอบประโยค ป.ธ.๔ ได้แล้ว พระครูพิทักษ์ชินวงศ์ (บัณฑร ชินวํโส,น.ธ.เอก,อภิธรรมบัณฑิต) จึงนำมาฝากพระราชเมธี (วรวิทย์) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ รองเจ้าคณะภาค 10 และเจ้าคณะ 8 ขณะนั้น เพื่อเข้าศึกษาต่อ ท่านมีวิริยะอุตสาหะในการศึกษาอย่างยวดยิ่งสามารถสอบผ่านชั้นประโยค ป.ธ.๕ ถึง ป.ธ.๙ โดยไม่สอบตกเลย    ธรรมเนียมวัดมหาธาตุนั้น เมื่อมีสามเณรนวกะเข้ามาอยู่อาศัยแต่ละปี จะต้องผ่านการอบรมกรรมฐาน การอบรมขนบธรรมเนียมประเพณีของวัดมหาธาตุ และบรรพชาใหม่ ท่านจึงได้บรรพชาอีกครั้ง เมื่อวันที่ 4 เดือนกรกฎาคม  พ.ศ. 2533 ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยมี พระเดชพระคุณพระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ), ป.ธ.๘ อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ อดีตเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่อสอบไล่ได้เปรียญธรรม 6 ประโยค พออายุครบอุปสมบท ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ณ อุโบสถวัดกลาง ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีพระพรหมกวี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม, อดีตเจ้าคณะภาค10 อดีตหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 6 ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร รองเจ้าคณะภาค 10 เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระธรรมวชิรสุตาภรณ์ (สุพจน์ โชติญาโณ) เจ้าอาวาสวัดกลาง (พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์, และเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูธีรคุณาธาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระครูพิทักษ์ชินวงศ์ (บัณฑร ชินวํโส) (น.ธ.เอก, อภิธรรมบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดกลาง ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันมีตำแหน่งทางคณะสงฆ์เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอนางรอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์นามว่า" วรทสฺสี "

อุปสมบทแล้ว ก็ศึกษาต่อจนจบ ป.ธ.๙ ที่สำนักเรียนวัดมหาธาตุก็ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี-ปริญญาโท และปฏิบัติหน้าที่ครูสอนในมหาธาตุวิทยาลัยจนถึงปีพุทธศักราช 2540 จึงได้เป็นพระอนุจรติดตามพระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์) ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ไปอยู่วัดโมลีโลกยาราม นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในระยะแรกทำหน้าที่เป็นรองอาจารย์ใหญ่(พ.ศ. 2541-2543) และอาจารย์ใหญ่ (พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน) ตามลำดับ ช่วยพระอุปัชฌาย์สอนบาลีและนักธรรมและบูรณปฏิสังขรณ์วัดโมลีโลกยารามตามความสามารถ จนทำให้สำนักเรียนวัดโมลีโลกยารามภายใต้การนำของพระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์) ทะยานขึ้นสู่ อันดับ 1 ของประเทศ ในปัจจุบันนอกจากจะทำงานบริหารการศึกษาของสำนักเรียนแล้ว ท่านยังได้ศึกษาต่อจนจบระดับปริญญาเอกอีกด้วย

วุฒิการศึกษา[แก้]

งานปกครองบริหารกิจการคณะสงฆ์[แก้]

  • พ.ศ. 2544 เป็น พระกรรมวาจาจารย์
  • พ.ศ. 2545 เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร
  • พ.ศ. 2554 เป็น พระอุปัชฌาย์ (วิสามัญ)
  • พ.ศ. 2554 เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร
  • พ.ศ. 2555 เป็น เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร
  • พ.ศ. 2557 เป็น เจ้าคณะเขตบางกอกใหญ่
  • พ.ศ. 2557 เป็น รองเจ้าคณะภาค 9
  • พ.ศ. 2564 เป็น เจ้าคณะภาค 10[5]

งานด้านการศึกษา[แก้]

  • พ.ศ. 2537 เป็น กรรมการตรวจประโยคธรรมสนามหลวง
  • พ.ศ. 2539 เป็น กรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวง
  • พ.ศ. 2540 เป็น หัวหน้าศูนย์สังฆศาสน์ธำรง ตำบลนนทรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นศูนย์การศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลีของสำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม
  • พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2543 เป็น รองอาจารย์ใหญ่ สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม
  • พ.ศ. 2544 เป็น อาจารย์ใหญ่ สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม
  • พ.ศ. 2552 เป็น ผู้นำประโยคบาลีไปเปิดสอบ ณ หน่วยสอบวัดมหาพุทธาราม (พระอารามหลวง) จังหวัดศรีสะเกษ
  • พ.ศ. 2552 เป็น พระวิทยากรประจำ บรรยายถวายความรู้ เรื่อง “การศาสนศึกษา” แก่พระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะตำบล และเจ้าอาวาสตั้งใหม่ทั่วประเทศ รวมปีละ 5 รุ่น ณ สถาบันพระสังฆาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2553 เป็น ผู้นำประโยคบาลีไปเปิดสอบ ณ หน่วยสอบวัดมหาธาตุ จังหวัดยโสธร
  • พ.ศ. 2553 เป็น คณะกรรมการอำนวยการในการสอบธรรมสนามหลวงประจำปี ณ สนามสอบวัดราชสิทธาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2554 เป็น ผู้อำนวยการศูนย์สังฆศาสน์ธำรง ตำบลนนทรี อำเภอกบินทร์บุรีจังหวัดปราจีนบุรี
  • พ.ศ. 2554 เป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายวิชาการสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง
  • พ.ศ. 2554 -พ.ศ. 2555 เป็น คณะกรรมการอำนวยการในการสอบบาลีสนามหลวงประจำปี ณ สนามสอบวัดราชสิทธาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2554 เป็น คณะทำงานยกร่างข้อสอบธรรมศึกษา วิชาวินัย
  • พ.ศ. 2555 เป็น ผู้แทนแม่กองธรรมสนามหลวง นำข้อสอบธรรมศึกษาไปเปิดสอบ ณ วัดวชิรธรรมปทีป มลรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2555 เป็น ผู้อำนวยการศูนย์มหาบาลีวิชชาลัย ซึ่งเป็นศูนย์ศึกษาภาษาบาลีสำหรับฆราวาสทั่วไป
  • พ.ศ. 2555 เป็น วิทยากรบรรยายถวายความรู้ด้านการบริหารการศึกษาบาลีแก่ครูบาลี และเจ้าสำนักเรียน-เจ้าสำนักศาสนศึกษาทั่วประเทศ โดยกองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติร่วมกับสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง
  • พ.ศ. 2555 เป็น วิทยากรบรรยายถวายความรู้วิชา “บาลีไวยากรณ์” แก่ครูสอนบาลีทั่วประเทศ โดยกองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติร่วมกับสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง ณ วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2555 เป็น คณะกรรมการพิจารณากำหนดเกณฑ์การคัดเลือกครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีดีเด่นประจำปี
  • พ.ศ. 2556 เป็น กรรมการควบคุมห้องสอบบาลีสนามหลวง ประจำปี ณ สนามสอบวัดกัลยาณมิตร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2565 เป็น รองแม่กองบาลีสนามหลวง ประจำหนตะวันออก
  • พ.ศ. 2565 เป็น ที่ปรึกษาคณะกรรมการประจำวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด[6]มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผลงานเชิงประจักษ์[แก้]

  • เป็นผู้บริหารสำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน กล่าวคือ มีพระภิกษุสามเณรสอบพระปริยัติธรรมแผนกบาลีได้เป็นอันดับ ๑ ของกรุงเทพมหานคร และเป็นอันดับ ๑ ของประเทศติดต่อหลายปี ดังนี้

๑. มีผลสอบพระปริยัติธรรมแผนกบาลีได้อันดับที่ ๑ ของสำนักเรียนในกรุงเทพมหานครติดต่อกัน คือ พ.ศ. ๒๕๕๐, ๒๕๕๒, ๒๕๕๓, ๒๕๕๔, ๒๕๕๕, ๒๕๕๖, ๒๕๕๗, ๒๕๕๘, ๒๕๕๙, ๒๕๖๐, ๒๕๖๑, ๒๕๖๒, ๒๕๖๓, ๒๕๖๔, ๒๕๖๕, ๒๕๖๖, ๒๕๖๗

๒. มีผลสอบพระปริยัติธรรมแผนกบาลีได้อันดับที่ ๑ ของประเทศติดต่อกัน คือ พ.ศ. ๒๕๕๙, ๒๕๖๐, ๒๕๖๑, ๒๕๖๒, ๒๕๖๓, ๒๕๖๔ , ๒๕๖๕ , ๒๕๖๖ , ๒๕๖๗

  • เป็นผู้นำการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี หรือบาลีศึกษา ไปเปิดสอนในเรือนจำเป็นครั้งแรก โดยร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม  โดยทำการเปิดสอนตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๕๗ จนปัจจุบัน ในเรือนจำหลายแห่ง เช่นเรือนจำแม่สอด จังหวัดตาก เรือนจำบางขวาง ทัณฑสถานหญิงกลาง เป็นต้น  จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ โดยมีผู้ต้องขังสอบพระปริยัติธรรมแผนกบาลี (บาลีศึกษา) ได้จำนวนมากที่สุดในประเทศไทย  นอกจากนั้น ได้ยังเปิดโอกาสให้ฆราวาสเข้ามาศึกษาพระบาลี (บาลีศึกษา) ในสำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพมหานคร

ผลงานการแต่งตำรา[แก้]

  • เคล็ดลับวิชาสัมพันธ์ไทย ชั้นประโยค ป.ธ.3 (พ.ศ. 2538)
  • ธรรมศึกษาชั้นตรี ฉบับปรับปรุงตามหลักสูตรใหม่
  • ปัญหาและเฉลยบาลีสนามหลวงชั้นเปรียญเอก (พ.ศ. 2549)
  • หลักสูตรบาลีไวยากรณ์และหลักสัมพันธ์
  • เบญจศีลเบญจธรรม อุดมชีวิตของมนุษย์
  • คู่มือคู่ใจพระคาถาธรรมบท
  • พระธัมมปทัฏฐกถา แปลโดยพยัญชนะภาค1 - ภาค4
  • พระธัมมปทัฏฐกถา แปลโดยพยัญชนะ ภาค5 - ภาค8

รางวัลเกียรติคุณ[แก้]

ศาสนกิจพิเศษ[แก้]

สมณศักดิ์[แก้]

โอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ในการทรงตั้งเปรียญธรรม 9 ประโยค และเปรียญธรรม 6 ประโยค และผ้าไตรพระราชทาน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

อ้างอิง[แก้]

  1. https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/amulets/news_4619704
  2. chanhena, Bandit. "สถาปนาสมณศักดิ์ "พระธรรมราชานุวัตร" ขึ้นรองสมเด็จฯที่ "พระพรหมวชิโรดม"". เดลินิวส์.
  3. https://www.watmoli.org/index.php?url=about&code=admin&cat=A
  4. https://www.matichon.co.th/court-news/news_2612215
  5. https://www.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/20276
  6. http://roiet.mcu.ac.th/?page_id=2190
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๒๖, ตอนที่ ๖ ข, ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒, หน้า ๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๑, ตอนที่ ๒๐ ข, ๒๖ กันยายน ๒๕๕๗, หน้า ๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๓, ตอนที่ ๒๒ ข, ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๙, หน้า ๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๗, ตอนที่ ๒๐ ข, ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓, หน้า ๐๑
  11. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการประกาศสถาปนาสมณศักดิ์,เล่ม 141,ตอนที่ 17ข,หน้า 1, 8 พฤษภาคม 2567

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]