นัฟตาลี เบนเนตต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นัฟตาลี เบนเนตต์
ภาพถ่ายประจำตำแหน่งอย่างเป็นทางการ มิถุนายน 2564
นายกรัฐมนตรีอิสราเอล คนที่ 13
ดำรงตำแหน่ง
13 มิถุนายน พ.ศ. 2564 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ประธานาธิบดีรูเวน ริฟลิน
ก่อนหน้าเบนจามิน เนทันยาฮู
ถัดไปยาอีร์ ลาปิด
Ministerial roles
2556–2558รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงบริการศาสนา
2556–2562รัฐมนตรีกระทรวงกิจการยิวนอกประเทศ
2558–2562รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
2562–2563รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
2564 – ปัจจุบันMinister of Community Affairs[1]
สมาชิกสภานัสเซต
2556–2561พรรคมาตุภูมิยิว
2561–2562พรรคขวาใหม่
2562พรรคยามินา
2562–2563พรรคขวาใหม่
2563 – ปัจจุบันพรรคยามินา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 มีนาคม พ.ศ. 2515 (52 ปี)
ไฮฟา, ประเทศอิสราเอล
พรรคการเมืองพรรคขวาใหม่ (2561 – ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คู่สมรสจิลัต เบนเนตต์ (2542 - ปัจจุบัน)
บุตร4
ที่อยู่อาศัยราอานานา, ประเทศอิสราเอล
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฮีบรูแห่งเยรูซาเลม
อาชีพทหาร,นักธุรกิจ, นักการเมือง
เว็บไซต์naftalibennett.co.il แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองกำลังป้องกันอิสราเอล
ประจำการ2533–2539
ยศรัฟเซเรน (พันตรี)
หน่วย
ผ่านศึก

นัฟตาลี เบนเนตต์ (อังกฤษ: Naftali Bennett, ฮีบรู: נַפְתָּלִי בֶּנֶט; 25 มีนาคม 2515) เป็นนักการเมืองอิสราเอล ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนปัจจุบัน อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของอิสราเอลโดยดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน 2564 ถึง 1 กรกฎาคม 2565[2] เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกิจการยิวนอกประเทศ (Diaspora Affairs) ตั้งแต่ปี 2556 ถึง 2562 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมตั้งแต่ปี 2562 ถึง 2563 เขาเป็นหัวหน้าพรรคขวาใหม่ตั้งแต่ปี 2561 และก่อนหน้านั้นเป็นหัวหน้าพรรคมาตุภูมิยิวระหว่างปี 2555 ถึง 2561[3]

เขาเกิดและเติบโตในไฮฟา เป็นบุตรคนเข้าเมืองจากสหรัฐ เบนเนตต์รับราชการในหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ หน่วยรบพิเศษของกองกำลังป้องกันอิสราเอล บังคับบัญชาปฏิบัติการรบหลายครั้ง และต่อมาเป็นผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ ในปี 2542 เขาร่วมก่อตั้งและเป็นเจ้าของร่วมของบริษัทไซโอตา สัญชาติอเมริกัน ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านต่อต้านการฉ้อฉล[4] เขายังเป็นซีอีโอของโซลูโต บริษัทคลาวด์คอมพิวติงสัญชาติอิสราเอล

เขาเข้าสู่การเมืองในปี 2549 โดยเป็นเสนาธิการให้แก่เบนจามิน เนทันยาฮูจนถึงปี 2551; ในปี 2554 เขาร่วมก่อตั้งขบวนการนอกรัฐสภา อิสราเอลของฉัน[5] ในปี 2555 เบนเนตต์ได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคมาตุภูมิยิว ในการเลือกตั้งนัสเซตปี 2556 พรรคของเขาคว้า 12 ที่นั่งจาก 120 ที่นั่ง[6] เขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและบริการศาสนาระหว่างปี 2556 ถึง 2558 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ปี 2558 ถึง 2562 ในเดือนธันวาคม 2561 เบนเนตต์ออกจากพรรคไปก่อตั้งพรรคขวาใหม่[7]

วันที่ 2 มิถุนายน 2564 เบนเนตต์ตกลงตั้งรัฐบาลหมุนเวียนกับยาอีร์ ลาปิด โดยเบนเนตต์จะเป็นนายกรัฐมนตรีถึงปี 2567 แล้วต่อด้วยลาปิด อีกสองปี[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. "All Governments of Israel". Knesset. สืบค้นเมื่อ 14 June 2021.
  2. Michael, Bachner (8 June 2021). "Swearing-in of Bennett-Lapid gov't that would replace Netanyahu set for Sunday". The Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 11 June 2021.
  3. Wootliff, Raoul (10 October 2019). "Yamina party officially splits into New Right, Jewish Home-National Union". The Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 21 October 2019.
  4. "Cyota". crunchbase.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-15. สืบค้นเมื่อ 8 March 2021.
  5. "Israel's election: A newly hatched hawk flies high". The Economist. 5 January 2013. สืบค้นเมื่อ 8 March 2021.
  6. Gil Stern; Jeremy Sharon; Lahav Harkov (24 January 2013). "Final election count: Right bloc 61, Center-Left 59 seats". The Jerusalem Post.
  7. Bennett, Shaked quit Jewish Home, announce formation of ‘HaYamin HeHadash’ The Times of Israel, 29 December 2018
  8. Kingsley, Patrick (2 June 2021). "Live Updates: Netanyahu Faces Ouster as Foes Reach Deal for New Government". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2 June 2021.