ไฟดิปพิดีส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฟดิปพิดีส
รูปปั้นไฟดิปพิดีสริมถนนมาราธอน
เกิดป. 530 ปีก่อน ค.ศ.
เอเธนส์
เสียชีวิตป. 490 ปีก่อน ค.ศ.
เอเธนส์

เฟดิปพิดีส (กรีก: Φειδιππίδης; "บุตรแห่งเฟดิปปอส") หรือ ไฟดิปพิดีส (Φιλιππίδης) เป็นบุคคลสำคัญในเรื่องราวที่เป็นแรงบันดาลใจต่อกีฬาสมัยใหม่ 2 ชนิด คือ มาราธอน และSpartathlon กล่าวกันว่าไฟดิปพิดีสวิ่งจากมาราธอนไปยังเอเธนส์เพื่อส่งข่าวสารถึงชัยชนะในยุทธการที่มาราธอน

ภาพวาดไฟดิปพิดีสตอนพูดถึงชัยชนะของกรีกต่อเปอร์เซียในยุทธการที่มาราธอนแก่ผู้คนในเอเธนส์ — Luc-Olivier Merson (1869)

ชื่อ[แก้]

มีการรายงานชื่อในรูป Philippides จาก เปาซาเนียส, พลูทาร์ก และลูเชียน ซึ่งอ่านชื่อนี้จากฉบับของเฮอรอโดทัสในแบบของตนเอง ในขณะที่เอกสารตัวเขียนของเฮอรอโดทัสส่วนใหญ่เขียนในรูปของ Pheidippides[1]

นอกจากเอกสารของเฮอรอโดทัสแล้ว รูป Pheidippides ปรากฏแค่เฉพาะใน The Clouds ของอาริสโตพาแนส นักประวัติศาสตร์หลายคนโต้แย้งว่าอาริสโตพาแนสจงใจบิดเบือนชื่อจริงของ Philippides เพื่อที่จะไม่ใช้ชื่อของวีรบุรุษมาราธอนในบทละคร หรือเป็นการเล่นคำที่แปลว่า: "ช่วยม้า" อย่างไรก็ตาม ในเมื่อมีชื่ Pheidippo ในอีเลียด จึงไม่สามารถละรูปของ Pheidippides ได้ แต่หลายคนรายงานว่ารูปนี้เป็นรูปที่ผิดพลาดจากผู้คัดลอกเอกสารตัวเขียน[2]

รายงาน[แก้]

เรื่องราวดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องกับไฟดิปพิดีส (530–490 ปีก่อน ค.ศ.) ผู้ถือสารชาวเอเธนส์ หรือ hemerodrome[3] (แปลว่า "นักวิ่งตอนกลางวัน,"[4] "ผู้ส่งสาส์น,"[5][6] "professional-running courier"[3] หรือ "นักวิ่งทั้งวัน"[7]) ที่ส่งไปยังสปาร์ตาเพื่อขอความช่วยเหลือ เมื่อฝ่ายเปอร์เซียลงไปยังมาราธอน เขาวิ่งประมาณ 240 กิโลเมตร (150 ไมล์) ภายใน 2 วัน แล้ววิ่งกลับมา จากนั้นจึงวิ่งไปสนามรบใกล้มาราธอน 40 กิโลเมตร (25 ไมล์) และกลับไปยังเอเธนส์เะื่อประกาศว่าฝ่ายกรีกชนะเหนือเปอร์เซียในยุทธการที่มาราธอน (490 ปีก่อน ค.ศ.) ด้วยคำว่า νικῶμεν (nikomen[8] "เราชนะ!") ซึ่งลูเชียนระบุว่า chairete, nikomen ("ขอประกาศ เราคือผู้ชนะ")[9] และล้มลงเสียชีวิต[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง[แก้]

  1. Lazenby, John Francis. The Defence of Greece 490-479 BC, Aris & Phillips Ltd, 1993, p. 52, ISBN 0-85668-591-7.
  2. Dennis L. Fink, The Battle of Marathon in Scholarship, McFarland, 2014, p. 138,ISBN 978-0-7864-7973-3.
  3. 3.0 3.1 Sears, Edward Seldon (2001). Running through the Ages. McFarland. ISBN 9780786450770. สืบค้นเมื่อ 2012-04-08.
  4. Kyle, Donald G. (18 September 2006). Sport and Spectacle in the Ancient World. John Wiley & Sons. ISBN 0631229701. สืบค้นเมื่อ 2012-04-08.
  5. Herodotus (1806). Histories. Vol. 3. แปลโดย Southeby, Leigh; Southeby, S. สืบค้นเมื่อ 2012-04-08 – โดยทาง Google Books.
  6. Larcher, Pierre Henri; Cooley, William Desborough (1844). Larcher's Notes on Herodotus: Historical and critical comments on the History of Herodotus, with a chronological table; translated from the French. London, Whittaker. สืบค้นเมื่อ 2012-04-08.
  7. Miller, Stephen G. (1 Aug 2006). Ancient Greek Athletics. Yale University Press. ISBN 0300115296. สืบค้นเมื่อ 2012-04-08.
  8. University news team (7 September 2011). "News from the University Press releases 'Bristol team to mark 2,500th anniversary of the first marathon'". University of Bristol.
  9. Herodotus; Waterfield, Robin; Dewald, Carolyn (15 May 2008). The Histories. Oxford University Press. ISBN 9780199535668. สืบค้นเมื่อ 2012-04-08.

ข้อมูล[แก้]

  • Herodotus (1972) [1954]. Herodotus – The Histories. แปลโดย de Sélincourt, Aubrey; Burn, A.R. Penguin Classic.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Frost, Frank J. (1979). "The dubious origins of the 'marathon'". American Journal of Ancient History. 4 (2): 159–62.
  • Giessen, Hans W. (2010). Mythos Marathon: Von Herodot über Bréal bis zur Gegenwart (ภาษาเยอรมัน). Landau, DE: Verlag Empirische Pädagogik (= Landauer Schriften zur Kommunikations- und Kulturwissenschaft. Band 17). ISBN 978-3-941320-46-8.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]