ไทยรีเจียนัลแอร์ไลน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไทย รีเจียนัล แอร์ไลน์)
สายการบินไทยรีเจียนัล
IATA ICAO รหัสเรียก
RW TRB THAI REGIONAL
ก่อตั้ง24 กันยายน พ.ศ. 2553 (13 ปี)
ท่าหลักท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
จุดหมาย1
สำนักงานใหญ่บริษัท ไทย รีเจียนัล เอวิเอชั่น จำกัด
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ห้อง A4-0915 เลขที่ 999 หมู่ 1 ถนนบางนา-ตราด ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย
บุคลากรหลักประอังคาร ปัญธิยา (ประธาน)
เว็บไซต์http://www.thairegionalairlines.com

สายการบินไทยรีเจียนัล ก่อตั้งขึ้นด้วยเงินทุนจดทะเบียน 400,000,000 บาท (สี่ร้อยล้านบาทถ้วน) โดยมีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยทั้งหมด สายการบิน Thai Regional ได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ โดยใช้เครื่องบินโดยสารขนาดที่เหมาะสม ไปยังจังหวัดต่างๆที่ยังไม่มีเครื่องบินให้บริการ และมีเคาร์เตอร์เช็คอิน อยู่ที่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อาคาร Concourse A ชั้น 4 ในปัจจุบันปิดตัวแล้ว

  • มีบริษัทในเครืออยู่ 1 บริษัท คือ
  1. บริษัท ไทย รีเจียนัล บุ๊คกิ๊ง จำกัด บริการชำระเงินผ่านทางเอทีเอ็ม

ประวัติ[แก้]

สายการบิน Thai Regional ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553 โดยมีความตั้งใจที่จะทำการบินให้ได้ทุกจังหวัดในประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนในทุกๆจังหวัดได้มีโอกาสใช้เครื่องบินในการเดินทาง ซึ่งเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการบินและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศด้วย สายการบิน Thai Regional ริเริ่มธุรกิจการบินด้วยเครื่องบินแบบ Piper Navajo Chieftain PA-31-350 ขนาด 10 ที่นั่ง และ 8 ที่นั่ง ซึ่งเป็นเครื่องบินขนาดเล็กโดยเริ่มเปิดบริการเส้นทางบินจาก ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ สู่ท่าอากาศยานในต่างจังหวัดที่ยังไม่มีสายการบินให้บริการ เช่น นครราชสีมา เพชรบูรณ์ บุรีรัมย์ สุรินทร์ เป็นต้น

ในวันที่ 1 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2559 เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตก โดยเที่ยวบิน TRB 106 ตกก่อนที่จะเดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[1] มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 4 ราย

เครื่องบินที่ใช้[แก้]

ภายในเครื่อง Piper (ในภาพนี้ไม่ใช่เป็นของ A380)

บริษัทเลือกใช้เครื่องบิน Piper Navajo Chieftain PA-31-350 ขนาด 10 ที่นั่ง และ 8 ที่นั่ง ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ได้รับความนิยมสูง[ต้องการอ้างอิง] และ มีความปลอดภัยสูงในประเทศสหรัฐอเมริกา Piper Navajo เป็นเครื่องบิน Multi Engine ชนิด 2 เครื่องยนต์ ซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่าเครื่องบินชนิด 1 เครื่องยนต์ จำนวน 2 ลำ และกำลังนำเข้ามาอีก 4



เส้นทางการบินที่เปิดให้บริการ[แก้]

ตารางการบิน[2]

เส้นทางการบิน ท่าอากาศยาน
หัวหิน ท่าอากาศยานหัวหิน (Hua Hin Airport) จันทร์ พุธ ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์
เกาะกูด สนามบินเกาะไม้ซี้ (koh mai si Airport) เป็นเที่ยวบินแบบไม่ประจำ
หาดใหญ่-ภูเก็ต ท่าอากาศยานหาดใหญ่ เป็นเที่ยวบินแบบไม่ประจำ
เชียงใหม่ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ เป็นเที่ยวบินแบบไม่ประจำ
สุรินทร์ ท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดี เป็นเที่ยวบินแบบไม่ประจำ
ภูเก็ต ท่าอากาศยานภูเก็ต เป็นเที่ยวบินแบบไม่ประจำ
บุรีรัมย์ ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ เป็นเที่ยวบินแบบไม่ประจำ
นครราชสีมา ท่าอากาศยานนครราชสีมา เป็นเที่ยวบินแบบไม่ประจำ

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]