แอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ

แอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ (ฝรั่งเศส: Hector Berlioz, ออกเสียง: [ɛktɔʁ bɛʁljoːz]) เป็นคีตกวี นักเขียน และนักวิจารณ์ชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1803 ที่เมืองลาโกตแซ็งต็องเดร จังหวัดอีแซร์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1869 ที่กรุงปารีส

เขาเป็นหนึ่งในคีตกวีคนสำคัญในยุคโรแมนติกของทวีปยุโรป

ประวัติ[แก้]

ช่วงแรกของชีวิต[แก้]

เขาสนใจวิถีชีวิตของชาวปารีสมาตั้งแต่เริ่มแรก ในช่วงสมัยการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง ซึ่งมีการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมครั้งใหญ่และมีนักปรัชญาเกิดขึ้นจำนวนมาก

ในปี ค.ศ. 1823 เขาได้ศึกษาการประพันธ์เพลงที่วิทยาลัยดนตรีและนาฏศิลป์ชั้นสูงแห่งชาติ ณ กรุงปารีส ร่วมกับฌ็อง-ฟร็องซัว เลอ ซุเออร์ คีตกวีประจำสถาบันซึ่งมีรูปแบบอลังการ และได้รอดจากอุปสรรคในยุคต่าง ๆ มาได้ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองต่าง ๆ ตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศส จนกระทั่งการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์

เขาได้พบคาร์ล มารีอา ฟอน เวเบอร์ (ซึ่งต่อมาได้ใช้เทคนิคของเวเบอร์ในการประพันธ์ แซ็งฟอนี ฟ็องตัสติก) และได้ประพันธ์ Messe solennelle ในปี ค.ศ. 1824

ถึงแม้เขาหัดเล่นดนตรีเอง โดยหัดเล่นกีตาร์และปี่แตร และแม้ว่าเขาจะไม่ประสบผลสำเร็จในการประกวดดนตรีที่กรุงโรม ในปี ค.ศ. 1826 เขาก็ได้เข้าศึกษาดนตรีที่วิทยาลัยดนตรี (ผู้อำนวยการในสมัยนั้นได้แก่ลุยจิ เชรูบินิ) และได้เรียนกับปรมาจารย์อันทอน ไรคา ที่สอนเขาเกี่ยวกันฟิวก์และเคาน์เตอร์พ้อยท์ รวมทั้งเรียนการเรียบเรียงเสียงประสานกับเลอซุเออร์ด้วย

ในปี ค.ศ. 1827 เขาเข้ารอบการประกวดดนตรีที่กรุงโรม แต่บทเพลงคันทาทา ของเขาที่มีชื่อว่า ลามอร์ดอร์เฟ ได้รับการตัดสินจากคณะกรรมการว่าไม่สามารถจะเอามาบรรเลงจริง ๆ ได้ ในระหว่างการแสดงละครเวทีเรื่องแฮมเล็ต เขาได้อ่านงานของวิลเลียม เชกสเปียร์ และตกหลุมรักแฮเรียต นักแสดงสาวชาวไอริชที่แสดงในละครเรื่องแฮมเล็ต ซึ่งต่อมาเขาได้สมรสกับเธอในปี ค.ศ. 1833

เขาค้นพบวรรณกรรมของเกอเทอ เรื่องเฟาสท์ ซึ่งต่อมาเขาได้ประพันธ์เพลงจากการแปลของเจราร์ด เดอ แนร์วาล ชื่อว่าแปดฉากจากเรื่องเฟาสท์ (ค.ศ. 1828) และอุปรากรโศกนาฏกรรมเรื่อง คำสาปของเฟาสท์ ในปี ค.ศ. 1843

เขารู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก เมื่อวิทยาลัยดนตรีและนาฏศิลป์ชั้นสูงแห่งชาติ ณ กรุงปารีส ภายใต้การอำนวยการของฟร็องซัว-อ็องตวน อาเบอแน็กได้จัดแสดงซิมโฟนีทุกบทของเบโธเฟน ในปี ค.ศ. 1828

แซ็งฟอนีฟ็องตัสติก[แก้]

การเดินทาง การเป็นนักเขียนนักวิจารณ์ และอุปรากร[แก้]

เลทรัวย็อง[แก้]

ผลงาน[แก้]

บทวิเคราะห์[แก้]

ผลงานที่ไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากชาวฝรั่งเศส[แก้]

งานเขียน[แก้]

  • Grand traité d'instrumentation et d'orchestration moderne (1860) ;
  • Mémoires, éditions Fayard ;
  • Correspondance générale, éditions Fayard ;
  • Les soirées de l'orchestre, (1852) ;
  • Le voyage musical en Allemagne et en Italie ;
  • À travers champs ;
  • Les Grotesques de la musique ;
  • Cauchemars et passion ;
  • Son œuvre critique est actuellement regroupée et rééditée : Critique musicale, sous la dir. de H. Robert Cohen et d'Yves Gérard, Paris : Buchet-Chastel, 1997- , en cours (4 vol. parus).

งานเพลง[แก้]

รายชื่อผลงานทั้งหมดได้ถูกตีพิมพ์โดย D. Kern Holoman ในแค็ตตาล็อกของเขา : Dallas Kern Holoman, Catalogue of the Works of Hector Berlioz, Cassel : Bärenreiter, 1987.

สำหรับวงดุริยางค์[แก้]

อุปรากร[แก้]

บทเพลงขับร้องประสานเสียง[แก้]

  • La Messe solennelle (1824, retrouvée en 1992 alors que Berlioz prétendait qu'il l'avait détruite) ;
  • Lélio ou le retour à la vie, op. 14b (1827) ;
  • Grand requiem ou Grande messe des morts (1837) ;
  • La damnation de Faust, légende dramatique (1846) ;
  • Te Deum (1849 - 1855) ;
  • L'enfance du Christ, trilogie sacrée (1850 - 1854) ;
  • La Mort d'Orphée ;
  • Le 5 mai ;
  • Le ballet des ombres ;
  • Tristia ;
  • Herminie, cantate ;
  • La mort de Cléopâtre ;
  • Les nuits d'été.

ผลงานที่ได้รับการบันทึกเสียง[แก้]

เซอร์ คอลิน เดวิส[แก้]

ตัวอย่างผลงานที่ได้รับการบันทึกเสียง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

หนังสือชีวประวัติ[แก้]

  • Hector Berlioz, Mémoires, Flammarion; (première édition: 1991) ISBN 2-08-212539-4
  • David Cairns, Berlioz, éditions Fayard (1991) ;
  • Claude Ballif, Berlioz, collection "Solfèges" au Seuil ;
  • Dictionnaire Berlioz, sous la dir. de Pierre Citron et de Cécile Reynaud, Paris, Fayard, 2003 ;
  • Berlioz, la voix du romantisme, catalogue d'exposition à la Bibliothèque nationale de France, 2003-2004, Paris, BnF / Fayard, 2003.