แมลงวัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมลงวัน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 245–0Ma Middle Triassic - Recent
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
ชั้นย่อย: Pterygota
ชั้นฐาน: Neoptera
อันดับใหญ่: Endopterygota
อันดับ: Diptera
Linnaeus, 1758
Suborders

Nematocera (includes Eudiptera)
Brachycera

แมลงวัน (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงงุน) เป็น แมลง ใน อันดับ Diptera (di = สอง, และ ptera = ปีก) มีบน อกปล้องทีสอง และ ตุ่มปีกหนึ่งคู่ ซึ่งลดรูปจากปีกหลัง บนอกปล้องที่สาม แมลงวันบางชนิดไม่มีปีก โดยเฉพาะใน superfamily Hippoboscoidea

อันดับ Diptera เป็นอันดับที่มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วย ประมาณ 240,000 ชนิด ของ ยุง, บั่ว, ริ้น และแมลงวันอื่นๆ แต่มีเพียงครึ่ง(ประมาณ 122,000 ชนิด) ที่ได้รับการจำแนกแล้ว [1] เป็นอันดับหลัก ๆ ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศและมนุษย์ (ทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ) ยุงในวงศ์ Culicidae มีความสำคัญมากโดยเป็นพาหะนำโรค มาลาเรีย ไข้เลือดออก ไวรัส West Nile ไข้เหลือง encephalitis

แมลงวัน เป็นแมลงที่อาศัยอยู่กับชุมชนมนุษย์ชนิดหนึ่ง ส่วนมากคนจะรู้จักบางชนิด เช่น แมลงวันบ้าน และแมลงวันหัวเขียว มักจะกินอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์และเศษอาหาร ตามกองขยะ และชอบหากินเวลากลางวัน ไม่ชอบแสงแดดจัด รัศมีการหากินอยู่ในวงประมาณ 3 กิโลเมตร

ชีววิทยา[แก้]

ภาพขยายส่วนหัวของแมลงวัน (Musca domestica)
ภาพพื้นผิวดวงตาของแมลงวัน โดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ที่กำลังขยาย 450 เท่า

แมลงวันกินอาหารที่เป็นของเหลวได้เท่านั้น ส่วนปากของแมลงวันมีการเปลี่ยนรูปอย่างหลากหลายตามอาหารของพวกมัน เช่น ปากเจาะดูดของยุง และปากแบบซับดูดของแมลงวันบ้าน

การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต[แก้]

การผสมพันธุ์

แมลงวันออกลูกเป็นไข่และฟักเป็นหนอนแมลงวัน และระยะดักแด้ จนกลายเป็นตัวเต็มวัย วงจรชีวิตของแมลงวันตั้งแต่ไข่จนเป็นตัวเต็มวัยกินเวลาประมาณ 8-10 วัน [2]

เมื่อแมลงวันผสมพันธุ์กัน ตัวผู้จะเริ่มขึ้นขี่ตัวเมีย หันหน้าไปทางเดียวกัน แต่จะหมุนหันหน้าไปทางตรงกันข้ามในเวลาต่อมา แมลงวันมีความสามารถในการสืบพันธุ์มากกว่าแมลงอื่น ๆ และใช้เวลาสั้นกว่าด้วย จึงเป็นสาเหตุให้แมลงวันเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

ตัวเมียจะวางไข่ใกล้ ๆ แหล่งอาหารเท่าที่เป็นไปได้ การเจริญเติบโตเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ตัวหนอนจะกินอาหารมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ในระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนที่เจริญเติบโตไปเป็นตัวเต็มวัย ในบางครั้งไข่จะฟักทันทีหลังจากถูกวางไข่ แมลงวันบางชนิดตัวหนอนฟักภายในตัวแม่ ovoviviparous

ตัวหนอนแมลงวัน หรือเรียกว่า maggot ไม่มีขาจริง ระหว่างอกและท้องมีการแบ่งส่วนพื้นที่เพียงเล็กน้อย หลายชนิดแม้แต่หัวก็ไม่สามารถแบ่งส่วนพื้นที่ได้ชัดจากส่วนอื่น บางชนิดมีขาเทียมเล็กๆที่ปล้องตัว ตาและหนวดลดรูป หรือไม่มี และท้องไม่มีรยางค์ เช่น cerci ลักษณะดังกล่าวเป็นการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่มีอาหารเป็นจำนวนมาก เช่นในอินทรีย์วัตถุเน่าหรือเป็นปรสิตภายใน

ดักแด้มีหลายรูปแบบ บางครั้งเข้าดักแด้ในปลอกไหม หลักจากออกจากดักแด้ ตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 2-3 วัน หน้าที่หลักเพื่อสืบพันธุ์และหาแหล่งอาหารใหม่

การจำแนกหมวดหมู่[แก้]

แมลงวัน
การทำความสะอาดตัวเองของแมลงวัน

อับดับย่อย Nematocera มีลำตัวและหนวดยาวมีขน เช่น ยุง แมลงวันแมงมุม อันดับย่อยBrachycera มีลำตัวกลมหนวดสั้น การจำแนกหมวดหมู่ในปัจจุบัน อับดับย่อย Nematocera ถูกแยกออกเป็นสองอับดับย่อย คืออับดับย่อย Archidipteraและ อับดับย่อย Eudiptera แต่ยังไม่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในนักกีฏวิทยาด้านแมลงวัน

  1. อันดับย่อย Nematocera (77 วงศ์, สูญพันธุ์แล้ว 35 วงศ์) - มีหนวดยาว อกปล้องแรก เห็นเด่นชัดแยกจาก อกปล้องที่ 2 ตัวหนอนมีทั้งเห็นหัวได้ชัดและหัวลดรูป มักอาศัยในน้ำ
  2. อับดับย่อย Brachycera (141 วงศ์, สูญพันธุ์แล้ว 8 วงศ์) - มีหนวดสั้น ดักแด้ อยู่ในปลอกดักแด้ซึ่งสร้างจากผิวหนังของตัวหนอนระยะสุดท้าย ตัวเต็มวัยแข็งแรง ตัวหนา ตัวหนอนส่วนปากลดรูป
    1. Infraorders Tabanomorpha and Asilomorpha - หนวดสั้นแต่โครงสร้างต่างจาก Infraorders Muscomorpha
    2. Infraorder Muscomorpha - มีหนวด 3 ปล้อง อริสเตต (มีเส้นขนที่ปล้องที่ 3)หนวด และ ตัวหนอนมี 3 ระยะ หัวลดรูป (maggots)

Infraorder Muscomorpha ถูกแบ่งออกเป็น Acalyptratae และ Calyptratae โดยแบ่งตามการปรากฏของcalypter (ส่วนปีกที่ห้อยออกมาขยายมาจากตุ่มปีก)

โทษ[แก้]

แมลงวันจัดเป็นสัตว์พาหะนำโรค เนื่องจากการ ตอมตามสิ่งสกปรกทำให้มีเชื้อโรคติดตามขาและมาติดต่อสู่มนุษย์ ทำให้เกิดโรคต่างๆ จึงควรหากับดักแมลงวันวางไว้ที่ที่มีแมลงวันเยอะๆ เพื่อป้องกันโรค

ประโยชน์[แก้]

แมลงวันมีประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น ในบางท้องที่พบว่าแมลงวันสามารถช่วยผสมเกสรดอกไม้ แพทย์บางแห่งใช้หนอนแมลงวันช่วยในการรักษาแผลเน่าเปื่อยในคน โดยให้หนอนแมลงวันขนาดเล็กกัดกินเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ทำให้แผลหายเร็วขึ้น การพบตัวอ่อนของแมลงวันในศพสามารถช่วยในการชันสูตรศพ ซึ่งช่วยประมาณระยะเวลาตาย หรือการหาสาเหตุของการตายในบางกรณีได้[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง[แก้]

  1. B. M. Wiegmann & D. K. Yeates (1996). "Tree of Life: Diptera". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-14. สืบค้นเมื่อ 2010-04-20.
  2. http://www.med.cmu.ac.th/dept/parasite/public/Fly.htm

B. M. Wiegmann & D. K. Yeates (1996). "Tree of Life: Diptera". http://www2.ncsu.edu/unity/lockers/ftp/bwiegman/fly_html/diptera.html#about เก็บถาวร 2009-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.

a b c d e Hoell, H.V., Doyen, J.T. & Purcell, A.H. (1998). Introduction to Insect Biology and Diversity, 2nd ed.. Oxford University Press. pp. 493–499. ISBN 0-19-510033-6.

"Taxon: Superorder Antliophora". The Taxonomicon. http://www.taxonomy.nl/Taxonomicon/TaxonTree.aspx?id=102510 เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 2007-08-21.

V. A. Blagoderov, E. D. Lukashevich & M. B. Mostovski (2002). "Order Diptera Linné, 1758. The true flies". in A. P. Rasnitsyn & D. L. J. Quicke. History of Insects. Kluwer Academic Publishers. ISBN 1-4020-0026-X. http://palaeoentomolog.ru/New/diptera.html.

"Portrait of a Carthusian, 1446". Timeline of Art History. The Metropolitan Museum of Art. October 2006. http://www.metmuseum.org/toah/hd/optg/hod_49.7.19.htm.

G. C. McGavin. 2000. "Insects Spiders and Other Terrestrial Arthropods". Dorling Kindersley Limited.

Biology[แก้]

  • Harold Oldroyd The Natural History of Flies. New York: W. W. Norton.1965.
  • Eugène Séguy Diptera: recueil d'etudes biologiques et systematiques sur les Dipteres du Globe (Collection of biological and systematic studies on Diptera of the World). 11 vols. Text figs. Part of Encyclopedie Entomologique, Serie B II: Diptera. 1924-1953.
  • Eugène Seguy. La Biologie des Dipteres 1950. pp. 609. 7 col + 3 b/w plates, 225 text figs.

Classification[แก้]

  • Brown, B.V., Borkent, A., Cumming, J.M., Wood, D.M., Woodley, N.E., and Zumbado, M. (Editors) 2009 Manual of Central American Diptera. Volume 1[ลิงก์เสีย] NRC Research Press, Ottawa ISBN 978-0-660-19833-0
  • Colless, D.H. & McAlpine, D.K.1991 Diptera (flies) , pp. 717-786. In: The Division of Entomology. Commonwealth Scientific and Industrial Research Organisation, Canberra (spons.), The insects of Australia.Melbourne Univ. Press, Melbourne.
  • Griffiths, G.C.D. The phylogenetic classification of Diptera Cyclorrhapha, withspecial reference to the structure of the male postabdomen. Ser. Ent. 8, 340 pp. [Dr. W. Junk, N. V., The Hague] (1972).
  • Willi Hennig Die Larvenformen der Dipteren. 3. Teil. Akad.-Verlag, Berlin. 185 pp., 3 pls. 1948
  • Willi Hennig (1954) Flugelgeader und System der Dipteren unter Berucksichtigung der aus dem Mesozoikum beschriebenen Fossilien. Beitr. Ent. 4: 245-388 (1954).
  • F. Christian Thompson. "Sources for the Biosystematic Database of World Diptera (Flies)" (PDF). United States Department of Agriculture, Systematic Entomology Laboratory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-18. สืบค้นเมื่อ 2010-04-22.
  • Willi Hennig: Diptera (Zweifluger). Handb. Zool. Berl. 4 (2 ) (31):1-337. General introduction with key to World Families. In German.

External links[แก้]