แก๊งออฟโฟร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แถวบนสุด (ซ้าย-ขวา): เจียง ชิง, จาง ชุนเฉียว
แถวล่างสุด (ซ้าย-ขวา): เหยา เหวินหยวน, หวัง หงเหวิน

แก๊งสี่คน หรือ แก๊งออฟโฟร์ (อังกฤษ: Gang of Four, จีนตัวย่อ: 四人帮; จีนตัวเต็ม: 四人幫; พินอิน: Sìrén bāng) เป็นฝ่ายการเมืองที่ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนสี่คน พวกเขามีชื่อเสียงในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม (ค.ศ. 1966–1976) ผู้นำที่สำคัญของแก๊งคือ เจียง ชิง (ภรรยาคนสุดท้ายของประธานเหมา เจ๋อตุง) สมาชิกอีกสามคนคือ จาง ชุนเฉียว, เหยา เหวินหยวน และหวัง หงเหวิน[1]

แก๊งสี่คนได้ควบคุมอำนาจเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนตลอดช่วงระยะสุดท้ายของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม แม้ว่ามันจะยังไม่ชัดเจนว่าการตัดสินใจครั้งสำคัญของเหมา เจ๋อตุงและการดำเนินการโดยแก๊งและเป็นผลมาจากการวางแผนของแก๊งสี่คน

แก๊งสี่คนร่วมกับนายพลหลิน เปียว ซึ่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1971 ถูกขึ้นชื่อว่าทั้งสองเป็นแกนนำที่สำคัญของ"กองกำลังต่อต้านการปฏิวัติ"ของการปฏิวัติทางวัฒนธรรมและถูกตั้งข้อกล่าวหาอย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลจีนสำหรับความโกลาหลทางสังคมที่เลวร้ายที่สุดที่เกิดขึ้นในช่วงสิบปีแห่งความโกลาหล พวกเขาได้ล่มสลายลงในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1976 เพียงหนึ่งเดือนภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของประธานเหมา ทำให้มีการเฉลิมฉลองครั้งสำคัญบนถนนในกรุงปักกิ่งและถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคการเมืองที่แสนจะวุ่นวายในประเทศจีน การล่มสลายของพวกเขาไม่ได้ปฏิเสธถึงการปฏิวัติทางวัฒนธรรมเช่นนี้ มันถูกจัดระเบียบใหม่โดยผู้นำคนใหม่ นายกรัฐมนตรี ฮั่ว กั๋วเฟิง และคนอื่นๆ ที่เถลิงอำนาจขึ้นในช่วงเวลานั้น การปฏิเสธอย่างมีนัยสำคัญของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดขึ้นมาภายหลัง ด้วยการกลับมาของเติ้ง เสี่ยวผิงที่การประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 11[2] และฮั่วก็ค่อย ๆ สูญเสียอำนาจไป[3]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Yao Wenyuan". The Economist. ISSN 0013-0613. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-23. สืบค้นเมื่อ 2016-05-22.
  2. "1977: Deng Xiaoping back in power". 22 July 1977. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2017. สืบค้นเมื่อ 18 January 2018 – โดยทาง news.bbc.co.uk.
  3. "Hua Guofeng, Transitional Leader of China After Mao, Is Dead at 87". The New York Times. 21 August 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2018. สืบค้นเมื่อ 18 January 2018.