เมืองทองธานี

พิกัด: 13°54′42″N 100°32′24″E / 13.911770°N 100.540070°E / 13.911770; 100.540070
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เมืองทองธานี (อังกฤษ: Muang Thong Thani) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมขนาดใหญ่บริเวณโดยรอบทางแยกต่างระดับแจ้งวัฒนะ (จุดตัดระหว่างถนนแจ้งวัฒนะ กับแนวเชื่อมต่อระหว่างทางพิเศษศรีรัชและทางพิเศษอุดรรัถยา) ในพื้นที่ตำบลคลองเกลือ ตำบลบางพูด และตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในเครือบริษัทบางกอกแลนด์ โครงการเมืองทองเริ่มก่อสร้างปี 2533 โดยมีเป้าประสงค์ในการพัฒนาพื้นที่ 4,700 ไร่ให้เป็นเมืองย่อมๆ รองรับประชาชนไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน[1][2] เดือนพฤษภาคม 2533 เปิดตัวคอนโดมีเนียมเลควิวเจาะกลุ่มตลาดโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก[3] เดือนมกราคม 2534 เปิดตัวโครงการสำหรับกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อยและปานกลาง อันได้แก่ โครงการป๊อปปูล่าคอนโด 10 ชั้น จำนวน 27 ตึก ประกอบไปด้วยโครงการครูเมืองทองธานี เป็นแฟลตราคาพิเศษเพื่อผู้พักอาศัยที่เป็นครู คอนโดมิเนียมมีทั้งหมด 24 อาคาร อาคารดังกล่าว ประกอบด้วย อาคารครูเมืองทอง 14 อาคาร อาคารเมืองทองธานีเพื่อข้าราชการ จำนวน 9 อาคาร อาคารไพลินสแควร์ จำนวน 4 อาคาร [4]ซึ่งภายในประกอบไปด้วยหมู่บ้าน เมืองทองนิเวศน์ 3 รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองทอง 3 เป็นที่ตั้งของศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และมหาวิทยาลัยศิลปากร City Campus นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, สถานกีฬาเมืองทองธานี (ธันเดอร์โดม), ธันเดอร์โดมสเตเดียม, การกีฬาแห่งประเทศไทย, The Tennis Academy of Asia, วัดผาสุกมณีจักร และโรงเรียนอีกหลายโรงเรียน

รายละเอียดโครงการ[แก้]

สำนักงาน[แก้]

  • อาคารสำนักงานขนาดสูง หลายอาคาร
  • อาคารพาณิชย์
  • นิวเจนีวา
  • คอนโดมิเนียมอุตสาหกรรม
  • ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานแจ้งวัฒนะ
  • กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป

ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม[แก้]

หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ[แก้]

สถานศึกษา[แก้]

ที่พักอาศัย[แก้]

  • เลค วิว คอนโดมิเนียม
  • ป๊อปปูล่า คอนโดมิเนียม
  • บ้านพักอาศัย โครงการ 1-3

กีฬา[แก้]

ศูนย์การค้า[แก้]

  • บีไฮฟ์ ไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้งมอลล์
  • คอสโม บาซาร์
  • คอสโม วอล์ก

สิ่งแวดล้อม[แก้]

  • สวนสาธารณะเมืองทองธานี
  • ทะเลสาบเมืองทองธานี

การเดินทาง[แก้]

รถประจำทาง[แก้]

เมืองทองธานีมีท่ารถประจำทาง ขสมก. สาย 166 (เข้าไปในอิมแพ็คเมืองทองธานี)

เมืองทองธานี[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด เส้นทาง เวลาเดินรถเที่ยวแรก (เมืองทองธานี) เวลาเดินรถเที่ยวแรก (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (เมืองทองธานี) เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
166 (1) เมืองทองธานี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

เมืองทองธานี
ปากเกร็ด
เซ็นทรัลงามวงศ์วาน
ทางด่วน
พระรามหก
ตึกชัย
รพ.พระมงกุฎฯ
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

04:15 น. 05:00 น. 22:00 น. 23:00 น. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม–น้ำเงิน

ขสมก.
  • สาย 166 : เมืองทองธานี - (ปากเกร็ด) - ทางด่วน - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

นอกจากรถประจำทาง ขสมก. สาย 166 แล้วยังมีรถประจำทางสายอื่นๆดังนี้

  • สาย 210 (2-27) (หมวด 1) : เมืองทองธานี - สถานีรถไฟฟ้าบางหว้า เดินรถโดยบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด (มีเที่ยววิ่งน้อย)
  • สาย 391 (หมวด 3) : เมืองทองธานี - ปากเกร็ด (มีรถบริการเพียง 1 คัน)

มีรถสองแถว 3 สาย ได้แก่

  • สาย 1 คอนโดเมืองทอง - แจ้งวัฒนะ
  • สาย 2 คอนโดเมืองทอง - ติวานนท์
  • สาย 3 คอสโม่บาซาร์ - MRT ศรีรัช

นอกจากนี้แล้ว เมืองทองธานียังมีบริการรถคิวตู้หลายสาย สำหรับให้บริการผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองทองธานี โดยเฉพาะในส่วนของป็อปปูล่า คอนโดมีเนียม ซึ่งมีผู้อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น และรองรับผู้ที่มาใช้บริการที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ประกอบด้วย

  • สายเมืองทอง - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • สายเมืองทอง - เดอะมอลล์งามวงศ์วาน
  • สายเมืองทอง - สนามหลวง
  • สายเมืองทอง - เมเจอร์ รังสิต
  • สายเมืองทอง - เดอะมอลล์บางกะปิ
  • สายเมืองทอง - สีลม (เฉพาะช่วงเช้าของวันทำงาน)

และยังมีรถโดยสารปรับอากาศสายพิเศษ สายเมืองทอง - อิมแพ็ค - สถานีหมอชิต ซึ่งทางบางกอกแลนด์ดำเนินการบริการด้วยตนเอง โดยจำหน่ายตั๋วโดยสารในรูปแบบคูปองใบละ 30 บาท เชื่อมต่อเส้นทางการเดินทางระหว่างสถานีรถไฟฟ้ามายังศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็คอีกด้วย

รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ สายหมอชิต-ปากเกร็ด[แก้]

  • สถานีและศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี

รถไฟฟ้าสายสีชมพู[แก้]

  • สถานีเมืองทองธานี ตั้งอยู่บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 35
  • สถานีศรีรัช ตั้งอยู่บริเวณสำนักเครื่องกลและสื่อสาร กรมทางหลวง เป็นสถานีร่วมของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงศรีรัช - เมืองทองธานี ประกอบด้วย 2 สถานี คือ[5]
  1. สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี (MT01)
  2. สถานีทะเลสาบเมืองทองธานี (MT02)

ถนนสายหลัก[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Toonpirom, Vanida (2022-08-24). ""เมืองทองธานี" ภารกิจสร้างเมือง ส่งต่อจากรุ่นพ่อ สู่รุ่นลูก".
  2. https://www.ddproperty.com/areainsider/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5/article/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80-10233
  3. "NHA virtual museum". site001.ap.tu.ac.th.
  4. "เปิดไทม์ไลน์สร้าง "เมืองใหม่" (เกือบร้าง) กว่าจะยิ่งใหญ่ทุกวันนี้". mgronline.com. 2020-04-16.
  5. ไฟเขียว 'บีทีเอส' ลงทุนรถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลืองส่วนต่อขยาย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°54′42″N 100°32′24″E / 13.911770°N 100.540070°E / 13.911770; 100.540070