เนอการากู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เพลงชาติมาเลเซีย)
เนอการากู
คำแปล: แผ่นดินของข้า
เนื้อร้องหลายคน (ผู้แต่งต้นฉบับ: Ahmad Mulkliff Mohd Nor), พ.ศ. 2497
ทำนองปีแยร์-ฌ็อง เดอ เบร็องเฌ
รับไปใช้พ.ศ. 2500
ตัวอย่างเสียง
เนอการากู (บรรเลง)
ปีแยร์-ฌ็อง เดอ เบร็องเฌ

เนอการากู (รูมี: Negaraku, ยาวี: نڬاراكو, แปลว่า "แผ่นดินของข้า" หรือ "ประเทศของข้า") เป็นเพลงชาติของสหพันธรัฐมาเลเซีย เพลงนี้ได้รับเลือกให้เป็นเพลงชาติมาเลเชียเมื่อสหพันธรัฐมาลายาได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2500 ทำนองเพลงนี้เดิมใช้เป็นเพลงสรรเสริญประจำรัฐเปรัก[1] ซึ่งเพลงนี้ได้หยิบยืมทำนองมาจากเพลงฝรั่งเศสที่มีชื่อว่า "ลารอซาลี" (La Rosalie) อีกชั้นหนึ่ง ผู้ประพันธ์ทำนองเพลงนี้คือ ปีแยร์-ฌ็อง เดอ เบร็องเฌ (Pierre-Jean de Béranger) ชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2323 - 2400

ประวัติ[แก้]

เพลงที่มีทำนองคล้ายคลึงกัน[แก้]

เพลงที่มีทำนองคล้ายคลึงกัน ได้ถูกบันทึกลงบนแผ่นเสียงทั้งสามตามที่ปรากฏนี้ ต่อมาได้มีการนำทำนองของเพลงทั้งสามไปปรับแก้สำหรับใช้เป็นเพลงชาติมาเลเซีย:

ค.ศ. 1930

'มามูลา มูน' บนแผ่นเสียงพาร์โลโฟน (รหัสอ้างอิง: F.2211) บรรเลงโดย เจอรัลโด และ วงออเครสตร้าของเขา ขับร้องโดย แดนนี่ วากค์ เมื่อ ค.ศ. 1930 มีลักษณะเป็นเพลงแจ๊สยอดนิยมของอังกฤษในช่วงเวลาต่อมา. ทำนองเพลงแจ๊สเข้ากับการเต้นลีลาศในจังหวะฟ็อกซ์ทรอท.

ค.ศ. 1940

'ไอ แชล รีเทิร์น' ขับร้องโดย แอนนี เชลท์ตัน ค.ศ. 1940 บนแผ่นเสียง Decca 78rpm record (รหัสอ้างอิง. F.10037/DR.17340) จัดจำหน่ายโดย ปิควิกมิวสิก.

ค.ศ. 1950

ระเบียบ[แก้]

ข้อบังคับและธรรมเนียมปฏิบัติ[แก้]

การบรรเลง และ ขับร้องเพลงชาติ ในฉบับพิธีการ หรือ ฉบับสังเขป จะกระทำในงานพิธีการ ในส่วนของสถานีวิทยุ และ โทรทัศน์ การบรรเลงเพลงชาติการะทำในช่วงเปิด-ปิดสถานี และ ช่วงที่มีการถ่ายทอดสดงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธีที่ทางรัฐบาลจัด (พิธีในทางศาสนจักร และ พิธีการทางทหาร) ประกอบกับการเชิญธงในริ้วขบวนยาลูร์ เกมิลังในงานพิธี.

ตามความในมาตรา 8 (1) ของพระราชบัญญัติว่าด้วยเพลงชาติ ค.ศ. 1968[2] ผู้ใดไม่เคารพธงชาติ เพลงชาติ แสดงอาการดูหมิ่น เหยียดหยามต่อสัญลักษณ์ของชาติ. หรือ การกระทำในที่สาธารณะ ต้องระวังโทษปรับไม่เกิน 100 ริงกิต หรือ จำคุกตามเจตนาของการกระทำดังกล่าว.

การบรรเลง[แก้]

การบรรเลง และ ขับร้องเพลงชาติ มีทั้งฉบับพิธีการ และ ฉบับสังเขป ในงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธีที่เป็นทางการ หรือ กึ่งทางการในตำแหน่งชั้นยศต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติ.

ฉบับพิธีการ[แก้]

การขับร้องและ บรรเลงเพลงชาติฉบับพิธีการ จะกระทำได้ในกรณี:

  • ยังดี เปอร์ตวน อากง และ รายา ประไหมสุหรี อากง (พระราชบัญญัติธรรมเนียมทางทหาร ค.ศ.1957) ประกอบการชักธงพระอิสริยยศขึ้นสู่ยอดเสา;
  • เสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธีที่รัฐบาลจัด; (การถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุ และ โทรทัศน์)
  • ช่วงเวลาเปิด-ปิดสถานีวิทยุและโทรทัศน์
  • ริ้วขบวนธงยาลูร์ เกมิลังประกอบขบวนเดินสวนสนาม;
  • การเชิญธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหาร และ โรงเรียน สถานศึกษา หรือ วิทยาลัยทหาร มีการร้องเพลงชาติประกอบการเชิญธงชาติ ธงเรือแสดงสัญชาติ ธงทหารขึ้นสู่ยอดเสา ของช่วงพิธีหน้าเสาธง.
  • การแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติที่มาเลเซียลงแข่งขัน (ก่อนการแข่งขัน หรือ พิธีมอบเหรียญรางวัล).
โอกาสพิเศษ[แก้]

การขับร้องและ บรรเลงเพลงชาติในโอกาศสำคัญ จะใช้งานพิธีต้อนรับประมุขแห่งรัฐต่างประเทศที่มาเยือน หรือ การต้อนรับเอกอัคราชทูตของมาเลเซียประจำประเทศต่าง ๆ.

ฉบับสังเขป[แก้]

เพลงชาติฉบับสังเขป บรรเลงสำหรับ รายา ประไหมสุหรี อากง, สมเด็จพระบรมราชกุมารี และ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในกรณีที่เป็นการคำนับสุลต่านในแต่ละรัฐ. มีการบรรเลงเพลงประจำรัฐต่อท้ายเพลงชาติฉบับสังเขป.

เพลงชาติฉบับสังเขป บรรเลงในงานพิธีกึ่งทางการที่สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จในบางโอกาส.

ฉบับย่อ[แก้]

เพลงชาติฉบับย่อ บรรเลงในงานพิธีไม่เป็นทางการที่สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ ในบางโอกาสมีการบรรเลงเพลงประจำรัฐต่อท้าย.

เนื้อร้อง[แก้]

ภาษามลายู อักษรรูมี ภาษามลายู อักษรยาวี ถอดเสียงเป็นอักษรไทย คำแปล

Negaraku
Tanah Tumpahnya Darah ku
Rakyat Hidup, Bersatu dan Maju
Rahmat Bahagia, Tuhan Kurniakan
Raja Kita, Selamat Bertakhta
Rahmat Bahagia, Tuhan Kurniakan
Raja Kita, Selamat Bertakhta

،نڬاراكو،
تانه تومڤهڽ دارهكو
رعيت هيدوڤ، برساتو دان ماجو
رحمة بهاڬيا، توهن كورنياكن
راج كيت، سلامت برتختا
رحمة بهاڬيا، توهن كورنياكن
راج كيت، سلامت برتختا

เนอการากู
ตานะห์ ตุมปะห์ญา ดาระห์กู
รักยัต ฮีดุป เบอร์ซาตู ดัน มาจู
ระห์มัต บาฮากียา ตูฮัน กูร์นียากัน
ราจา กีตา เซอลามัต เบร์ตัคตา
ระห์มัต บาฮากียา ตูฮัน กูร์นียากัน
ราจา กีตา เซอลามัต เบอร์ตัคตา

แผ่นดินของข้า
คือผืนดินถิ่นเกิด
ผองประชาพำนัก
ด้วยรักสามัคคี ก้าวหน้า
จงประสพสุขล้วน ขอพระเจ้าทรงอำนวยพร
ขอองค์ราชา ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม
จงประสพสุขล้วน ขอพระเจ้าทรงอำนวยพร
ขอองค์ราชา ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม

สื่อ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Unity and progress are anthem themes. The Sunday Times. August 25, 1957
  2. s 3 National Anthem Act 1968 เก็บถาวร 2013-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]