เง็กเซียนฮ่องเต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เง็กเซียนฮ่องเต้
เง็กเซียนฮ่องเต้ในภาพของสมัยราชวงศ์หมิง ศตวรรษที่ 16
ภาษาจีน玉皇
ความหมายตามตัวอักษรJade Emperor
ภาษาจีน天公
ความหมายตามตัวอักษรHeavenly Grandfather
ภาษาจีน玉皇大帝
ความหมายตามตัวอักษรAugust Emperor of Jade

เง็กเซียนฮ่องเต้ เป็นเทพเจ้าสูงสุดของจีน

เทวรูปและรูปวาดขององค์เง็กเซียนฮ่องเต้จะทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับจักรพรรดิจีน คือมีพระมาลา ด้านหน้ามีเส้นร้อยไข่มุกเป็นแถวห้อยลงมาหน้าพระพักตร์ พระหัตถ์ทรงพระป้ายซือฮุดหน้าพระอุระ ด้านหลังมีพนักงานสองคนคอยโบกพัด ด้านหน้ามีองครักษ์สององค์ทั้งฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋น พระองค์ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าสูงสุดตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

คำว่า เง็กเซียนฮ่องเต้ คนไทยเรียกกันเกิดจากการผสมภาษาจีนระหว่าง 2 สำเนียง คือ ฮกเกี้ยนกับแต่จิ๋ว คือ เง็ก (แต้จิ๋ว) เซียน (ฮกเกี้ยน) ฮ่องเต้ (ฮกเกี้ยน) ชื่อ "เง็กเซียนฮ่องเต้" นี้เป็นการเรียกแบบไทย ชาวจีนโดยส่วนมากเรียก อวี่หวงต้าตี้ (ตัวเต็ม: 玉皇大帝, ตัวย่อ: 玉皇大帝, พินอิน: Yù huáng dà dì , ฮกเกี้ยน: หยกฮ่องไต่เต่,สำเนียงแต้จิ๋ว:เง็กอ้วงไต่ตี่ ) หรือ อวี่หวงซ่างตี้ (ตัวเต็ม: 玉皇上帝, ตัวย่อ: 玉皇上帝, พินอิน: Yù huáng sháng dì , ฮกเกี้ยน: หยกอ๋องส่องเต่,สำเนียงแต้จิ๋ว:เง็กฮ่วงเสี่ยงตี่ ) แปลว่า จักรพรรดิหยก หรือ ทีกง หรือ เทียนกง 天公 แปลว่า ปู่สวรรค์ หรือปู่ฟ้า ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวฮกเกี้ยน ชาวแต้จิ๋ว และชาวไต้หวันเรียกแบบใกล้ชิดเสมอญาติ

เง็กเซียนกับวัฒนธรรมชาวจีน[แก้]

ชาวจีนมีความเชื่อว่าทีกงคือผู้ดลบันดาลทุกอย่างที่มีบนโลก ทั้งธรรมชาติ ดวงชะตา และความเป็นไปของมนุษย์ ดั้งนั้นทีกงจึงมีผลต่อวิถีของชาวจีน ตามศาลเจ้าหรือวัดจีนทั่วโลก ก่อนที่จะทำการบูชาเทพเจ้าองค์อื่นต้องบูชาทีกงเป็นอย่างแรกเพื่อเป็นการให้เกียรติ โดยตามศาลเจ้าจีนส่วนมากจะตั้งกระถางธูปของทีกงไว้ตรงหน้าของศาล โดยตรงกระถางธูปหรือป้ายบูชาทีกงของคนจีนแต่ละกลุ่มภาษาจะสลักตัวอักษรแตกต่างออกไป ศาลเจ้าของชาวฮกเกี้ยนและชาวกวางตุ้ง จะสลักคำว่า 天官賜福 เทียนก๊วนซูฮก ศาลเจ้าของชาวแต้จิ๋วและไหหลำ จะสลักคำว่า 天地父母 ทีตี่แป้บ้อ

ในทุกปีหลังวันตรุษจีนไปแล้ว 8 วัน ชาวจีนฮกเกี้ยนทั่วโลกจะมีพิธีทีกง เรียกกันว่า ป่ายเทียนกง (拜天公) เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของเง็กเซียนฮ่องเต้และเป็นวันประสูติของพระองค์ และมีความเชื่อว่าเมื่อสมัยราชวงค์หมิงชาวจีนฮกเกี้ยนทุกรุกรานจากญี่ปุ่นจึงพากันหนีไปหลบกันในดงอ้อย เมื่อญี่ปุ่นยกทัพกลับไปจึงได้พากันออกมา วันนั้นเป็นวันที่ 9 คำ เดือน 1 (จีน) พอดีซึ่งตรงกับวันป่ายทีกง ชาวจีนฮกเกี้ยนจึงเชื่อว่าที่พวกตนรอดจากการรุกรานของญี่ปุ่นเป็นเพราะทีกงช่วยเอาไว้ จึงได้จัดการป่ายทีกงในวันประสูติของเง็กเซียนฮ่องเต้ในทุก ๆ ปี เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณ และ ได้นำต้นอ้อยมาร่วมในบูชาด้วย และอ้อยในภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียกว่า ก้ามเจี่ย (甘蔗) ซึ่งไปพ้องเสียงกับคำว่า กัมเสี่ย(感謝)ซึ่งแปลว่า ขอบคุณ

ยี่หนึงจินกุน หลานของเง็กเซียน เป็นตัวละครในเรื่องไซอิ๋ว ท่านเป็นผู้เดียวที่สามารถปราบซุนหงอคงแล้วเอาตัวมาลงโทษบนสวรรค์ได้ แต่อย่างไรก็ตามซุนหงอคงมีฤทธิ์มากเมื่อนำตัวขึ้นสวรรค์ไปประหารก็ไม่ตาย ทางสวรรค์จึงขออาศัยบารมีพระพุทธเจ้า (พระยูไล) พระพุทธเจ้าจึงจับตัวหงอคงไปขังไว้ใต้ภูเขาเป็นเวลานานถึง 500 ปี รอจนผู้มีบุญมาช่วย ซึ่งผู้มีบุญนั้นคือพระแม่กวนอิมและพระเสวียนจั้ง และทำให้หงอคงกลับตัวกลับใจจนเข้าร่วมอัญเชิญพระไตรปิฎกอีกด้วย ยี่หนึงจินกุนมีพี่น้อง 7 คน

เง็กเซียนฮ่องเต้แต่ละสมัย[แก้]

ชาวจีนบางกลุ่มเชื่อว่าเง็กเซียนฮ่องเต้ เป็นตำแหน่งสืบทอดที่มีวาระ โดยเง็กเซียนฮ่องเต้องค์ปัจจุบันเป็นองค์ที่ 18 คือ เทพเจ้ากวนอู[1] ทั้ง 18 องค์มีลำดับดังนี้

  1. หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเอี่ยนโกส่งเต่ พระนามว่า อึ้งเหล่า 玉皇大天尊 玄玄高上帝(黃老)
  2. หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนหงวนโกส่งเต่ พระนามว่า จีมุ้ยเต้กุน 玉皇大天尊 玄元高上帝(紫微帝君)
  3. หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเบ๋งโกส่งเต่ พระนามว่า ไต้ฮ้วงก่าฮ่วยเสี่ยจู้ 玉皇大天尊 玄明高上帝(大寰教化聖主)
  4. หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเต็งโกส่งเต่ พระนามว่า ฮ้งกึงเหล่าโจ้ว 玉皇大天尊 玄徵高上帝(鴻鈞老祖)
  5. หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนห่องโกส่งเต่ พระนามว่า แชฮ่วยเต้กุน 玉皇大天尊 玄寰高上帝(星化帝君)
  6. หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนกินโกส่งเต่ พระนามว่า คี่ง้วนเทียนจุน 玉皇大天尊 玄巾高上帝 (氣原天尊)
  7. หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอียนลี้โกส่งเต่ พระนามว่า ก่องฮั้วเซ่งจู้ 玉皇大天尊 玄理高上帝(光華聖主)
  8. หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเทียนโกส่งเต่ พระนามว่า ไต่ล้อจ้อซู 玉皇大天尊 玄天高上帝(大羅祖師)
  9. หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนอุ๊นโกส่งเต้ พระนามว่า เจียงอิดเทียนซู 玉皇大天尊 玄運高上帝(精一天師)
  10. หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนหัวโกส่งเต่ พระนามว่า เอี่ยงเอี๋ยงจ้อซู 玉皇大天尊 玄化高上帝(延衍祖師)
  11. หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนอิมโกส่งเต่ พระนามว่า ปักฮั้วเต้กุน 玉皇大天尊 玄陰高上帝(北華帝君)
  12. หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเอี๊ยงโกส่งเต่ พระนามว่า กงโต่วจินอ๋อง 玉皇大天尊 玄陽高上帝(廣度真王)
  13. หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเจี่ยโกส่งเต่ พระนามว่า โต่วหัวเทียนจุน 玉皇大天尊 玄正高上帝(度化天尊)
  14. หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนขี่เกาส่งเต่ พระนามว่า ฮกม้อเซ่จ้อ 玉皇大天尊 玄炁高上帝(伏魔世祖)
  15. หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนจุ้นโกส่งเต่ พระนามว่า หิ้นยู้เทียนจุน 玉皇大天尊 玄震高上帝(興儒天尊)
  16. หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเชียงโกาส่งเต่ พระนามว่า กิ่วเซ่เทียนอ๋อง 玉皇大天尊 玄蒼高上帝(救世天王)
  17. หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเกวียงโกส่งเต่ พระนามว่า เมี้ยหลกก๊กอ๋อง (บางตำราเชื่อว่าเป็นพระบิดาของพระโพธิสัตว์กวนอิม) 玉皇大天尊玄穹高上帝(妙樂國王)
  18. หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเหลียงโกส่งเต่ พระนามว่า กวนเซ่งเต้กุน 玉皇大天尊玄靈高上帝(關聖帝君)

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  • นัทชา ประพัฒน์พรกุล. ไซอิ๋ว ตอน หงอคงบุกแดนสวรรค์. กรุงเทพ: ธัชกนิษฐ์, 2548.