รายชื่อเครื่องบินพระที่นั่งในพระบรมวงศานุวงศ์ไทย
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก เครื่องบินพระราชพาหนะ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)
นี่คือรายชื่อเครื่องบินพระที่นั่งใน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์
เครื่องบินพระที่นั่งในปัจจุบัน
[แก้]ผู้ผลิต | รุ่น | สังกัด | หมายเลข | ชื่อเครื่องบิน | เข้าประจำการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
แอร์บัส | A320-200 CJ | กองทัพอากาศไทย ฝูงบิน 602 รอ. |
60203 / HS-TYT | พ.ศ. 2558 | เป็นเครื่องบินพระที่นั่งสำรอง และเครื่องบินวีไอพี สำหรับนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และผู้บัญชาการเหล่าทัพ รวมถึงภารกิจเร่งด่วน อพยพคนไทย, ภารกิจมนุษยธรรม โดยผูกพันงบประมาณปี 2556 - 2558 เป็นเครื่องแบบ 75 ที่นั่ง มี 2 เครื่องยนต์ บินนานสุด 7 ชั่วโมงหรือระยะทางประมาณ 5,900 กิโลเมตร | |
โบอิง | 737-8Z6 BBJ | หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ หน่วยบินเดโชชัย 3 |
90411 / HS-MVS (เดิม 55-555 / HS-TYS) | พ.ศ. 2550 | เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 11ค (บ.ล.11ค) จัดซื้อโดยงบประมาณของกองทัพอากาศ เริ่มทดสอบการบินเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 เดิมใช้หมายเลข 88-888 มีรหัสเรียกขานว่า "วิหกตองแปด" ต่อมาได้เปลี่ยนไปใช้หมายเลข 55-555 แทนเครื่องพระที่นั่ง 737-4Z6 ลำเดิม จึงมีรหัสเรียกขานว่า "วิหกตองห้า" ใช้เป็นเครื่องบินพระที่นั่งหลัก ปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้ทะเบียน HS-MVS และใช้หมายเลข 90411 | |
แอร์บัส | A319-115X CJ | กองทัพอากาศไทย ฝูงบิน 602 รอ. |
HS-TYR | พ.ศ. 2549 | เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 15 (บ.ล.15) จัดซื้อโดยการนำเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ยูโรคอปเตอร์ ซูเปอร์พูม่า AS-332L2 Mk-II จำนวน 2 ลำ ที่ถูกปลดประจำการจากเหตุเฮลิคอปเตอร์ซูเปอร์พูม่าตกที่จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2540ไปแลกซื้อ เริ่มประจำการในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2547 ในชื่อ "ไทยคู่ฟ้า" หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้ย้ายไปประจำการฝูงบิน 602 รอ. ทาสีใหม่ และใช้เป็นเครื่องบินพระที่นั่งสำรอง ปัจจุบันใช้หมายเลข 60202 | |
โบอิง | 737-2Z6 | กองทัพอากาศไทย ฝูงบิน 602 รอ. |
60201 | พ.ศ. 2527 | เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 11 (บ.ล.11) จัดซื้อโดยงบประมาณของกองทัพอากาศ สมเด็จพระนางเจ้าฯ เสด็จทรงเจิมเครื่องบินลำนี้เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2527 เดิมใช้หมายเลข 22-222 มีรหัสเรียกขานว่า "วิหกตองสอง" ปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้หมายเลข 60201 ใช้เป็นเครื่องบินพระที่นั่งสำรอง | |
โบอิง | 737-4Z6 | หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ หน่วยบินเดโชชัย 3 |
90401 / HS-CMV | ฑีปังกรรัศมีโชติ | พ.ศ. 2538 | เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 11ข (บ.ล.11ข) จัดซื้อโดยงบประมาณของกองทัพอากาศ แทนเครื่องบินพระที่นั่ง 737-3Z6 หมายเลข 33-333 ที่ประสบอุบัติเหตุตกที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 38 เครื่องบินลำนี้เดิมใช้หมายเลข 55-555 สังกัดฝูงบิน 602 รอ. มีรหัสเรียกขานว่า "วิหกตองห้า" ปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้หมายเลข 11-111 ย้ายไปสังกัดฝูงบิน 904 หน่วยบินเดโชชัย 3 ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ใช้ในภารกิจการเสด็จต่างประเทศทั้งเป็นทางการและส่วนพระองค์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ศาลเยอรมนีสั่งอายัดเครื่องบินลำดังกล่าว เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยจ่ายเงินชดเชยกรณีทางด่วนยกระดับสนามบินดอนเมือง เป็นเงินราว 30 ล้านยูโร[1] |
โบอิง | 737-448 | หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ หน่วยบินเดโชชัย 3 |
90409 / HS-HRH | ทิพย์อาภา | พ.ศ. 2537 | เครื่องบินพระที่นั่งหมายเลข 99-999 เครื่องบินลำนี้เดิมใช้หมายเลข 99-904 |
เบลล์ | 412 HP/SP | กองทัพอากาศไทย ฝูงบิน 201 รอ. |
พ.ศ. 2534 | เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 6ค (ฮ.6ค) จัดซื้อโดยงบประมาณของกองทัพอากาศ ถวายเป็นเครื่องบินพระที่นั่ง จำนวน 3 เครื่อง ทาสีขาว ท้องเครื่องและแพนหางคาดสีฟ้า สีน้ำเงิน และสีทอง | ||
เบลล์ | 412 EP | กองทัพอากาศไทย ฝูงบิน 201 รอ. |
94301 / HS-CPV [2] | พ.ศ. 2547 | เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 6ง (ฮ.6ง) จัดซื้อโดยงบประมาณของกองทัพอากาศ ถวายเป็นเครื่องบินพระที่นั่งสำรอง และตามขบวนเสด็จ จำนวน 3 เครื่อง แทนเครื่องบินพระที่นั่งซูเปอร์พูม่า ที่ประสบอุบัติเหตุตกเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2540 | |
ยูโรคอปเตอร์ | EC 155 B1 | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบินตำรวจ |
2901 2902 |
พ.ศ. 2549 | เฮลิคอปเตอร์รับรองบุคคลสำคัญ จัดซื้อโดยงบประมาณของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 2 ลำ หมายเลข 2901 และ 2902 เครื่องสีขาว คาดแถบสีเลือดหมู[3] | |
คิงแอร์ | Kingair 200 | กรมแผนที่ทหาร | 93305 | มิ่งนภา | พ.ศ. 2536 | เป็นเครื่องบินที่จัดซื้อโดยงบประมาณของกรมแผนที่ทหาร ในปี พ.ศ. 2536 เพื่อใช้ในภารกิจถ่ายภาพทางอากาศจำนวน 3 ลำ โดยลำหมายเลข 93305 ใช้เป็นเครื่องทรงงานของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับพระราชทานนามว่า "มิ่งนภา" |
ซิคอร์สกี | S-92 | กองทัพอากาศไทย | พ.ศ. 2553 | เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งแบบใหม่ จัดซื้อโดยงบประมาณของกองทัพอากาศ จำนวน 3 เครื่อง มีกำหนดส่งมอบในปี พ.ศ. 2553[4][5] | ||
แอร์บัส | A340-500 | กองทัพอากาศไทย ฝูงบิน 602 รอ. |
60204 / HS-TYV | พ.ศ. 2559 | เครื่องบินพระที่นั่งสำรอง และเครื่องบินวีไอพีสำหรับบุคคลสำคัญของรัฐบาล | |
โบอิง | 737-8Z6 BBJ2 | หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ หน่วยบินเดโชชัย 3 |
90410 / HS-HMK (เดิม HS-TYU) | พ.ศ. 2560 |
เครื่องบินพระที่นั่งในอดีต
[แก้]ผู้ผลิต | รุ่น | สังกัด | หมายเลข | ชื่อเครื่องบิน | เข้าประจำการ | ปลดประจำการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
แมคดอนเนลล์ ดักลาส | C-47 Skytrain | กองทัพอากาศอังกฤษ | เครื่องบินทหารของรัฐบาลอังกฤษ ที่จัดถวายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ใช้เสด็จนิวัติพระนคร เมื่อ พ.ศ. 2488 เสด็จออกจากเจนีวาในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 ใช้เวลา 6 วันจึงเดินทางถึงสนามบินดอนเมือง ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 เวลา 11.00 น. ระหว่างทางทรงแวะประทับค้างคืนที่ลิเบีย และกัลกัตตา อินเดีย[6] เครื่องบินลำนี้เดิมเป็นเครื่องบินประจำตำแหน่งของเซอร์วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรใช้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 | ||||
แมคดอนเนลล์ ดักลาส | C-47 Skytrain | กองทัพอากาศไทย | 100536 | เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 2 (บ.ล.2) เครื่องบินลำนี้เดิมเป็นเครื่องบินประจำตำแหน่งของนายพลหลุยส์ เมาท์แบตเตน ผู้บัญชาการทหารสัมพันธมิตรภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้น้อมเกล้าฯ ถวาย ใช้เป็นเครื่องบินพระที่นั่งลำแรกของไทย ปัจจุบันเครื่องบินลำนี้ปลดประจำการแล้ว เหลือเพียงส่วนหางจัดแสดงอยู่ที่ฝูงบิน 603 กองบิน 6 ดอนเมือง | |||
ดักลาส | C-54 Skymaster | กองทัพอากาศไทย | 14 เม.ย. 2503[7] | เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 3 (บ.ล.3) เครื่องบินลำนี้เดิมเป็นเครื่องบินโดยสารของบริษัท เดินอากาศไทย กองทัพอากาศไทยซื้อต่อมาเพื่อใช้เป็นพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จพระดำเนินเยือนต่างประเทศ ภายหลังได้ใช้ในภารกิจของพลอากาศโท เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร ผู้บัญชาการทหารอากาศและคณะ การประชุมกองทัพอากาศภาคพื้นแปซิฟิกที่ประเทศไต้หวัน และเกิดอุบัติเหตุชนภูเขา ใกล้กับสนามบินไทเป | |||
แฟร์ไชลด์ ฮิลเลอร์ | C-123B Provider | กองทัพอากาศไทย | 0-40571 | พ.ศ. 2516 | เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 4 (บ.ล.4) เครื่องบิน C-123B 2ใบพัดนี้กองทัพอากาศไทยได้รับความช่วยเหลือทางการทหารจากสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวน 22 ลำ และได้น้อมเกล้าฯ ถวาย ใช้เป็นเครื่องบินพระที่นั่ง ในปี พ.ศ. 2516 | ||
แฟร์ไชลด์ ฮิลเลอร์ | C-123K Provider | กองทัพอากาศไทย | 55-569 | พ.ศ. 2519 | เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 4ก (บ.ล.4ก) เครื่องบิน C-123K เป็นเครื่องบิน 2ใบพัด และติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่นที่ใต้ปีก กองทัพอากาศไทยได้รับความช่วยเหลือทางการทหารจากสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวน 24 ลำ ได้น้อมเกล้าฯ ถวาย ใช้เป็นเครื่องบินพระที่นั่ง ในปี พ.ศ. 2519 | ||
แอฟโร | Avro 748 | กองทัพอากาศไทย | 11-111 | 21 ธ.ค. 2507 | เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 5 (บ.ล.5) เครื่องบินลำนี้เป็นเครื่องบินรุ่นเดียวกับที่บริษัทเดินอากาศไทยใช้งาน โดยได้รับการตกแต่งเป็นพิเศษ กองทัพอากาศไทยได้จัดซื้อมาจากประเทศอังกฤษ และน้อมเกล้าฯ ถวาย ใช้เป็นเครื่องบินพระที่นั่ง ปัจจุบันได้ลดระดับใช้เป็นเครื่องบินรับส่งบุคคลสำคัญ เครื่องบินลำนี้ได้รับมอบจากผู้ผลิตเมื่อ 21 ธ.ค. 2507 และเดินทางถึงประเทศไทยเมื่อ 20 ม.ค. 2508 | ||
แอฟโร | Avro 748 | กองทัพอากาศไทย | 99-999 | พ.ศ. 2518 | เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 5 (บ.ล.5) เครื่องบินลำนี้กองทัพอากาศไทยได้จัดซื้อเพิ่มเติมจากประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2516 และน้อมเกล้าฯ ถวาย ใช้เป็นเครื่องบินพระที่นั่ง ปัจจุบันได้ลดระดับใช้เป็นเครื่องบินรับส่งบุคคลสำคัญ | ||
แฟร์ไชลด์ | Merlin IVA | กองทัพอากาศไทย | 21-111 | พ.ศ. 2521 | 6 พ.ย. 2521 | เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 6 (บ.ล.6) เครื่องบินลำนี้กองทัพอากาศไทยได้จัดซื้อมาจากสหรัฐอเมริกา จำนวน 2 ลำ เมื่อ พ.ศ. 2521 และน้อมเกล้าฯ ถวายใช้เป็นเครื่องบินพระที่นั่ง ประสบอุบัติเหตุขณะฝึกบินที่สนามบินสกลนคร เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521[8] | |
แฟร์ไชลด์ | Merlin IVA | กองทัพอากาศไทย | 29-999 | พ.ศ. 2521 | 20 ก.ย. 2525 | เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 6 (บ.ล.6) เครื่องบินลำนี้กองทัพอากาศไทยได้จัดซื้อมาจากสหรัฐอเมริกา จำนวน 2 ลำ เมื่อ พ.ศ. 2521 และน้อมเกล้าฯ ถวายใช้เป็นเครื่องบินพระที่นั่ง ประสบอุบัติเหตุขณะฝึกบินที่สนามบินหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2525[9] | |
โบอิง | 737-3Z6 | กองทัพอากาศไทย | 33-333 | 30 มี.ค. 2536 | เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 11ก (บ.ล.11ก) เครื่องบินลำนี้กองทัพอากาศไทยจัดถวายเป็นเครื่องบินพระที่นั่ง หมายเลข 33-333 มีรหัสเรียกขาน "วิหกตองสาม" ประสบอุบัติเหตุตกขณะทำการบินทดสอบระบบ Stabilizer Trim Electric ที่ขัดข้อง ที่บ้านหนองกุง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2536[10] | ||
ซิคอร์สกี | H-19 หรือ S-55 | กองทัพอากาศไทย | 4 | เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 3 (ฮ.3) เป็นเฮลิคอปเตอร์ที่กองทัพอากาศจัดถวายเป็นเครื่องบินพระที่นั่ง ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภาคอีสานเป็นครั้งแรก เมื่อ ? โดยเสด็จจากจังหวัดขอนแก่นไปภูกระดึง จังหวัดเลย และจังหวัดอุดรธานี | |||
ซิคอร์สกี | H-34 หรือ S-58 | กองทัพอากาศไทย | เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 4 (ฮ.4) เป็นเฮลิคอปเตอร์ที่ได้รับความช่วยเหลือทางการทหารจากสหรัฐอเมริกา จำนวน 65 ลำ กองทัพอากาศจัดถวายเป็นเครื่องบินพระที่นั่ง ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภาคอีสาน โดยกองทัพอากาศจัดถวายจำนวน 2 ลำ ที่กองบิน 6 ดอนเมือง และ กองบิน 3 นครราชสีมา | ||||
เบลล์ | UH-1 H | กองทัพอากาศไทย ฝูงบิน 32 กองบิน 3 โคราช |
พ.ศ. 2510 | พ.ศ. 2519 | เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 6 (ฮ.6) เป็นเฮลิคอปเตอร์ที่ได้รับความช่วยเหลือทางการทหารจากสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2510 กองทัพอากาศจัดถวายเป็นเครื่องบินพระที่นั่ง จำนวน 2 ลำ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภาคอีสาน จนถึง พ.ศ. 2519 กองทัพอากาศได้จัดถวายเครื่อง UH-1 N จำนวน 2 ลำ มาใช้งานแทน เฮลิคอปเตอร์ 2 ลำนี้จึงลดระดับมาใช้รับส่งบุคคลสำคัญ | ||
เบลล์ | UH-1 N | กองทัพอากาศไทย | พ.ศ. 2519 | พ.ศ. 2525 | เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 6ก (ฮ.6ก) เป็นเฮลิคอปเตอร์แบบสองเครื่องยนต์ กองทัพอากาศจัดถวายเป็นเครื่องบินพระที่นั่ง จำนวน 2 ลำ ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 ต่อมากองทัพอากาศได้จัดถวายเครื่อง Bell 412 มาใช้งานแทน เฮลิคอปเตอร์ 2 ลำนี้จึงลดระดับมาใช้รับส่งบุคคลสำคัญ | ||
เบลล์ | Bell 212 (UH-1N สำหรับพลเรือน) | กองทัพบกไทย | HS-RCF / 35064 | พ.ศ. 2547 | 13 ธ.ค. 2550 | เฮลิคอปเตอร์แบบสองเครื่องยนต์ กองทัพบกซื้อมาใช้งานรับส่งบุคคลสำคัญจำนวน 3 ลำตั้งแต่ พ.ศ. 2537 และถวายเป็นเครื่องบินพระที่นั่งในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ทรงใช้งานเป็นเวลาประมาณ 2 ปี และขายให้ประเทศแคนาดาไปเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2550[2] เปลี่ยนหมายเลขเป็น C-FTMT ปัจจุบันเปลี่ยนเจ้าของ และใช้หมายเลข C-FTMT[11] | |
เบลล์ | Bell 212 | กองทัพบกไทย | HS-RCH / 31300 | พ.ศ. 2547 | 13 ธ.ค. 2550 | กองทัพบกซื้อมาตั้งแต่ พ.ศ. 2537 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงใช้งานตั้งแต่ พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2550 และขายให้ประเทศแคนาดา เปลี่ยนหมายเลขเป็น C-FUAA ปัจจุบันเปลี่ยนเจ้าของ และใช้หมายเลข VH-JJK | |
เบลล์ | Bell 212 | กองทัพบกไทย | HS-RFD / 31280 | พ.ศ. 2547 | 13 ธ.ค. 2550 | กองทัพบกซื้อมาตั้งแต่ พ.ศ. 2537 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงใช้งานตั้งแต่ พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2550 และขายให้ประเทศแคนาดา เปลี่ยนหมายเลขเป็น C-FTZW ปัจจุบันเปลี่ยนเจ้าของ และใช้หมายเลข VH-JJR | |
เบลล์ | 412 | กองทัพอากาศไทย | พ.ศ. 2525 | พ.ศ. 2534 | เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 6ข (ฮ.6ข) กองทัพอากาศจัดถวายเป็นเครื่องบินพระที่นั่ง จำนวน 2 ลำ ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 ต่อมากองทัพอากาศได้จัดถวายเครื่อง Bell 412 HP/SP มาใช้งานแทน เฮลิคอปเตอร์ 2 ลำนี้จึงลดระดับใช้เป็นเฮลิคอปเตอร์ติดตามขบวนเสด็จ | ||
ยูโรคอปเตอร์ | ซูเปอร์พูม่า AS-332L2 Mk-II | กองทัพอากาศไทย | พ.ศ. 2539 | พ.ศ. 2547 | เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 9 (ฮ.9) กองทัพอากาศจัดถวายเป็นเครื่องบินพระที่นั่ง จำนวน 3 ลำ ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 แต่เกิดอุบัติเหตุตกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2540[10] จึงไม่ได้ใช้งานอีก ต่อมาสำนักนายกรัฐมนตรีได้นำเครื่องที่เหลือ 2 เครื่อง ไปแลกซื้อเครื่องแอร์บัส A319-115X CJ "ไทยคู่ฟ้า" (ดูเพิ่ม - เฮลิคอปเตอร์ซูเปอร์พูม่า ตกที่จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2540) | ||
คาวาซากิ | KV-107 IIA | กองทัพบกไทย | เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ 107 (ฮ.ท.107) เป็นเฮลิคอปเตอร์แบบสองใบพัดที่รัฐบาลไทยจัดหาโดยใช้งบประมาณของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถวายเป็นเครื่องบินพระที่นั่ง จำนวน 3 ลำ ใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชน และหน่วยทหารที่อยู่ห่างไกล โดยอยู่ในความดูแลของกองทัพบก เครื่องบินรุ่นนี้เป็นรุ่นพิเศษที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น โดยพัฒนามาจากเครื่อง CH-46 Sea Knight ของโบอิง | ||||
คาวาซากิ | KV-107 IIIA | กองทัพบกไทย | เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ 107 (ฮ.ท.107) เป็นเฮลิคอปเตอร์แบบสองใบพัด ผลิตในประเทศญี่ปุ่น โดยพัฒนามาจาก KV-107 IIA รัฐบาลไทยจัดหาโดยใช้งบประมาณของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ถวายเป็นเครื่องบินพระที่นั่งเพิ่มเติมจำนวน 1 ลำ จากเดิม KV-107 IIA ที่มีอยู่ 3 ลำ ใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินในพื้นที่อยู่ห่างไกล โดยอยู่ในความดูแลของกองทัพบก | ||||
โบอิง | CH-47 D ชินุค รุ่น VIP | กองทัพบกไทย | เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ 47 (ฮ.ท.47) เป็นเฮลิคอปเตอร์แบบสองใบพัด ที่จัดซื้อโดยใช้งบประมาณของกองทัพบก จำนวน 8 เครื่อง โดยเครื่องหนึ่งเป็นรุ่น VIP ถวายเป็นเครื่องบินพระที่นั่ง ส่วนรุ่นทั่วไปนำมาใช้บรรทุกรถบรรทุก รถถัง หรือปืนใหญ่ และใช้ในภารกิจบรรเทาสาธารณภัย ดับไฟป่า ฯลฯ | ||||
แอร์บัส | A310-324 | กองทัพอากาศไทย ฝูงบิน 602 รอ. |
60202 / HS-TYQ | พ.ศ. 2534 | 31 มี.ค. 2559 | เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 13 (บ.ล.13) จัดซื้อโดยงบประมาณของกองทัพอากาศ เมื่อ พ.ศ. 2534 เดิมใช้หมายเลข 44-444 มีรหัสเรียกขานว่า "วิหกตองสี่" ภายหลังเปลี่ยนไปใช้หมายเลข 60201 เคยใช้เป็นเครื่องบินพระที่นั่งสำรอง |
อ้างอิง
[แก้]- รัชต์ รัตนวิจารณ์, พ.อ.อ., พลานุภาพอากาศยานไทย, สำนักพิมพ์อนิเมทกรุ๊ป, 2550, 224 หน้า, ISBN 974-94583-6-2
- เครื่องบินพระที่นั่งลำใหม่ถึงไทยแล้ว เก็บถาวร 2008-02-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ อายัด ‘โบอิ้ง 737’ ที่มิวนิก อ้างทวงหนี้ดอนเมืองโทลล์เวย์.
- ↑ 2.0 2.1 The Crown Prince's Helicopter from Flickr
- ↑ http://www.thaiflight.com/mach/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=20497[ลิงก์เสีย]
- ↑ Royal Thai Air Force Purchases Three VIP S-92 Helicopters
- ↑ เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งใหม่ Sikorsky S-92 Skyman's Military Blog
- ↑ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์. เจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์. กรุงเทพ : ซิลค์เวอร์ม บุคส์, พิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2549. 450 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-7047-55-1
- ↑ planecrashinfo
- ↑ "THAI AIR ACCIDENTS (1970 to 1979)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-17. สืบค้นเมื่อ 2007-12-18.
- ↑ "THAI AIR ACCIDENTS (1980 to 1989)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-18. สืบค้นเมื่อ 2007-12-18.
- ↑ 10.0 10.1 "THAI AIR ACCIDENTS (1990 to 1999)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-24. สืบค้นเมื่อ 2007-12-18.
- ↑ Complete Civil Rotorcraft Register of Thailand[ลิงก์เสีย]