เก้งอินโดจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เก้งอินโดจีน
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มีข้อมูล  (IUCN 3.1)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Cervidae
วงศ์ย่อย: Muntiacinae
สกุล: Muntiacus
สปีชีส์: M.  rooseveltorum
ชื่อทวินาม
Muntiacus rooseveltorum
(Osgood, 1932)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของเก้งอินโดจีน
ชื่อพ้อง
  • Muntiacus feae rooseveltorum

เก้งอินโดจีน หรือ เก้งโรสเวลต์ (อังกฤษ: Roosevelt's muntjac) เป็นเก้งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muntiacus rooseveltorum

เป็นเก้งที่มีข้อมูลทางวิชาการน้อยมาก โดยถูกพบตัวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2475 ใกล้กับเมืองพงสาลี แขวงหลวงพระบาง ทางตอนเหนือของลาว และในปี พ.ศ. 2539 พบซากที่สันนิษฐานของเก้งที่เชื่อว่าน่าจะเป็นเก้งอินโดจีนอีกครั้ง ในแขวงเชียงขวาง

โดยสันนิษฐานว่า อาจกระจายพันธุ์อยู่ในป่าดิบเขา หรือพื้นที่ที่ราบสูงทางตะวันออกของแม่น้ำโขง และอาจมีการกระจายพันธุ์ในเวียดนามด้วย โดยมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับเก้งหม้อ (M. feae) ต่อมน้ำตามีขนาดเล็กคล้ายกับเก้งธรรมดา (M. muntjak) [2]โดยในบางข้อมูลจะจัดให้เป็นชนิดย่อยของเก้งหม้อด้วยซ้ำ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Timmins, R.J., Duckworth, J.W. & Long, B. (2008). Muntiacus rooseveltorum. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 5 April 2009. Database entry includes a brief justification of why this species is of data deficient.
  2. ชุติอร กาญวัฒนกิจ. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย, 2543. 256 หน้า. หน้า 113. ISBN 974-87081-5-2
  3. Rediscovery of Roosevelt's Barking Deer (Muntiacus rooseveltorum), George Amato, Mary G. Egan, George B. Schaller, Richard H. Baker, Howard C. Rosenbaum, William G. Robichaud, Rob DeSalle, Journal of Mammalogy, Vol. 80, No. 2 (May, 1999), หน้า 639-643