อ่าวเบงกอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อ่าวเบงกอล
แผนที่อ่าวเบงกอล
ที่ตั้งเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิกัด15°N 88°E / 15°N 88°E / 15; 88พิกัดภูมิศาสตร์: 15°N 88°E / 15°N 88°E / 15; 88
ชนิดอ่าว
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักมหาสมุทรอินเดีย
ประเทศในลุ่มน้ำบังกลาเทศ
อินเดีย
อินโดนีเซีย
พม่า
ศรีลังกา[1][2]
ช่วงยาวที่สุด2,090 กิโลเมตร (1,300 ไมล์)
ช่วงกว้างที่สุด1,610 กิโลเมตร (1,000 ไมล์)
พื้นที่พื้นน้ำ2,600,000 ตารางกิโลเมตร (1,000,000 ตารางไมล์)
ความลึกโดยเฉลี่ย2,600 เมตร (8,500 ฟุต)
ความลึกสูงสุด4,694 เมตร (15,400 ฟุต)

อ่าวเบงกอล (อังกฤษ: Bay of Bengal) เป็นอ่าวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมหาสมุทรอินเดีย มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมล้อมรอบด้วยประเทศอินเดียและศรีลังกาทางด้านตะวันตก บังกลาเทศและรัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดียทางด้านเหนือ (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ) และประเทศพม่า ภาคใต้ของประเทศไทย หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ทางด้านตะวันออก อาณาเขตด้านใต้แผ่ถึงเส้นเขตจินตนาการที่ลากจากดอนดราเฮดตอนใต้ของศรีลังกาไปถึงปลายด้านเหนือของเกาะสุมาตรา

อ่าวเบงกอลมีเนื้อที่ 2,172,000 กม² มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลมาลงทะเล เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำอิรวดี แม่น้ำโคทาวรี แม่น้ำมหานที แม่น้ำกฤษณา และแม่น้ำกาเวรี เมืองท่าสำคัญของอ่าวเบงกอล ได้แก่ กัททะลูร์ เจนไน กากีนาทะ มะจิลีปัตนัม วิศาขปัตนัม พาราทิพ โกลกาตา จิตตะกอง และย่างกุ้ง

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

ข้อพิพาทเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 10 (พ.ศ. 1444-1543) เป็นเหตุทำให้ต้องเรียกอ่าวเบงกอลว่า "ทะเลสาบโชลา" (The Chola Lake) ชื่อในภาษาฮินดีเรียก Bangal ki Khadi [3]

คำว่าเบงกอลมาจากภาษาสันสกฤตว่า "พังคะ" (Banga) หรือ "วังคะ" (Vanga) หมายถึงน้ำของดินดอนสามเหลี่ยมคงคา มีเรื่องปรัมปราเล่ากันมาว่าเกี่ยวกับบริเวณของเผ่าพันธุ์ดวงจันทร์แห่งเดลี (?)[4][5]

แม่น้ำ[แก้]

มีแม่น้ำสำคัญหลายสายที่ไหลจากทางตะวันตกสู่ตะวันออกของอ่าวเบงกอล ด้านเหนือมีแม่น้ำคงคา แม่น้ำเมฆนา และแม่น้ำพรหมบุตร ทางใต้มีแม่น้ำมหานทีไหลผ่านดินดอนสามเหลี่ยมมหานที แม่น้ำโคทาวรี แม่น้ำกฤษณา แม่น้ำอิรวดี และแม่น้ำกาเวรี แม่น้ำสั้นที่สุดที่ไหลลงอ่าวเบงกอลได้แก่แม่น้ำกูอุมที่ยาวเพียง 64 กิโลเมตร แม่น้ำพรหมบุตรมีความยาวเป็นอันดับที่ 28 ของโลก (2,948 กิโลเมตร) ไหลลงอ่าวเบงกอลผ่านอินเดีย จีน เนปาล บังกลาเทศ และภูฏาน มีป่าชายเลนที่เรียกชื่อว่าซุนดาร์บันส์ขึ้นอยู่บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมคงคา ปากแม่น้ำพรหมบุตรและแม่น้ำเมฆนาที่เป็นชายฝั่งของอ่าวเบงกอล

ท่าเรือ[แก้]

เกาะ[แก้]

หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ เป็นเกาะขนาดใหญ่ประกอบด้วย572เกาะตั้งอยู่บริเวณอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันมีมนุษย์อยู่อาศัยเพียง38เกาะประชากร3.5-3.8แสนคนเนื้อที่8295ตร.กม.ประกอบด้วยเกาะแฮพล็อก เกาะนีล เกาะอันดามัน เกาะเซาท์อันดามัน พอร์ทแบลร mahatma gandhi ma์rine national park เกาะอันดามันกลาง เกาะเซนทิเนลเหนือ

ชายหาด[แก้]

สมุทรศาสตร์[แก้]

การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก[แก้]

ท้องอ่าวเบงกอล
  แผ่นทวีปอินเดีย, สีแดง
  แผ่นทวีปอินโด-ออสเตรเลีย, สีส้มเทา

ชีววิทยาทางทะเล พรรณพืชและพรรณสัตว์[แก้]

สมุทรศาสตร์เคมี[แก้]

สมุทรศาสตร์กายภาพ - ภูมิอากาศของอ่าวเบงกอล[แก้]

พายุโซนร้อนและพายุหมุน[แก้]

พายุหมุนเขตร้อน 2B –พฤษภาคม 2545

พายุเขตร้อนที่มีลมหมุนที่ความเร็วตั้งแต่ 119 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไปเรียกว่า "พายุหมุน" (cyclone) เมื่อมีกำเนิดในอ่าวเบงกอล แต่ถ้ามีกำเนิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเรียกกันว่า "เฮอร์ริเคน" (hurricane) [6] มีผู้เสียชีวิตในบังกลาเทศระหว่าง 100,000 ถึง 500,000 คนเนื่องจากพายุหมุนเขตร้อนโบลาเมื่อ พ.ศ. 2513

  • พ.ศ. 2551 พายุหมุนนาร์กิสอันมีความรุนแรงระดับสูง
  • พ.ศ. 2550 พายุหมุนเขตร้อนขั้นรุนแรงมากชื่อ Sidr
  • พ.ศ. 2549 พายุหมุนเขตร้อนขั้นรุนแรงมากชื่อ Mala
  • พ.ศ. 2549 กันยายน พายุไต้ฝุ่นช้างสาร (Typhoon Xangsane)
  • พ.ศ. 2547 พฤศจิกายนพายุไต้ฝุ่นมุ่ยฟ้า
  • พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พายุหมุนเขตร้อน ระดับ 2B
  • พ.ศ. 2534 เมษายน พายุหมุนเขตร้อนบังกลาเทศ
  • พ.ศ. 2532 พฤศจิกายน ไต้ฝุ่นเกย์
  • พ.ศ. 2528 พฤษภาคม พายุโซนร้อน ระดับ 1B
  • พ.ศ. 2525 เมษายน พายุหมุน ระดับ 1B
  • พ.ศ. 2525 พฤษภาคม พายุเขตร้อน ระดับ 2B
  • พ.ศ. 2525 ตุลาคม พายุเขตร้อน ระดับ 3B
  • พ.ศ. 2524 ธันวาคม พายุหมุน ระดับ 3B
  • พ.ศ. 2523 ตุลาคม พายุเขตร้อน ระดับ 1B
  • พ.ศ. 2523 ธันวาคม พายุไม่ทราบชื่อ ระดับ 4B
  • พ.ศ. 2523 ธันวาคม พายุเขตร้อน ระดับ 5B
  • พ.ศ. 2514 พายุหมุนโอริสสา
  • พ.ศ. 2513 พฤศจิกายน พายุหมุนโบลา

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

ภัยสิ่งแวดล้อม[แก้]

มลภาวะ[แก้]

ประวัติศาสตร์[แก้]

เนื่องจากการเคลื่อนที่ของแผ่นทวีป ทำให้แผ่นทวีปอินเดียแยกออกจากมาดากัสการ์และประทะกับแผ่นทวีปยูเรเชียเกิดเป็นเทือกเขาหิมาลัยและอ่าวเบงกอล

ทัณฑนิคมอังกฤษ[แก้]

โบราณคดีทางทะเล[แก้]

เรือที่มีชื่อเสียงและเรืออัปปาง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Map of Bay of Benglal- World Seas, Bay of Bengal Map Location – World Atlas". 4 February 2021.
  2. Chowdhury, Sifatul Quader (2012). "Bay of Bengal". ใน Islam, Sirajul; Jamal, Ahmed A. (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh.
  3. Map of the Bay of BengalURL accessed January 22, 2007
  4. Bengal Love To Know 1911URL accessed January 21, 2007
  5. "Kashmere: Brahman Mahatma Of the Lunar Race. The struggle between the Lunar and Solar Dynastys/Cast". สืบค้นเมื่อ 2007-01-21.
  6. Forces of Nature--Natural Disaster Fast Facts (National Geographic) เก็บถาวร 2011-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน URL accessed January 22, 2007

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]