อีฟาวิเรนซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อีฟาวิเรนซ์
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียง/ɪˈfævɪrɛnz/ i-FAV-i-renz
ชื่อทางการค้าAtripla, Sustiva และอื่นๆ[1]
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa699004
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • US: D (มีความเสี่ยง)
ช่องทางการรับยารับประทาน
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • UK: POM (Prescription only)
  • US: ℞-only
  • In general: ℞ (Prescription only)
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล40–45% (กรณีอย่างเร็ว)
การจับกับโปรตีน99.5–99.75%
การเปลี่ยนแปลงยาตับ
ระยะเริ่มออกฤทธิ์3–5 ชั่วโมง
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ40–55 ชั่วโมง
การขับออกปัสสาวะ (14–34%) และอุจจาระ (16–61%)
ตัวบ่งชี้
  • (4S)-6-Chloro-4-(2-cyclopropylethynyl)-4-(trifluoromethyl)-2,4-dihydro-1H-3,1-benzoxazin-2-one
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
NIAID ChemDB
PDB ligand
ECHA InfoCard100.149.346
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC14H9ClF3NO2
มวลต่อโมล315.675 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • FC(F)([C@]1(OC(NC2=CC=C(C=C21)Cl)=O)C#CC3CC3)F
  • InChI=1S/C14H9ClF3NO2/c15-9-3-4-11-10(7-9)13(14(16,17)18,21-12(20)19-11)6-5-8-1-2-8/h3-4,7-8H,1-2H2,(H,19,20)/t13-/m0/s1 checkY
  • Key:XPOQHMRABVBWPR-ZDUSSCGKSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

อีฟาวิเรนซ์ (Efavirenz) หรือชื่อทางการค้าคือ ซุสติว่า (Sustiva) หรือ อะทริพลา (Atripla) หรือชื่ออื่นๆ เป็นยาต้านรีโทรไวรัสซึ่งใช้สำหรับรักษาและป้องกันเชื้อเอชไอวีและเอดส์ โดยทั่วไปมักจะใช้ควบคู่กับยาต้านรีโทรไวรัสตัวอื่นๆ[1] ยาอีฟาวิเรนซ์มีทั้งแบบแยกขายและขายเป็นชุดประกอบด้วยยาสามตัวชื่อ "อีฟาวิเรนซ์/เอ็มไตรซิทาบีน/เทโนโฟเวียร์" (Efavirenz/Emtricitabine/Tenofovir)[1] ยานี้ใช้โดยการรับประทานวันละครั้ง[1]

ผลข้างเคียงทั่วไปจากการใช้ยาได้แก่ มีผื่น, คลื่นไส้, ปวดหัว, เหนื่อยล้า หรือนอนหลับยาก บางครั้งอาการมีผื่นอาจรุนแรงจนกลายเป็นกลุ่มอาการสตีเฟนส์–จอห์นสัน[1] ผลข้างเคียงขั้นรุนแรงได้แก่ มีภาวะซึมเศร้า, คิดฆ่าตัวตาย, เป็นโรคตับ, มีอาการชัก ยาตัวนี้ปลอดภัยสำหรับสตรีที่มีอายุครรภ์ไม่เกินสามเดือน[2] หากเกินกว่านั้นควรงดใช้เนื่องจากทารกในครรภ์อาจได้รับยาไปด้วย[1]

อีฟาวิเรนซ์ได้รับการอนุมติโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐให้ใช้เป็นยาในปีค.ศ. 1998[1] และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาหลักขององค์การอนามัยโลก ในฐานะยาทรงประสิทธิผลและปลอดภัยต่อระบบสุขภาพ[3] ในปีค.ศ. 2018 องค์การอนามัยโลกได้ให้การรับรองมาตรฐานสากลแก่ยาอีฟาวิเรนซ์ที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมของไทย[4][5] ยาตัวนี้ในปัจจุบันยังไม่มีสถานะเป็นยาสามัญ เนื่องจากสิทธิบัตรยายังไม่หมดอาจยุ[6]

ค่าใช้จ่ายในการใช้ยานี้ในประเทศกำลังพัฒนาอยู่ที่ราว 10,000 ถึง 32,000 บาทต่อเดือน[7] ส่วนค่าใช้จ่ายในสหรัฐสูงกว่า 6,700 บาทต่อเดือน[6] และอาจสูงถึง 34,000 บาทต่อเดือน[8] ค่าใช้จ่ายด้านยาอิฟาวิเรนซ์+ทรูแวดา (Efavirenz+Truvada) ในประเทศไทยในปี 2012 อยู่ที่ราว 2,900 บาทต่อเดือน ในปี 2018 องค์การเภสัชกรรมไทยได้ประกาศว่าจะผลิตยาอิฟาวิเรนซ์ขนาด 600 มิลลิกรัมจำนวน 30 เม็ดจำหน่ายในราคาขวดละ 180 บาท

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "Efavirenz". The American Society of Health-System Pharmacists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2016. สืบค้นเมื่อ 28 November 2016.
  2. Ford, N; Mofenson, L; Shubber, Z; Calmy, A; Andrieux-Meyer, I; Vitoria, M; Shaffer, N; Renaud, F (March 2014). "Safety of efavirenz in the first trimester of pregnancy: an updated systematic review and meta-analysis". AIDS. 28 Suppl 2: S123–31. doi:10.1097/qad.0000000000000231. PMID 24849471.
  3. "WHO Model List of Essential Medicines (19th List)" (PDF). World Health Organization. April 2015. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.
  4. องค์การอนามัยโลก รับรองยาต้านไวรัสเอดส์ รายแรกของไทย 2 พฤศจิกายน 2561. ข่าวสด
  5. ดังไกล! องค์การเภสัชฯ ขึ้นทะเบียนยาต้านไวรัสเอดส์สำเร็จ 2 พฤศจิกายน 2561. ประชาชาติธุรกิจ
  6. 6.0 6.1 Hamilton, Richart (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition. Jones & Bartlett Learning. p. 62. ISBN 9781284057560.
  7. "Efavirenz". International Drug Price Indicator Guide. สืบค้นเมื่อ 28 November 2016.
  8. "Cost Considerations and Antiretroviral Therapy | Adult and Adolescent ARV Guidelines | AIDSinfo". AIDSinfo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-17. สืบค้นเมื่อ 2016-11-16.