อินทิรา คานธี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อินทิรา คานธี
ประธานมนตรีอินเดีย คนที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
19 มกราคม พ.ศ. 2509 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2520
ก่อนหน้ากุลซาริลาล นันทา
ถัดไปโมราร์จิ เดซาย
ดำรงตำแหน่ง
15 มกราคม พ.ศ. 2523 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2527
ก่อนหน้าเชาดารี จรัน ซิงห์
ถัดไปราชีพ คานธี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460
อัลลอฮาบาด บริติชอินเดีย
เสียชีวิต31 ตุลาคม พ.ศ. 2527 (66 ปี)
นิวเดลี ประเทศอินเดีย
ศาสนาฮินดู
พรรคการเมืองIndian National Congress
คู่สมรสผิโรช คานธี
ลายมือชื่อ

อินทิรา ปริยทรรศินี คานธี (ฮินดี: इन्दिरा प्रियदर्शिनी गान्धी, Indira Priyadarsini Gandhi, 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2527) เป็นอดีตประธานมนตรีอินเดียที่ดำรงตำแหน่งถึง 3 วาระติดต่อกัน และเป็นประธานมนตรีหญิงคนแรกในประเทศอินเดีย

อินทิรา คานธี มีชื่อเดิมว่า อินทิรา ปรียทรศินี เนห์รู เป็นบุตรสาวของชวาหระลาล เนห์รู ประธานมนตรีคนแรกของอินเดีย กับกมลา เนห์รู นางอินทิราสมรสกับผิโรช คานธี ซึ่งมีนามสกุลเดียวกับมหาตมา คานธี แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติกัน

อินทิรามีบุตรชายสองคน คือ ราชีพ คานธีและสัญชัย คานธี โดยบุตรทั้งสองต่างดำเนินกิจกรรมทางการเมืองสืบต่อจากมารดา

อินทิรา คานธีถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2527 หลังจากถูกองครักษ์สองคนใช้อาวุธปืนกระหน่ำยิงกว่า 30 นัด ที่บริเวณสวนในทำเนียบประธานมนตรี [1] และถึงแก่อสัญกรรมระหว่างถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล สาเหตุเนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างชาวฮินดูกับชาวซิกข์หลังปฏิบัติการดาวน้ำเงิน

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม[แก้]

  • สาวิตรี เจริญพงศ์. “อินทิรา คานธี: สตรีในวงล้อการเมืองของอินเดีย.” ใน สุวดี เจริญพงศ์ และปิยนาถ บุนนาค (บก.), สตรีแถวหน้าในประวัติศาสตร์เอเชีย. หน้า 179-218. กรุงเทพฯ: บ้านพิทักษ์อักษร, 2550.

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-04. สืบค้นเมื่อ 2009-09-06.