อำเภอท่าศาลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอท่าศาลา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Tha Sala
คำขวัญ: 
โมคลานตั้งก่อน ทรัพยากรมากหลาย
หาดทรายยาวรี หม้อดีบ้านยิง
มิ่งเมืองมหาวิทยาลัย น้ำใสปลาสด งดงามน้ำใจ
แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นอำเภอท่าศาลา
แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นอำเภอท่าศาลา
พิกัด: 8°40′0″N 99°55′54″E / 8.66667°N 99.93167°E / 8.66667; 99.93167
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครศรีธรรมราช
พื้นที่
 • ทั้งหมด387.02 ตร.กม. (149.43 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด117,851 คน
 • ความหนาแน่น304.51 คน/ตร.กม. (788.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 80160
รหัสภูมิศาสตร์8008
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอท่าศาลา หมู่ที่ 1 ถนนศรีท่าศาลา ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ท่าศาลา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับการจัดตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 ท่าศาลาเป็นอำเภอที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของจังหวัดนครศรีธรรมราช

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอท่าศาลาตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ[แก้]

ท่าศาลาเป็นชุมชนเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีประวัติการสร้างบ้านแปงเมืองมายาวนาน เคยเป็นชุมชนโบราณที่อายุกว่า 1,000 ปี โดยเฉพาะชุมชนโบราณที่ตำบลโมคลานมีอายุเก่าแก่ ถึงกับมีคำกลอนบทหนึ่งที่บ่งบอกความเป็นชุมชนโบราณมานานว่า “ตั้งดินตั้งฟ้า ตั้งหญ้าเข็ดมอน โมคลานตั้งก่อน เมืองคอนตั้งหลัง” ครั้นถึง พ.ศ. 2440 สมัยรัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์ ทางราชการได้จัดระเบียบการปกครองส่วนท้องที่ของเมืองนครศรีธรรมราชเสียใหม่ ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 โดยแบ่งเขตปกครองเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอกลางเมือง อำเภอเบี้ยซัด อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอสิชล อำเภอลำพูน อำเภอฉวาง อำเภอทุ่งสง อำเภอเขาพังไกร และอำเภอกลาย

อำเภอกลายในสมัยแรกตั้ง มีฐานะเป็นแขวงชั้นกลาย มีนายเจริญเป็นนายอำเภอคนแรก ตั้งที่ว่าการอยู่ที่ปากน้ำท่าสูง ครั้นเมื่อพ.ศ. 2450 ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่วัดเตาหม้อ และในอีก 9 ปีต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่ตลาดท่าศาลา หมู่ที่ 1 ตำบลท่าศาลา (คือที่ตั้งที่ว่าการอำเภอท่าศาลาปัจจุบัน) ในสมัยนายเจริญเป็นนายอำเภอนั้นเอง ไม่ปรากฏว่าที่ว่าการอำเภอท่าศาลาได้ย้ายไปที่ตำบลกลายเลย คงตั้งอยู่ในตำบลท่าศาลาตลอดมา ครั้นต่อมาเมื่อ ร.ศ. 136 (พ.ศ. 2460) ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอกลายเป็น  “อำเภอท่าศาลา”  เพื่อให้ตรงกับท้องที่ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอตามชื่อตำบลที่ตั้งที่ว่าการ ข้อเท็จจริง ที่ตั้งอำเภอกลายตั้งครังแรกที่ปากคลองท่าสูงฝั่งตะวันออก ครั้นถึงปี ๒๔๔๕ บันทึกจดหมายระยะทางของกรมพรายานริศรานุวัติวงศ์บันทึกว่า ที่ว่าการอำเภอกลายย้ายมาตั้ง ณ ที่ว่าการอำเภอท่าศาลาในปัจจุบัน ไม่ได้ย้ายไปตั้งที่วัดตอหมอแต่อย่างใด บอกเล่ากันมาผิดๆ ส่วนที่ทำการโทรเลขเดิมตังที่ปากคลองท่าสูงเหมือนกัน หลังปี ๒๔๔๕ ก็ย้ายตามมาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอ อนึ่งนายเจริญเป็นนายอำเภอกลายแค่ ๒ ปี คือ ปี ๒๔๔๐-๒๔๔๑ และ เปลี่ยนชื่อเปนอำเภอท่าศาลา ปี ๒๔๕๙

  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอกลาย จังหวัดนครศรีธรรมราช มณฑลนครศรีธรรมราช เป็น อำเภอท่าศาลา[1]
  • วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2481 โอนพื้นที่หมู่ 12,13 (ในขณะนั้น) ของตำบลกลาย ไปขึ้นกับตำบลนบพิตำ[2][3]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลดอนตะโก แยกออกจากตำบลหัวตะพาน ตั้งตำบลโมคลาน แยกออกจากตำบลหัวตะพาน ตั้งตำบลไทยบุรี แยกออกจากตำบลท่าศาลา และตำบลกะหรอ ตั้งตำบลสระแก้ว แยกออกจากตำบลกะหรอ และตำบลท่าขึ้น[4]
  • วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าศาลา ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าศาลา[5]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลโมคลาน ในท้องที่ตำบลโมคลาน[6]
  • วันที่ 24 กันยายน 2518 โอนพื้นที่หมู่ 5 บ้านดอนเขียว (ในขณะนั้น) ของตำบลดอนตะโก กับหมู่ที่ 7 บ้านดอนคา (ในขณะนั้น) ของตำบลโมคลาน และหมู่ที่ 7 บ้านห้วยผักหนาม (ในขณะนั้น) ของตำบลหัวตะพาน จากอำเภอท่าศาลา ไปขึ้นกับตำบลอินทคีรี กิ่งอำเภอพรหมคีรี อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช[7]
  • วันที่ 30 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลตลิ่งชัน แยกออกจากตำบลกลาย[8]
  • วันที่ 26 กันยายน 2529 ตั้งตำบลกรุงชิง แยกออกจากตำบลนบพิตำ[9]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2531 ตั้งตำบลโพธิ์ทอง แยกออกจากตำบลหัวตะพาน[10]
  • วันที่ 3 มีนาคม 2535 กำหนดเขตตำบลหัวตะพาน ให้มีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน[11] เนื่องจากการแยกตำบลโพธิ์ทอง ออกจากการปกครองของตำบลหัวตะพานในปี พ.ศ. 2531[10] จึงต้องกำหนดอาณาเขตของตำบลเพื่อความถูกต้องแม่นยำ
  • วันที่ 22 ธันวาคม 2536 ตั้งตำบลนาเหรง แยกออกจากตำบลกะหรอ[12]
  • วันที่ 22 มีนาคม 2538 แยกพื้นที่ตำบลนบพิตำ ตำบลกรุงชิง ตำบลกะหรอ และตำบลนาเหรง จากอำเภอท่าศาลา ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอนบพิตำ[13] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอท่าศาลา
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลท่าศาลา เป็นเทศบาลตำบลท่าศาลา[14] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอนบพิตำ อำเภอท่าศาลา เป็น อำเภอนบพิตำ[15]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอท่าศาลาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 ตำบล 110 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[16]
แผนที่
1. ท่าศาลา Tha Sala
15
32,891
แผนที่
2. กลาย Klai
12
8,755
3. ท่าขึ้น Tha Khuen
15
13,930
4. หัวตะพาน Hua Taphan
9
5,118
6. สระแก้ว Sa Kaeo
11
8,962
7. โมคลาน Mokkhalan
15
14,892
9. ไทยบุรี Thai Buri
10
9,198
10. ดอนตะโก Don Tako
6
5,196
11. ตลิ่งชัน Taling Chan
9
8,908
13. โพธิ์ทอง Pho Thong
8
9,457

หมายเลขที่ขาดไปปัจจุบันคือตำบลในอำเภอนบพิตำ

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอท่าศาลาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลท่าศาลา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าศาลา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าศาลา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลท่าศาลา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกลาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกลายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าขึ้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าขึ้นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวตะพาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวตะพานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระแก้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโมคลาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโมคลานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไทยบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทยบุรีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนตะโก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนตะโกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลิ่งชันทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์ทองทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3744–3746. February 6, 1938.
  3. "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๗๑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช หน้า ๓๗๔๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 4080. February 27, 1938.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-09.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 77-78. May 30, 1956.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. March 1, 1958.
  7. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอท่าศาลา กับกิ่งอำเภอพรหมคีรี อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๑๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (197 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-3. September 24, 1975.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชะอวด อำเภอฉวาง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (154 ง): 4106–4113. October 30, 1984.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอฉวาง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (166 ง): (ฉบับพิเศษ) 71-79. September 26, 1986. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-09.
  10. 10.0 10.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (143 ง): (ฉบับพิเศษ) 118-121. August 31, 1988.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (31 ง): 2628–2630. March 3, 1992.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (217 ง): (ฉบับพิเศษ) 19-22. December 22, 1993.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งเป็นกิ่งอำเภอนบพิตำ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 9 ง): 53. March 22, 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2021-09-09.
  14. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-09.
  15. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. August 24, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-09-09.
  16. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.