อำภา ภูษิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำภา ภูษิต
ชื่อเกิดอำภา ภูษิตสวัสดิ์
เกิด11 เมษายน พ.ศ. 2502 (65 ปี)
อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ประเทศไทย
คู่สมรสอาวุธ พิทักษ์พงษ์
วีรยุทธ รสโอชา
อาชีพนักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2521–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นฟ้าหลังฝน (2521)
สามใบเถา (2523)
ทองเนื้อเก้า (2556)
ลีลาวดีเพลิง (2558)
เจ้านาง (2558)
ปีกทอง (2559)
บุพเพสันนิวาส (2561)
พระนคร 2410 (2566)
พรหมลิขิต (2566)
สุพรรณหงส์นักแสดงสนับสนุนหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2521 – ฟ้าหลังฝน
โทรทัศน์ทองคำนักแสดงสนับสนุนหญิงดีเด่น
พ.ศ. 2545 – นิราศสองภพ
พ.ศ. 2556 – ทองเนื้อเก้า
นาฏราชนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2556 – ทองเนื้อเก้า
คมชัดลึกนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ประเภทละครโทรทัศน์
พ.ศ. 2556 – ทองเนื้อเก้า

อำภา ภูษิต (เกิด 11 เมษายน พ.ศ. 2502) ชื่อเล่น แอ๊ว เป็นนักแสดงหญิงชาวไทย เป็นตัวแทนสาวไทยในการประกวดนางงามนานาชาติ​ ปี 1977 ณ ประเทศญี่ปุ่น มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่อง ฟ้าหลังฝน (พ.ศ. 2521) และเป็นนางเอกภาพยนตร์ต่อมาอีกหลายเรื่อง

ประวัติ[แก้]

อำภาเป็นน้องสาวแท้ ๆ ของอดีตนักแสดงหญิง ผดุงศรี โสภิตา เข้าสู่วงการจากการติดตามพี่สาวเข้าไปในกองถ่ายละคร และได้รับการชักชวนให้เข้าประกวด เทพีสงกรานต์สวนสามพราน[1] ซึ่งเธอก็ได้รับชัยชนะคว้าตำแหน่งมาได้ ในปี 2520 ต่อมา ได้เป็นตัวแทนประเทศไทย ไปประกวดนางงามนานาชาติ 1977 ที่ประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้น จึงได้รับการทาบทามจาก จิรวรรณ กัมปนาทแสนยากร (คุณนายแดง) ให้มาแสดงภาพยนตร์

อำภาได้แสดงนำในภาพยนตร์เรื่องแรก คือเรื่อง ฟ้าหลังฝน ประกบกับ วิฑูรย์ กรุณา และ เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ โดยมี พิศาล อัครเศรณี เป็นผู้กำกับการแสดง ซึ่งประสบผลสำเร็จเกินคาด ทั้งทางด้านรายได้และรางวัลนักแสดง อีกทั้งเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ คือเพลง "พะวงรัก" ยังได้รับรางวัลพระราชทาน เสาอากาศทองคำ ทั้งนักร้องและเพลงในปีนั้นด้วย จากนั้น อำภายิ่งดังมากขึ้นกับบทพี่น้องสามสาว ในภาพยนตร์เรื่อง สามใบเถา ร่วมกับ เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ และ สุพรรษา เนื่องภิรมย์ และเรื่อง พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ซึ่งได้รับรางวัลนักแสดงดาวรุ่งจากการประกวด ที่ ไต้หวัน และ อินโดนีเซีย ต่อมาจึงหันไปรับบทนางรอง และนางร้าย แต่ก็ยังสามารถกลับมารับบทนางเอกได้อย่างสมศักดิ์ศรี จากภาพยนตร์หลาย ๆ เรื่อง เช่น น้ำพริกก้นถ้วย และเรื่องอื่น ๆ ช่วงที่ อำภารับบทนางเอก จะรับบทคู่กับพระเอกหลัก ๆ 4 คน คือ วิฑูรย์ กรุณา, สรพงศ์ ชาตรี, พอเจตน์ แก่นเพชร และ สมบัติ เมทะนี จากนั้นจึงหันมารับงานแสดงละครโทรทัศน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา ด้วยการเล่นละครเรื่อง พัชราวลัย, สุดสายป่าน และบ้านโลกย์

ด้านชีวิตส่วนตัว อำภาเคยสมรสกับ อาวุธ พิทักษ์พงษ์ (เปี๊ยก ปากน้ำ) อดีตดาราและผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ผู้ล่วงลับ และ วีรยุทธ รสโอชา พระเอกละคร ช่วงที่ใช้ชีวิตอยู่กับพระเอกวีรยุทธ ได้ไปขอบุตรบุญธรรมมาเลี้ยง เป็นคู่แฝดหญิง เพราะไม่สามารถมีบุตรได้ด้วยตนเอง

อำภาได้รับรางวัลนักแสดงสนับสนุนหญิงยอดเยี่ยม รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2521 จากภาพยนตร์เรื่องแรกของเธอ คือ ฟ้าหลังฝน ที่เธอรับบทเด่นคู่กับ เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ ซึ่งจริง ๆ แล้วบทของเธอเป็นทั้งนางเอกและตัวเดินเรื่อง แต่ตามบทเธอต้องเสียชีวิตตอนก่อนจบเรื่อง ด้วยเหตุนี้จึงไม่ได้รับพิจารณารางวัลในฐานะดารานำ แต่หลังจากนั้น ในเรื่องต่อ ๆ มา เธอก็กลับมารับบทนางเอกเต็มตัวได้อีกเป็นสิบเรื่อง จากนั้นจึงค่อย ๆ ผันตัวเองมารับบทรอง ๆ ตามกาลเวลา ซึ่งช่วงที่เธอหันไปรับบทรอง บทร้าย หรือนางเอกประกบกับนางเอกท่านอื่น ๆ เธอยังกลับไปรับบทนางเอกนำเดี่ยวได้อีกหลายเรื่อง นับว่ามีนางเอกไม่มากคนนักที่จะมีโอกาสอย่างเธอ

ช่วงที่เธอแสดงภาพยนตร์อยู่นั้น มีนางเอกดังร่วมรุ่นหลายท่าน เช่น จารุณี สุขสวัสดิ์, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์, สุพรรษา เนื่องภิรมย์, นันทิดา แก้วบัวสาย, วาสนา สิทธิเวช และ อาภาพร กรทิพย์

ผลงาน[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

ละคร[แก้]

ละครพื้นบ้าน (จักร ๆ วงศ์ ๆ)[แก้]

ปี พ.ศ. เรื่อง ออกอากาศ
2529 พระอภัยมณี ช่อง 7
2531 พระทิณวงศ์
นางสิบสอง
2532 ปลาบู่ทอง ช่อง 11
ทายาทสวรรค์ ช่อง 3
ปริศนาของเวตาล ช่อง 7
อุทัยเทวี
ท้าวแสนปม ช่อง 9
อินทรีสุริยา ช่อง 11
โกมินทร์ ช่อง 7
2533 มนต์นาคราช
2534 มณีอาชา ช่อง 3
2535 มาลัยทอง ช่อง 7
2537 ปลาบู่ทอง
2538 เกราะเพชรเจ็ดสี
2539 พันหนึ่งราตรี
กัณหาชาลี
2540 น้ำใจแม่
2541 ขวานฟ้าหน้าดำ
2542 เทพศิลป์ อินทรจักร
2543 สังข์ทอง ช่อง 3
ไชยเชษฐ์
2544 แก้วหน้าม้า ช่อง 7
แก้วหน้าม้า ช่อง 3
2545 พิกุลทอง ช่อง 7
2546 เทพสามฤดู


ละครชุดสั้น (จบในตอนเดียว)[แก้]

หนังดีวีดี[แก้]

พิธีกร[แก้]

  • เคยรับบทเป็นพิธีกรภาคสนาม รายการ 'ซุปเปอร์สตาร์' ทุกวันศุกร์ เวลา 16.00 - 16.30 น. ทางช่อง 5

รางวัล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "แอ๊ว อำภา เล่าทั้งน้ำตาเคยมีรักที่ผิดพลาด จนเป็นเหตุให้พ่อต้องตาย (คลิป)". ไทยรัฐ.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]