อันโตนีโอ วีวัลดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อานโตนิโอ วิวัลดิ)
อันโตนิโอ วีวัลดี
เกิดอันโตนีโอ ลูซีโอ วีวัลดี
4 มีนาคม ค.ศ. 1678
เวนิส สาธารณรัฐเวนิส
(ปัจจุบันเป็น เวนิส ประเทศอิตาลี อิตาลี)
เสียชีวิต28 กรกฎาคม ค.ศ. 1741 (63 ปี)
เวียนนา ประเทศออสเตรีย ออสเตรีย
สัญชาติอิตาลี
อาชีพคีตกวี

ประวัติโดยทั่วไป[แก้]

อันโตนีโอ ลูซีโอ วีวัลดี (Antonio Lucio Vivaldi) เกิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2221 (ค.ศ. 1678) ที่เมืองเวนิส สาธารณรัฐเวนิส (ปัจจุบันคือเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี) เขาเป็นคีตกวีและนักไวโอลินชื่อดังในสมัยบาโรก นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์และพระอีกด้วย วีวัลดีได้รับการยอมรับว่าเป็นนักแต่งเพลงในยุคบาโรกที่ดีที่สุด อิทธิพลของเขาในขณะที่มีชีวิตอยู่ครอบคลุมไปทั่วทั้งยุโรป คนส่วนใหญ่รู้จักเขาจากการที่เขาแต่งเพลงให้กับเครื่องดนตรีประสานเสียง สำหรับไวโอลินและเครื่องดนตรีอื่น ๆ อีกมากมาย ตลอดจนแต่งเพลงที่ใช้ในการบูชาทางด้านศาสนา และละครเพลงกว่าสี่สิบบท ผลงานที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของเขาคือซีรีส์ของเพลงประสานเสียงไวโอลิน ที่รู้จักในชื่อ “The Four Seasons

หลายเพลงจากบทประพันธ์ทั้งหมดของวิวัลดีถูกแต่งขึ้นมาให้วงออร์เคสตร้าหญิงจากสถานกำพร้า “ออสปิดาเล เด ลา ปีเอตา” ซึ่งเขาเคยทำงานอยู่ในช่วง ค.ศ. 1703-1715 และ 1723-1740 วงออร์เคสตร้าหญิงล้วนนี้ได้กลายเป็นวงออร์เคสตร้าที่มีเอกลักษณ์ที่สุดวงหนึ่งในสมัยนั้น จนสามารถดึงดูดเศรษฐีชาวต่างชาติมาชมการแสดงได้มาก วิวัลดียังประสบความสำเร็จกับการแสดงละครโอเปร่าที่มีราคาแพงของเขาในเวนิส, มันโตวาและเวียนนาหลังจากการประชุมของจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 วิวัลดีย้ายไปอยู่ที่กรุงเวียนนาเพราะหวังว่าจะได้เลื่อนขั้น แต่จักรพรรดิสวรรคตไม่นานหลังจากที่มาถึงและวิวัลดีก็เสียชีวิตในหนึ่งปีต่อมาท่ามกลางความยากจน

หลังจากที่เขาตาย เพลงของเขาก็ถูกลืมเลือนไป จนกระทั่งในยุคศตวรรษที่ยี่สิบ เพลงของเขาได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง ทุกวันนี้วิวัลดีถูกจัดอันดับให้เป็นนักแต่งเพลงยุคบาโรกที่มีชื่อเสียง ได้รับการบันทึกไว้อย่างแพร่หลาย และเป็นต้นแบบให้คีตกวีรุ่นหลังนิยมทำตาม ทั้งในสมัยคลาสสิกและโรแมนติก โยฮัน เซบัสทีอัน บัค ที่ได้รู้จักกับวีวัลดีชื่นชมเขามากจนกระทั่งได้ยืมหัวข้อที่วิวัลดิกล่าวถึงไว้หลายหัวข้อมาถ่ายทอดและปรับเปลี่ยนใหม่

การแบ่งหมวดหมู่ผลงานของวีวัลดีแบบสมัยใหม่[แก้]

มีเดีย[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]