อาณาจักรสิงหะส่าหรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาณาจักรสิงหะส่าหรี

ꦱꦶꦔ꧀ꦲꦱꦫꦶ  (ชวา)
ค.ศ.1222–1292
สิงหะส่าหรีในรัชสมัยเกอร์ตาเนอการา
สิงหะส่าหรีในรัชสมัยเกอร์ตาเนอการา
เมืองหลวงตูมาเปิล ต่อมามีชื่อว่ากูตาราจา สิงหะส่าหรี (ปัจจุบันอยู่ส่วนนอกของเมืองมาลัง)
ภาษาทั่วไปภาษาชวาเก่า, ภาษาสันสกฤต
ศาสนา
เกอจาเวิน, ฮินดู, พุทธ, วิญญาณนิยม
การปกครองราชาธิปไตย
มหาราช 
• 1182–1227
เกิน อาเราะ
• 1268–1292
เกอร์ตาเนอการา
ประวัติศาสตร์ 
• การครองราชย์ของเกิน อาเราะ
ค.ศ.1222
• การโจมตีโดยจายากัตวังแห่งอาณาจักรเกอดีรี
1292
สกุลเงินทองธรรมชาติและเหรียญเงิน
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรเกอดีรี
อาณาจักรมัชปาหิต

อาณาจักรสิงหะส่าหรี (ชวา: ꦏꦫꦠꦺꦴꦤ꧀ꦱꦶꦔ꧀ꦲꦱꦫꦶ, อักษรโรมัน: Karaton Singhasari หรือ Karaton Singosari, อินโดนีเซีย: Kerajaan Singasari) มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสิงหะส่าหรี เป็นอาณาจักรบนเกาะชวาตะวันออกใน ค.ศ. 1222 ถึง 1292 ซึ่งสืบทอดต่อจากอาณาจักรเกอดีรีในฐานะอาณาจักรที่โดดเด่นในชวาตะวันออก

ก่อตั้ง[แก้]

สิงหะส่าหรีถูกก่อตั้งโดยเกิน อาเราะ (ค.ศ. 1182-1227/1247) ผู้ซึ่งปรากฏชื่อในนิทานพื้นบ้านยอดนิยมในเขตชวากลางและตะวันออก เรื่องราวชีวิตส่วนใหญ่ของพระองค์และประวัติศาสตร์ช่วงต้นของสิงหะสาหรีนั้นมาจากพงศาวดารปาราราตอน ซึ่งมีบางส่วนที่เป็นตำนาน เกิน อาเราะเป็นบุตรกำพร้าพ่อของหญิงนามว่า เกิน เอินเดาะ (บางตำนานกล่าวว่าว่า พระองค์เป็นพระโอรสของพระพรหม) ในอาณาจักรเกอดีรี

เกิน อาเราะขึ้นมามีอำนาจจากการเป็นข้ารับใช้ให้กับตุงกุล อาเมอตุง เจ้าเมืองตูมาเปิล (ใกล้เขตเมืองมาลังปัจจุบัน) แล้วกลายเป็นผู้ปกครองเกาะชวาโดยปกครองจากเกอดีรี ถือกันว่าพระองค์เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ราจาซาทั้งสายสิงหะส่าหรีและสายมัชปาหิต[1] พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์โดยอานูซาปาตี เพื่อล้างแค้นจากการที่พระองค์ฆ่าตุงกุล อาเมอตุงบิดาของตน[2]: 185–187  ปันหยี โตะฮ์จายา พระราชโอรสของเกิน อาเราะ ลอบปลงพระชนม์อานูซาปาตี แต่ก็ครองราชย์ได้ไม่กี่เดือนใน ค.ศ. 1248 ก่อนที่พระภาติยะจะก่อกบฏ ร่วมกับรังงา วูนี กับมาฮีชา ชัมปากา แล้วรังงา วูนีและมาฮีชาชัมปากาจึงร่วมกันปกครองในนามวิษณุวัฒนะกับนรสิมหฺมูรตี[2]: 188 

กษัตริย์สิงหะส่าหรี[แก้]

ลำดับวงศ์ตระกูลของราชวงศ์ราจาซา พระราชวงศ์ของสิงหะส่าหรีกับมัชปาหิต โดยมีการเน้นสีผู้ปกครองกับระยะเวลารัชกาล

อ้างอิง[แก้]

  1. Southeast Asia: a historical encyclopedia. 2004. ISBN 9781576077702. สืบค้นเมื่อ 25 July 2010.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Cœdès, George (1968). The Indianized states of Southeast Asia. University of Hawaii Press. ISBN 9780824803681.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Saidihardjo, Dr. M. Pd., A.M, Sardiman, Drs., Sejarah untuk SMP, Tiga Serangkai, Solo, 1987, 4th reprint edition in 1990

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]