องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ
International Criminal Police Organization
Organisation internationale de police criminelle
ชื่อทางการInterpol
อักษรย่อICPO-INTERPOL
คำขวัญConnecting police for a safer world
ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้งกันยายน 1923; 100 ปีที่แล้ว (1923-09)
หน่วยงานก่อนหน้า
  • สภาตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศสมัยแรก (1914)
  • ที่ประชุมตำรวจระหว่างประเทศ (1922)
  • คณะกรรมการตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (1923)
เจ้าหน้าที่1,050 (2019)
งบประมาณรายปี142 ล้านยูโร (2019)
โครงสร้างเขตอำนาจ
หน่วยงานระหว่างประเทศ
ประเทศ194 ชาติสมาชิก
แผนที่เขตอำนาจของ องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ
บัญญัติตราสาร
  • ICPO-INTERPOL Constitution and General Regulations[1][2]
สำนักงานใหญ่ลียง ประเทศฝรั่งเศส

หน่วยงานข้ามชาติ
Nationalities of personnel114 (2019)
ผู้บริหารหน่วยงาน
สิ่งอำนวยความสะดวก
สำนักงานกลางแห่งชาติ194
เว็บไซต์
www.interpol.int แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
สำนักงานใหญ่ตำรวจสากลในลียง
บัตรประจำตัวตำรวจสากล (ด้านหน้า)

องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Criminal Police Organization; ย่อ: INTERPOL) หรือเรียก ตำรวจสากล เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่อำนวยความสะดวกในการร่วมมือกับตำรวจทั่วโลกและการควบคุมอาชญากรรม สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในลียงมีสำนักงานประจำภูมิภาค 7 แห่งทั่วโลกและสำนักงานกลางแห่งชาติในรัฐสมาชิกทั้งหมด 194 ประเทศทำให้เป็นองค์กรตำรวจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันสำนักงานใหญ่ของอินเตอร์โปล ตั้งอยู่ที่เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส

INTERPOL เกิดขึ้นพร้อมกับการประชุมตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศครั้งแรกในปี 2457 ซึ่งนำเจ้าหน้าที่จาก 24 ประเทศมาหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2466 ในฐานะคณะกรรมการตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (ICPC) โดยมีหน้าที่หลายประการในปัจจุบันตลอดช่วงทศวรรษที่ 1930 แต่เมื่อออสเตรียตกอยู่ภายใต้การควบคุมของนาซีในปีพ. ศ. 2481 หน่วยงานนี้ก็เกือบจะหยุดชะงักลงไปเลย จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในปีพ. ศ. 2499 ICPC ได้ประกาศรับใช้ธรรมนูญฉบับใหม่ และรับชื่อ INTERPOL ซึ่งได้มาจากที่อยู่ย่อทางโทรเลข ที่ได้ใช้ตั้งแต่ปีพ. ศ. 2489

ประวัติ[แก้]

องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ หรือ "อินเตอร์โปล" ก่อตั้งขึ้นมาในปี ค.ศ.1923 เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือทุกองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ที่มีภารกิจในการป้องกันหรือว่าปราบปรามอาชญากรรมระหว่างประเทศ โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเวียนนาเมืองหลวงของออสเตรีย

ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ออสเตรียถูกนาซีเยอรมนีบุกยึดครอง เมื่อออสเตรียกลายเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมัน "อินเตอร์โปล" ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศออสเตรียจึงกลายเป็นหน่วยข้อมูลข่าวสารของตำรวจลับเกสตาโพ

เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 และฝ่ายนาซีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม จึงได้มีความคิดที่จะก่อตั้ง "อินเตอร์โปล" ขึ้นมาอีกครั้งภายใต้ความร่วมมือกันของ อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยียม และประเทศแถบสแกนดิเนเวีย "อินเตอร์โปล" จึงถูกสถาปนาขึ้นมาใหม่ พร้อมทั้งปรับเลี่ยนโครงสร้างและการดำเนินงานใหม่ รวมถึงการย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่เมืองแซงต์ โคลด์ ประเทศฝรั่งเศส แต่ต่อมาได้มีการย้ายไปที่เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส จนถึงปัจจุบัน

องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ เป็นหน่วยงานระหว่างประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากองค์การสหประชาชาติ ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ 187 ประเทศทั่วโลก ดำเนินการโดยใช้เงินสมทบประจำปีจากชาติสมาชิก รวมแล้วประมาณ 30 ล้านยูโร หรือประมาณ 1,466 ล้านบาท

บทบาทหน้าที่[แก้]

หน้าที่หลัก ของ องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ คือ การประสานงานเพื่อความปลอดภัยของประชาชนและป้องกันการก่อการร้าย ขัดขวางและปราบปรามองค์กรอาชญากรรม การลักลอบผลิตและค้ายา การค้าอาวุธ ค้ามนุษย์ การฟอกเงิน การล่วงละเมิดทางเพศเด็ก รวมถึงอาชญากรรมทางการเงิน และการทุจริต

แต่เนื่องจาก องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ ต้องรักษาสถานะความเป็นกลางทางการเมือง จึงไม่ได้มีหน้าที่และบทบาทในการเข้าไปสืบสวนและสอบสวนเรื่องต่างๆ ในประเทศสมาชิกนั้นๆ เอง กล่าวคือไม่ได้บังคับใช้กฎหมายอย่างแท้จริง บทบาทหลักๆ เป็นการส่งผ่านข้อมูลทางตำรวจให้กันและกันในระหว่างประเทศสมาชิกมากกว่า อีกทั้งไม่สามารถเข้าไปข้องเกี่ยวกับคดีใดๆ ที่ไม่ใช่คดีที่มีความเกี่ยวพันกันในหลายประเทศ รวมทั้ง คดีอาชญากรรมการเมือง การทหาร การศาสนา หรือเชื้อชาติด้วย

โครงสร้างขององค์กร[แก้]

  • สมัชชาใหญ่ (General Assembly) เป็นหน่วยงานปกครองสูงสุด มีหน้าที่จัดการการประชุมตัวแทนประเทศสมาชิก เพื่อกำหนดบทบาท นโยบาย ทรัพยากร วิธีการทำงาน การเงิน กิจกรรมและโครงการต่างๆ ขององค์กร
  • คณะกรรมการบริหาร (Executive Committee) ประกอบด้วยสมาชิก 13 คน ได้รับเลือกตั้งโดยสมัชชาใหญ่ และประกอบด้วยประธาน 1 คน รองประธาน 3 คน และสมาชิกอีก 9 คนที่เหลือเป็นตัวแทนที่ครอบคลุม 4 ภูมิภาคต่างๆ ของโลก
  • สำนักเลขาธิการใหญ่ (General Secretariat) บริหารงานโดยเลขาธิการใหญ่ มีสำนักงานย่อยระดับภูมิภาค 6 แห่งอยู่ในอาร์เจนตินา โกตดิวัวร์ เอลซัลวาดอร์ เคนยา ไทย และซิมบับเว และมีสำนักงานเพื่อการประสานงานอยู่ที่สหประชาชาติในนครนิวยอร์กของสหรัฐอเมริกา
  • สำนักงานกลางแห่งชาติ (National Central Bureaus - NCB) ประเทศสมาชิกของอินเตอร์โปลแต่ละประเทศมีสำนักงานกลางแห่งชาตินี้ ที่มีผู้ปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายของชาตินั้นๆ หน่วยงานสำนักงานกลางแห่งชาตินี้มุ่งหมายให้เป็นจุดติดต่อประสานงานสำหรับสำนักเลขาธิการใหญ่ สำนักงานระดับภูมิภาค และประเทศสมาชิกต่างๆ อื่นๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการสอบสวนและการชี้เบาะแสและการจับกุมผู้กระทำผิดที่กำลังหลบหนีอยู่ในระหว่างประเทศ
  • ที่ปรึกษา (Advisers) เป็นบรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ที่มีความสามารถหรือว่าศักยภาพในการให้คำแนะนำต่างๆ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่ปรึกษาเหล่านี้อาจได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารและได้รับการรับรองโดยสมัชชาใหญ่
  • คณะกรรมาธิการสำหรับการควบคุมข้อมูลของอินเตอร์โปล (The Commission for the Control of INTERPOL’s Files) เป็นหน่วยงานอิสระที่มีอำนาจหน้าที่ ในการประกันว่าการประมวลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเป็นไปสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ต่างๆ ของอินเตอร์โปล ให้คำแนะนำอินเตอร์โปลเกี่ยวกับโครงการ ปฏิบัติการ กฎเกณฑ์ หรือว่าเรื่องอื่นๆ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล และมีหน้าที่ประมวลพิจารณาคำร้องขอเกี่ยวกับข้อมูลที่บรรจุอยู่ในไฟล์ข้อมูลของอินเตอร์โปล

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Constitution2008
  2. "General Regulations of the International Criminal Police Organization" (PDF). Interpol, Office of Legal Affairs. 1956. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 February 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2016.