สังโยชน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สังโยชน์ (บาลี: samyojana) คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ

  • โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่
  • อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่
    • 6. รูปราคะ - มีความพอใจในรูปสัญญา
    • 7. อรูปราคะ - มีความพอใจในอรูปสัญญา
    • 8. มานะ - มีความถือตัว ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ความรู้สึกสำคัญตัวว่าดีกว่า เลวกว่า หรือเสมอกัน
    • 9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
    • 10. อวิชชา - มีความไม่รู้ในอริยสัจ 4

พระโสดาบัน ทำสังโยชน์ 3 ข้อให้สิ้นไปได้ คือ สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส

พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ 3 ข้อให้สิ้นไปได้ และมีราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง

พระอนาคามี ทำสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ข้อ หรือโอรัมภาคิยสังโยชน์ให้สิ้นไปได้

พระอรหันต์ ทำสังโยชน์เบื้องต่ำและเบื้องสูงทั้ง 10 ข้อให้สิ้นไปได้

อ้างอิง[แก้]