สลาวอย ชิเชค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สลาวอย ชิเชค
ชิเชคที่ลิเวอร์พูลเมื่อปี 2008
เกิด (1949-03-21) 21 มีนาคม ค.ศ. 1949 (75 ปี)
ลูบลิยานา สาธารณรัฐสังคมนิยมสโลวีเนีย สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย
(ปัจจุบัน ประเทศสโลวีเนีย)
การศึกษามหาวิทยาลัยลูบลิยานา (BA, MA, DA)
มหาวิทยาลัยปารีส VIII (PhD)
ยุค20th-/21st-century philosophy
แนวทางตะวันตก
สำนัก
สถาบัน
ความสนใจหลัก
แนวคิดเด่น
อินเทอร์พาสซีฟวิที
โอเวอร์-ไอเดนทิฟิเคชัน
แฟนตาซีเชิงอุดมคติ (อุดมคติในฐานะแฟนตาซีใต้สำนึกซึ่งประกอบสร้างความจริง)[2]
ฟื้นฟูวัตถุนิยมเชิงเหตุผล

สลาวอย ชิเชค (สโลวีเนีย: Slavoj Žižek; /ˈslɑːvɔɪ ˈʒʒɛk/ ( ฟังเสียง) SLAH-voy-_-zhee-zhek; ภาษาสโลวีเนีย: [ˈslaʋɔj ˈʒiʒɛk]; เกิด 21 มีนาคม 1949) เป็นนักปรัชญาและนักวิจัยชาวสโลวีเนียประจำภาควิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยลูบลิยานา และผู้อำนวยการนานาชาติประจำสถาบันมุนษย์เบิร์คเบ็ค มหาวิทยาลัยลอนดอน[4] เขามีผลงานในสาขาของปรัชญาภาคพื้นทวีป, จิตวิเคราะห์, ทฤษฎีการเมือง, วัฒนธรรมศึกษา, การวิจารณ์ศิลปะ, การวิจารณ์ภาพยนตร์, ลัทธิมาร์กซิสต์, ลัทธิเฮเกล และ เทววิทยา

ในปี 1989 เขาตีพิมพ์หนังสือภาษาอังกฤษเล่มแรกในขื่อ The Sublime Object of Ideology ที่ซึ่งเขาเสนอแนวคิดที่ออกห่างจากทฤษฎีมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิมเพื่อสร้างแนวคิดเกี่ยวกับอุดมการณ์ที่มีลักษณะวัตถุนิยมเชิงวิเคราะห์มากขึ้น ผ่านการมองด้วยจิตวิเคราะห์ลาคานและอุดมคตินิยมแบบเฮเกล[5][2] งานเชิงทฤษฎีของเขาเริ่มมีลักษณะการเมืองขึ้นในทศวรรษ 1990s ผ่านการวิเคราะห์และวิจารณ์วัฒนธรรมสมัยนิยมรูปแบบต่าง ๆ จนทำให้เขาเป็นที่นิยมอย่างมากในวงการวิชาการฝ่ายซ้าย[5][6] ในปี 2005 มีการเผยแพร่ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Zizek! ซึ่งเล่างานเชียนของชิเชคตามลำดับเวลา รวมถึงมีการตั้งวารสารในชื่อ International Journal of Žižek Studies โดยศาสตราจารย์ David J. Gunkel และ Paul A. Taylor เพื่อใช้พูดคุยเกี่ยวกับงานเขียนของชิเชคโดยเฉพาะ[7][8]

รูปแบบแปลกใหม่ของชิเชค, ผลงานวิชาการที่เป็นที่นิยมไปทั่ว, งานออปเอ็ดบ่อยครั้งบนนิตยสาร และการปรับเข้ากันระหว่างวัฒนธรรมชั้นสูงและชั้นต่ำ ทำให้เขาเป็นที่รู้จักทั่วโลก มีผู้ติดตาม กรณีถกเถียง คำวิพากษ์วิจารณ์ รวมถึงผู้ติดตามจำนวนมากนอกวงการวิชาการ[9][10][11][12][13] ในปี 2012 ชิเชคปรากฏรายชื่อบนนักคิดของโลก 100 คน โดย Foreign Policy ซึ่งเรียกเขาในฐานะ "นักปรัชญาเซเลบริตี"[14] นอกจากนี้ชิชเคยังเคยได้รับฉายสว่าเป็น "เอลวิสของวงการทฤษฎีวัฒนธรรม"[15], "นักปรัชญาที่อันตรายที่สุดในโลกตะวันตก"[16], "ชาวสำนักเฮเกลแนวหน้าตลอดกาล" และในปี 2013 Rothenberg กับ Khadr เรียกเขาว่าเป็น "ผู้อธิบายแนวหน้าที่สุดของสำนักทฤษฎีลาคาน"[17]

อ้างอิง[แก้]

  1. Bostjan Nedoh (ed.), Lacan and Deleuze: A Disjunctive Synthesis, Edinburgh University Press, 2016, p. 193: "Žižek is convinced that post-Hegelian psychoanalytic drive theory is both compatible with and even integral to a Hegelianism reinvented for the twenty-first century."
  2. 2.0 2.1 "Slavoj Žižek," by Matthew Sharpe, The Internet Encyclopedia of Philosophy, ISSN 2161-0002, http://www.iep.utm.edu/zizek/. 27 September 2015.
  3. Kotsko, Adam (2008). "Politics and Perversion: Situating Žižek's Paul" (PDF). Journal for Cultural and Religious Theory. 9 (2): 48. ISSN 1530-5228. สืบค้นเมื่อ 19 December 2018.
  4. "Slavoj Zizek - International Director — The Birkbeck Institute for the Humanities, Birkbeck, University of London".
  5. 5.0 5.1 "Slavoj Zizek - Slovene philosopher and cultural theorist".
  6. Kirk Boyle. "The Four Fundamental Concepts of Slavoj Žižek's Psychoanalytic Marxism." International Journal of Žižek Studies. Vol 2.1. (link)
  7. "About the Journal". สืบค้นเมื่อ 1 May 2019. The International Journal of Žižek Studies (IJŽS) is an online, peer-reviewed academic journal devoted to investigating, elaborating, and critiquing the work of Slavoj Žižek.
  8. Gunkel, David J; Taylor, Paul A, บ.ก. (31 October 2019). Žižek Studies. www.peterlang.com (ภาษาอังกฤษ). doi:10.3726/b15734. ISBN 9781433147197. สืบค้นเมื่อ 26 November 2019.
  9. Germany, SPIEGEL ONLINE, Hamburg. "SPIEGEL Interview with Slavoj Zizek: 'The Greatest Threat to Europe Is Its Inertia'".
  10. Brown, Helen (5 July 2010). "Slavoj Zizek: the world's hippest philosopher".
  11. Engelhart, Katie (30 December 2012). "Slavoj Zizek: I am not the world's hippest philosopher!".
  12. O'Hagan, Sean (13 January 2013). "Slavoj Žižek: a philosopher to sing about". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 13 January 2013.
  13. "Žižek – The most dangerous thinker in the west?". 23 September 2010.
  14. "The FP Top 100 Global Thinkers". Foreign Policy. 26 พฤศจิกายน 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2012.
  15. "International Journal of Žižek Studies, home page". สืบค้นเมื่อ 27 December 2011.
  16. "Slavoj Zizek - VICE - United Kingdom". 4 October 2013.
  17. Burgum, Samuel (12 June 2013). "Žižek now: current perspectives in Žižek studies". Information, Communication & Society. 17 (3): 385–386. doi:10.1080/1369118x.2013.808370. ISSN 1369-118X. S2CID 143504722.

ผลงานที่อ้างอิง[แก้]

  • Canning, P. "The Sublime Theorist of Slovenia: Peter Canning Interviews Slavoj Žižek" in Artforum, Issue 31, March 1993, pp. 84–9.
  • Sharpe, Matthew, Slavoj Žižek: A Little Piece of the Real, Hants: Ashgate, 2004.
  • Parker, Ian, Slavoj Žižek: A Critical Introduction, London: Pluto Press, 2004.
  • Butler, Rex, Slavoj Žižek: Live Theory, London: Continuum, 2004.
  • Kay, Sarah, Žižek: A Critical Introduction, London: Polity, 2003.
  • Myers, Tony, Slavoj Žižek (Routledge Critical Thinkers)London: Routledge, 2003.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิดีโอจากแหล่งข้อมูลภายนอก
Slavoj Zizek on Yellow Vests. How to Watch the News, Episode 01 ที่ยูทูบ