สยามโมไทรันนัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคครีเทเชียสตอนต้น, 145–125Ma
สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส ในแสตมป์ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย
สถานะการอนุรักษ์
ฟอสซิล
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Sauropsida
อันดับใหญ่: Dinosauria
อันดับ: Saurischia
อันดับฐาน: Theropoda
วงศ์: Metriacanthosauridae
สกุล: Siamotyrannus
สปีชีส์: S.  isanensis

สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส[1] (อังกฤษ: Siamotyrannus isanensis) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด ลำตัวยาวประมาณ 6.5 เมตร ชื่อของมันหมายถึง"ทรราชแห่งสยามจากภาคอีสาน" พบกระดูกเป็นครั้งแรกที่หลุมขุดค้นที่ 9 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น โดยนายสมชัย เตรียมวิชานนท์ นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี เมื่อปี พ.ศ. 2536 พบอยู่ในเนื้อหินทรายเนื้อแน่นหมวดหินเสาขัว ยุคครีเทเชียสตอนต้น ชิ้นส่วนกระดูกประกอบด้วยกระดูกสะโพก 1 ชิ้น กระดูกเชิงกรานด้านซ้าย ที่วางตัวฝังอยู่ใต้กระดูกสันหลัง ลักษณะของกระดูกเปรียบเทียบได้กับของไดโนเสาร์วงศ์ไทรันนอซอริดี ลักษณะไม่เคยมีรายงานการค้นพบจากที่ใดๆในโลกมาก่อน จึงพิจารณาให้เป็นสกุลและชนิดใหม่ คือ สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส[1]

ลักษณะของกระดูกพิจารณาได้ว่าเป็นของไดโนเสาร์วงศ์ไทรันโนซอร์ มีลักษณะเก่าแก่โบราณมากกว่าไดโนเสาร์ในวงศ์เดียวกันที่ค้นพบจากแหล่งอื่นๆมากกว่าถึงประมาณ 20 ล้านปี ทำให้สันนิษฐานได้ว่าไดโนเสาร์วงศ์นี้อาจมีถิ่นกำเนิดและวิวัฒนาการขึ้นเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชียแล้วแพร่กระจายพันธุ์ออกไปจนถึงอเมริกาเหนือในช่วงปลายยุคครีเทเชียส แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จัดอยู่อีกวงศ์คือ Metriacanthosauridae เนื่องจากภายหลังนั้นพบว่ามีหลายส่วนที่บ่งบอกได้ว่าอยู่ใน วงศ์นี้และ สยามโมไทรันนัส อาจจะเป็นญาติของอัลโลซอรัส เพราะไดโนเสาร์ตระกูลนี้อยู่ในวงศ์ แมทเทียนแคนโทรซอรัส

อ้างอิง[แก้]

  • Buffetaut, E., Suteethorn, V., and Tong, H. (1996) The earliest known tyrannosaur from the Lower Cretaceous of Thailand. Nature 381(20).
  • วิฆเนศ ทรงธรรม และ เบญจา เสกธีระ (2549) ไดโนเสาร์ภูเวียง เจ้าฟ้าสิรินธร กรมทรัพยากรธรณี กรุงเทพมหานคร 100 หน้า
  1. 1.0 1.1 "ไดโนเสาร์โคราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-02. สืบค้นเมื่อ 2011-05-06.