สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระสันตะปาปา ผู้น่าเคารพ

ปิอุสที่ 12

Pius XII
บิชอปแห่งกรุงโรม
สมณนามPapa Pius Duodecimus (ละติน)
เริ่มวาระ2 มีนาคม ค.ศ. 1939
สิ้นสุดวาระ9 ตุลาคม ค.ศ. 1958
องค์ก่อนปิอุสที่ 11
องค์ถัดไปจอห์นที่ 23
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระนามเดิมEugenio Maria Giuseppe Giovanni Pacelli
ประสูติ2 มีนาคม ค.ศ. 1876(1876-03-02)
กรุงโรม ราชอาณาจักรอิตาลี
สิ้นพระชนม์9 ตุลาคม ค.ศ. 1958(1958-10-09) (82 ปี)
ข้อมูลอื่น
บวชเมื่อ2 เมษายน ค.ศ. 1899
พระอภิไธยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12's signature

สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 (ละติน: Pius Papa XII) พระสันตะปาปาพระองค์ที่ 260 พระประมุขแห่งนครรัฐวาติกัน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1939 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1958 มีพระนามเดิมว่า เอวเจนีโอ มาเรีย จูเซปเป โจวันนี ปาเชลลี

ก่อนได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปา พระองค์เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการกรรมการคริสตจักรวิสามัญ เอกอัครสมณทูตประจำประเทศเยอรมนี (ค.ศ. 1917 - 1929) และพระคาร์ดินัลเลขาธิการแห่งรัฐ ในช่วงนี้พระองค์ได้แสดงพระปรีชาสามารถในการทำสนธิสัญญากับชาติยุโรปและละตินอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำความตกลงไรช์คอนคอร์ดัทกับรัฐบาลนาซีเยอรมนี เพื่อปกป้องคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศเยอรมนีเวลานั้น และการที่พระองค์ไม่เอ่ยถึงชะตากรรมของชาวยิวต่อสาธารณชน[1] ก็ทำให้พระองค์ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก แต่นอกจากนั้นเบื้องหลัง พระสันตปาปาได้มีส่วนรู้ร่วมเห็นกับการลอบสังหารฮิตเลอร์ของเหล่าผู้บัญชาการระดับสูงเยอรมันที่มีความเกลียดต่อฮิตเลอร์ทั้งในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์ได้ให้ความช่วยเหลือแก่พวกเขาว่าจะเป็นผู้ประสานงานกับอังกฤษให้ยอมรับรัฐบาลชุดใหม่หลังนาซีถูกโค่นล้ม เนื่องจากความหวังที่จะหยุดยั้งการฆ่าล้างเผ่าของนาซีในทวีปยุโรป การกระทำของพระองค์นั้นเกือบจะตกเป็นเป้าหมายของนาซี

เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง พระองค์เน้นพระกรณียกิจด้านการส่งเสริมสันติภาพและการปรองดอง รวมทั้งใช้มาตรการที่อ่อนโยนต่อประเทศฝ่ายอักษะ ในสมณสมัยของพระองค์เป็นช่วงที่มีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกอย่างรุนแรงในประเทศค่ายตะวันออก ในด้านบทบาททางการเมืองในประเทศอิตาลี พระองค์มีส่วนสำคัญในการต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอิตาลี และให้ตัดขาดผู้สนับสนุนพรรคนี้ออกจากศาสนจักร

สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที 12 ยังใช้สิทธิ์การไม่ผิดพลั้งโดยอำนาจสูงสุดของพระสันตะปาปาเพื่อประกาศในสมณธรรมนูญ Munificentissimus Deus ปี ค.ศ. 1950 ว่าเรื่องแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์เป็นคำสอนต้องเชื่อ[2] นอกจากนี้ยังทรงออกคำปราศรัยและกระจายเสียงทางวิทยุเกือบ 1,000 ครั้ง ออกพระสมณสาสน์ 41 ฉบับ ที่สำคัญเช่น Mystici Corporis เกี่ยวกับคริสตจักรเป็นพระกายของพระคริสต์ Mediator Dei เกี่ยวกับการปฏิรูปพิธีกรรม และ Humani generis เกี่ยวกับท่าทีของศาสนจักรต่อหลักเทววิทยาและวิวัฒนาการ

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2009 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ได้ประกาศให้สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 เป็น "ผู้น่าเคารพ"[3] ซึ่งเป็นกระบวนการชั้นต้นของการประกาศเป็นนักบุญต่อไป

อ้างอิง[แก้]

  1. Introduction, Gerard Noel, Pius XII,The Hound of Hitler-, and "brief phases of reassurance about the role of the Pope were followed by waves of critical literature[-] and counteracted the process of exoneration that had been underway for some years. The focus of recent analyses by John Cornwell via Michael Phayer, Susan Zucotti, Daniel J. Goldhagen, and Giovanni Miccoli, as well as works by authors Matteo Napolitano and Andrea Torniello, is once again about the Pope's silence about the murder of Jews in Europe -the papal archives could provide information about Vatican diplomacy between 1933 and 1945; however, the Vatican remains the only European state that withholds free access to its archives from contemporary historians. The archives of these years are crucial if many questions about the Holocaust and the Second World War are to be answered and if the many uncertainties concerning Nazi refugee assistance by the Vatican are to be removed." (Gerald Steinacher:Nazis on the Run, p. 105)
  2. Encyclopedia of Catholicism by Frank K. Flinn, J. Gordon Melton; ISBN 0-8160-5455-X, p. 267
  3. Pitel, Laura (19 December 2009). "Pope John Paul II and Pope Pius XII move closer to sainthood". London: The Times. สืบค้นเมื่อ 25 September 2011.
ก่อนหน้า สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 ถัดไป
สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11
พระสันตะปาปา
(ค.ศ. 1939 — ค.ศ. 1958)
สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23