รอย ลิกเทนสไตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รอย ลิกเทนสไตน์
เกิดรอย ฟอกซ์ ลิกเทนสไตน์
27 ตุลาคม ค.ศ. 1923(1923-10-27)
นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต29 กันยายน ค.ศ. 1997(1997-09-29) (73 ปี)
อาชีพศิลปิน, ช่างเขียนแบบ
แนวร่วมในทางวรรณคดีป็อปอาร์ต

รอย ฟอกซ์ ลิกเทนสไตน์ (อังกฤษ: Roy Fox Lichtenstein; 27 ตุลาคม ค.ศ. 1923 – 29 กันยายน ค.ศ. 1997) เป็นศิลปินป็อปอาร์ตชาวอเมริกัน ที่มีผลงานโดดเด่นร่วมกับศิลปินอื่น ๆ อาทิ แอนดี วอร์ฮอล, แจสเปอร์ จอนส์ และเจมส์ โรเซนควิสต์ งานของเขาเป็นการนิยามสมมติฐานเบื้องต้นมากกว่าการล้อเลียน ซึ่งงานส่วนมากได้รับแรงบันดาลใจหลักมาจากบทการ์ตูน ลิกเทนสไตน์ผลิตผลงานที่มีองค์ประกอบค่อนข้างแม่นยำ งานของเขาได้รับอิทธิพลจากโฆษณาที่โด่งดัง และหนังสือการ์ตูน รอยได้กล่าวว่า ป็อปอาร์ตไม่ใช่ภาพเขียนแนวอเมริกัน แต่เป็นภาพเขียนแนวอุตสาหกรรม ภาพเขียนของเขาได้จัดแสดงในหอศิลป์เลโอ กัสเตลลี (Leo Castelli) ในนครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2013 อีกทั้งภาพ Woman with Flowered Hat ได้รับการประมูลในราคาที่สูงที่สุด

ชีวิตวัยเยาว์[แก้]

รอย ลิกเทนสไตน์ เกิดในนครนิวยอร์ก ในครอบครัวชาวยิวชนชั้นกลาง พ่อของเขาทำอาชีพนายหน้าค้าที่ และแม่ของเขาเป็นแม่บ้าน เขาเข้าเรียนโรงเรียนเอกชนจนถึงอายุ 12 ปี และสมัครเข้าโรงเรียนมัธยมชายล้วนแฟรงคลิน (Franklin) ในนิวยอร์ก ลิกเทนสไตน์มีความสนใจในศิลปะและการออกแบบ อีกทั้งยังชื่นชอบและหลงไหลในดนตรีแจ๊สอีกด้วย เขาชอบวาดภาพเหมือนกลุ่มนักดนตรีในขณะแสดงดนตรี ในปี ค.ศ. 1939 ปีสุดท้ายในการเรียนมัธยมของเขา ลิกเทนสไตน์ได้สมัครเข้าเรียนภาคฤดูร้อนที่ Art Students League of New York ซึ่งเขาได้ทำงานภายใต้การสั่งสอนของเรจินัล มาร์ช

อาชีพ[แก้]

หลังจากที่ลิกเทนสไตน์เดินทางออกจากนครนิวยอร์กเพื่อไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอ ในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ แต่แล้วการเรียนของเขาก็ถูกระงับไว้ชั่วคราว เนื่องจากเขาต้องเข้าถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารในกองทัพ ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างปี ค.ศ. 1943 ถึง 1946 หลังจากที่การฝึกภาษา วิศวกรรม และนักบิน ถูกยกเลิก เขาจึงไปทำงานเป็นช่างเขียนแบบ และศิลปินแทน

ลิกเทนสไตน์ได้กลับไปเยี่ยมพ่อของเขา และพบว่าพ่อของเขาได้เสียชีวิตลงแล้ว เขาได้ออกจากกองทัพเพื่อเข้ากลุ่ม G.I.Bill ลิกเทนสไตน์ได้กลับเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา Hoyt L. Sherman ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงอย่างกว้างขวาง และยังเป็นอิทธิพลสำคัญในรูปแบบงานของรอยในอนาคตอีกด้วย

หลังจากที่ลิกเทนสไตน์จบการศึกษาจากรัฐโอไฮโอ เขาได้รับเข้าทำงานในตำแหน่งครูสอนศิลปะ และเขาอยูในตำแหน่งนี้เป็นเวลานานถึง 10 ปี ใน ค.ศ. 1949 เขาจบการศึกษาระดับปริญญาโทจากรัฐโอไฮโอในสาขาวิจิตรศิลป์

ใน ค.ศ. 1951 ลิกเทนสไตน์ได้รับงานเดี่ยวเป็นครั้งแรก โดยจัดแสดงที่หอศิลป์ Carlebach ในนิวยอร์ก เขาได้ย้ายไปเมืองคลีฟแลนด์และได้อยู่ที่นั่นเป็นเวลา 6 ปี อย่างไรก็ตามเขายังคงเดินทางกลับไปที่นิวยอร์กอยู่บ่อย ๆ ในช่วงเวลาดังกล่าวเขาได้รับจ้างงานเล็ก ๆ น้อย ๆ มากมาย อาทิเช่น ช่างเขียนแบบ ไปจนถึง ช่างตกแต่งหน้าร้าน งานของลิกเทนสไตน์ในช่วงเวลานี้จะแสดงถึงอิทธิพลของงานบาศกนิยม (cubism) และลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ (expressionism) สลับกันไป 3 ปีหลังจากที่เขาได้แสดงงานเดียว ลูกชายคนแรกของเขา เดวิด ฮอยต์ ลิกเทนสไตน์ (ปัจจุบันเป็นนักแต่งเพลง) ได้กำเนิดขึ้น และ 2 ปีหลังจากนั้น ลูกชายคนที่ 2 ของเขา มิตเชลล์ ลิกเทนสไตน์ได้กำเนิดขึ้น

ใน ค.ศ. 1957 เขาได้ย้ายกลับไปอยู่ที่นิวยอร์ก และกลับมาเริ่มสอนหนังสืออีกครั้ง ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวนี้งานของเขาได้รับอิทธิพลลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม (abstract expressionism) ในช่วงปลายของกระแสศิลปะรูปแบบนี้แล้ว ใน ค.ศ. 1958 ลิกเทนสไตน์เริ่มสอนที่มหาวิทยาลัยรัฐนิวยอร์ก ณ ออสวีโก (State University of New York at Oswego) ช่วงเวลานี้ที่ลิกเทนสไตน์ได้เริ่มนำตัวการตูนต่าง ๆ อาทิ มิกกี้ เมาส์ และบักส์ บันนี แทรกเข้าไปในงานศิลปะนามธรรมของเขา

การพัฒนาสู่งานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ[แก้]

ใน ค.ศ. 1960 ลิกเทนสไตน์เริ่มสอนที่มหาวิทยาลัยรัตเกอส์ (Rutgers) ช่วงนี้เขาได้รับอิทธิพลอย่างมาจากแอลลัน แคพราว ซึ่งเป็นอาจารย์ที่สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยเดียวกันกับเขา จากบริบทรอบข้างทำให้เขาสนใจในภาพแบบ Protopop ในปีต่อมาลิกเทนสไตน์ได้สร้างงานจิตกรรมแนวป็อปเป็นชิ้นแรก โดยใช้ภาพแบบตัวการ์ตูนและเทคนิคที่ได้มาจากแผ่นป้ายโฆษณา ซึ่งกระแสความนิยมรูปแบบนี้ ได้ต่อเนื่องไปถึงปี 1965 รวมไปถึงการการใช้ป้ายโฆษณาเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และอุตสาหกรรมในครัวเรือน งานแรกของเขาเป็นงานขนาดใหญ่ โดยใช้เทคนิคแบบตัดเส้นหนา และ จุดแบบ Ben-Day งานแรกที่ออกมาคือ Look Mickey งานชิ้นนี้เกิดจากคำท้าทายของลูกชาย โดยลูกชายของเขาได้ชี้ไปที่ภาพการ์ตูนมิกกี้ เมาส์ และกล่าวว่า "พ่อไม่มีทางวาดได้ดีเท่านั้นหรอก" ในปีเดียวกันนี้ เขาได้สร้างงานอื่น ๆ ขึ้นอีก 6 ชิ้นโดยสร้างมาจากตัวละครในการ์ตูนและกระดาษห่อหมากฝรั่ง

ใน ค.ศ. 1961 เลโอ กัสเตลลีได้จัดแสดงงานของลิกเทนสไตน์ที่หอศิลป์ของเขาในนิวยอร์ก ซึ่งลิกเทนสไตน์ถือเป็นศิลปินคนแรกที่ได้จัดแสดงงานเดี่ยวเป็นของตนเองในหอศิลป์กัสเตลลีเพียงผู้เดียว ใน ค.ศ. 1962 งานทั้งหมดในชุดนี้ได้ถูกซื้อโดยนักสะสมตั้งแต่ก่อนงานจะได้รับการจัดแสดง ภาพเขียนทั้งหมดในชุดนี้ได้สร้างขึ้นในช่วง 1961-1962 โดยมุ่งเน้นไปที่อุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้าน เช่น รองเท้าผ้าใบ ฮอตดอก และลูกกอล์ฟ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1963 เขาลาออกจากตำแหน่งอาจารย์มหาวิทยาลัย Douglass ที่ Rutgers

ช่วงชีวิตที่มีชื่อเสียง[แก้]

ในช่วงเวลานี้ ลิกเทนสไตน์เริ่มออกไปแสวงหาชื่อเสียงไม่ใช่แค่ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ไปทั่วโลก เขาลาออกจากมหาวิทยาลัยในปี ค.ศ. 1963 และกลับมานิวยอร์ก ศูนย์กลางของศิลปะเพื่อจดจ่อในงานจิตรกรรม ลิกเทนสไตน์ใช้น้ำมันและสีแมกนาในการผลิตผลงานจิตรกรรมที่ดังที่สุดของเขา เช่น drowning girl 1963 (ปัจจุบันแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ ในนิวยอร์ก) ได้รับแรงบันดาลใจจาก Dc comics' secret heart เล่มที่ 83 ภาพนี้ใช้การวาดภาพแบบเส้นขอบหนา สีทึบ และการจุด ซึ่งมีเค้าโครงที่ได้อิทธิพลจากงานภาพถ่าย งานของลิกเทนสไตน์เปรียบได้ว่าเป็นการใส่บางสิ่งบางอย่างลงบนผืนผ้าใบ เพื่อตอบสนองกับสิ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้สีและขนาด เขายังกล่าวอีกว่ารูปแบบงานของเขานั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิง แต่ก็การใช้เส้นก็ยังคงเป็นแบบเดิม เพียงแต่งานของเขามีรูปที่แตกต่างไปจากงานของแจ็กสัน พอลล็อก และฟรานซ์ ไคลน์

นอกเหนือไปจากการที่เขาพยายามทำซ้ำในหัวข้อเดิม ๆ งานของเขายังเป็นการจัดการโต้ตอบกับกลุ่มสื่อสารมวลชนที่กล่าวถึงงานของเขา เขาเคยกล่าวถึงงานของเขาว่าต่างจากการ์ตูนลายเส้น แต่เขาก็จะไม่เรียกว่ามันคือการเปลี่ยนรูปแบบ เพราะเขาไม่คิดว่าอะไรก็ตามที่ใช้เรียกมันจะมีความสำคัญต่อศิลปะ และเมื่องานของเขาได้ถูกจัดแสดงครั้งแรก มีนักวิจารณ์หลายคนมาท้าทายแก่นของงาน งานของเขาถูกวิจารณ์อย่างรุนแรงว่าเป็นงานที่หยาบคายและว่างเปล่า พาดหัวของนิตยสารไลฟ์ในปี ค.ศ. 1964 มีคำถามที่ว่าเขาเป็นศิลปินที่แย่ที่สุดในอเมริกาหรือไม่ เขาจึงโต้ตอบกลับว่ายิ่งเข้าไปใกล้แก่นของงานเขา ก็จะยิ่งเกิดการวิจารณ์และการคุกคามเนื้อหางาน แต่อย่างไรก็ตามงานของเขาถูกเปลี่ยนโดยสิ้นเชิงเพราะมันแตกต่างจากสิ่งที่เขาต้องการแสดงออกมา งานของเขาถูกปฏิรูปเพราะสิ่งที่เขาคิดแตกต่างจากสิ่งที่คนอื่นวิจารณ์ เพราะงานของเขาถูกเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปไปในทางที่อคติ เขาเลยไม่สามารถนำเหตุผลใดมาโต้แย้งได้เลย เขากล่าวถึงการวิจารณ์อย่างหนักหน่วงลงในเอพริล เบอร์นาร์ด และมิมี่ ทอมสัน ในปี1986 ว่าเขาไม่เคยสงสัยและมีคำถามในระหว่างที่เขากำลังสร้างงาน การวิจารณ์เป็นสิ่งที่ให้เขาตั้งคำถามกับมัน

รูปภาพที่โด่งดังและถูกพูดถึงอย่างมากของเขา คืองานที่มีชื่อว่า Whaam! (วาดขึ้นในปี ค.ศ. 1963 ปัจจุบันแสดงอยู่ที่หอศิลป์เทตมอเดิร์น ลอนดอน) ได้รูปแบบมาจาก ภาพการ์ตูนบนผืนผ้าใบ ในปี ค.ศ. 1962 เป็นหนึ่งเรื่องใน หนังสือการ์ตูนชื่อ DC Comics' All-American Men of War เป็นภาพที่เล่าถึงการยิงระเบิดใส่กันระหว่างเครื่องบินรบ เป็นภาพการ์ตูนที่เริ่มใช้การสร้างคำโดยเลียนเสียงธรรมชาติ และการใส่กล่องข้อความ มีขนาด 1.7 x 4.0 เมตร ภาพนี้เป็นหนึ่งในภาพที่มีชื่อเสียงอย่างมากของเขา เป็นภาพเกี่ยวกับสงครามซึ่งมีขนาดใหญ่ จัดแสดงที่หอศิลป์เลโอ กัสเตลลี ในปี ค.ศ. 1963 ต่อมาหอศิลป์เทตซื้อภาพนี้ไปในปี ค.ศ. 1966

ลิกเทนสไตน์เริ่มทดลองทำงานประติมากรรมในช่วงปี ค.ศ. 1964 ทำให้เห็นที่ความสามารถของลิกเทนสไตน์ในการพยายามคงรูปแบบงานที่เรียบแบนแบบภาพวาดของเขา ภาพ Fore Head of Girl (1964) และภาพ Head with Red Shadow (1965) เป็นงานที่เขาได้ร่วมงานกับนักปั้นเซรามิค ซึ่งเป็นคนปั้นส่วนศีรษะจากดินเหนียว หลังจากนั้นลิกเทนสไตน์นำมาประยุกต์โดยการเคลือบเพื่อให้กลายเป็นงานแบบเดียวกันงานที่มีลวดลายแบบกราฟิก ซึ่งเขาเคยใช้ในงานจิตรกรรม เป็นการประยุกต์โดยใช้เส้นสีดำและเทคนิคการจุดแบบ ben day ให้ออกมาเป็น3มิติที่ปรากฏรูปแบบแบนราบ

แจ็ก คาวเวิร์ต กรรมการบริหารมูลนิธิลิกเทนสไตน์คัดค้านแนวคิดที่ว่า ลิกเทนสไตน์คือผู้ที่ทำงานโดยคัดลอกจากต้นฉบับ เขากล่าวว่า งานของรอยคือความพิศวงของสูตรการวาดเขียนและการรวมอารมณ์ที่สร้างโดยผู้อื่น แผ่นรูปถูกเปลี่ยนขนาด สี การบำรุง และเปลี่ยนความหมายของพวกมัน มันไม่ใช่การลอกเลียนซะทีเดียว อย่างไรก็ตามบางส่วนของงานของลิกเทนสไตน์ถูกวิจารณ์เกี่ยวกับการใช้ภาพในหนังสือการ์ตูนและชิ้นงานศิลปะ ตราบใดที่การใช้นั้นได้รับการลงนามรับรองโดยมุมมองของผู้อุปถัมภ์จากการ์ตูน นักเขียนการ์ตูน อาร์ต สปีเกลแมน ให้ความเห็นว่า ลิกเทนสไตน์ ไม่ได้ทำสิ่งใดในวงการการ์ตูนมากไปกว่าที่แอนดี วอร์ฮอล ทำให้กับซุป

ลิกเทนสไตน์ทำงานโดยมีพื้นฐานมาจากการขยายภาพจากหนังสือการ์ตูน ซึ่งก่อให้เกิดการอภิปรายอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับคุณค่าของมันในด้านศิลปะ ลิกเทนสไตน์ ยอมรับว่า "ผมเป็นนักลอกเลียนแบบตามที่ได้เรียกกันมา แต่ผมเน้นย้ำในสิ่งที่ลอกเลียนมาในขอบเขตอื่น ในการทำเช่นนั้น ภาพต้นแบบจะได้รับองค์ประกอบที่ต่างกันอย่างชัดเจน มันไม่ใช่การปาดแปรงหนา หรือบาง แต่มันเป็นจุดสี และสีแต้มแบน ๆ และเส้นแข็ง ๆ" เอดดี แคมป์เบลล์เขียนบล็อกถึงลิกเทนสไตน์ว่า "นำภาพเล็ก ๆ ที่เล็กกว่าฝ่ามือ มาพิมพ์ด้วยหมึกสี่สีบนกระดาษหนังสือพิมพ์ และขยายเป็นขนาดปกติของงานศิลปะ และจัดแสดง และจบด้วยการวาดมันลงบนผ้าใบ แคมป์เบลล์ยังได้อ้างอิงคำพูดของแจ็ก คาวเวิร์ตอีกด้วย ในเรื่องที่เกี่ยวกับลิกเทนสไตน์ บิล กลิฟฟิท ซึ่งครั้งหนึ่งเคยกล่าวว่า "มันมีทั้งงานศิลปะชั้นสูง และงานศิลปะชั้นต่ำ ศิลปะชั้นสูงก็สามารถต่ำได้ เพียงนำมันออกจากบริบทของศิลปะชั้นสูง จัดสรรและยกระดับให้มันเป็นอย่างอื่น"

แม้ว่าพื้นฐานการทำการ์ตูนของลิกเทนสไตน์จะเป็นที่ยอมรับโดยกว้างขวางแล้ว แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ยังคงมีการเอ่ยถึงจากนักวิจารณ์ที่กล่าวว่า ลิกเทนสไตน์ไม่ได้ให้เครดิต ไม่จ่ายค่าลิขสิทธิ์ใด ๆ หรือขออนุญาตจากศิลปินต้นฉบับหรือผู้ถือครองลิขสิทธิ์ ในการสัมภาษณ์ให้บีบีซีทั้ง 4 สารคดี ใน ค.ศ. 2013 แอลัสเตอร์ ซุก ได้ถามเดฟ กิบบอนส์ ศิลปินผู้วาดหนังสือการ์ตูนว่า เขาคิดว่าลิกเทนสไตน์ได้ขโมยความคิดหรือไม่ กิบบอนส์ตอบว่า ผมอาจกล่าวได้ว่ามันเป็นการเลียนแบบ ในวงการดนตรี ยกตัวอย่างว่าคุณไม่อาจจะผิวปากในทำนองของคนอื่นหรือเล่นทำนองของคนอื่น ไม่ว่ามันจะแย่ขนาดไหน โดยไม่ให้เครดิต และจ่ายให้ศิลปินต้นฉบับ นั่นคือการพูดว่า นี่คือ "WHAAM!" โดยรอย ลิกเทนสไตน์ ซุกกล่าวอีกว่า "ลิกเทนสไตน์ดัดแปลงงานของโนวิกในวิธีที่ฉลาด"

Ernesto Priego อาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยนครลอนดอน ให้ความเห็นว่า การที่ลิกเทนสไตน์ล้มเหลวในการให้เครดิตแก่ผู้สร้างดั้งเดิมของงานภาพการ์ตูนของเขา คือการสะท้อนการตัดสินใจของสำนักพิมพ์วารสารรายคาบแห่งชาติ (ต้นกำเนิดดีซีคอมิกส์) ที่จะละเว้นการให้เครดิตของนักเขียนและศิลปินของพวกเขา

ในบันทึกที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1998 โนวิกกล่าวว่าเขาได้พบกับลิกเทนสไตน์ในกองทัพใน ค.ศ. 1947 และเป็นผู้บังคับบัญชาของลิกเทนสไตน์ เขาได้ตอบสนองต่อข้อร้องเรียนของลิกเทนสไตน์ เกี่ยวกับงานที่ต่ำต้อย เขาได้แนะนำให้ลิกเทนสไตน์ไปหางานที่ดีกว่า กาบีลีแยกล่าวว่า ลิกเทนสไตน์ได้จากกองทัพไปก่อนที่คำพูดในเหตุการณ์ของโนวิกได้เกิดขึ้น บาร์ต บีตีกล่าวว่า "เรื่องราวของนอร์วิคดูเหมือนจะเป็นความพยายามส่วนตัวที่จะลดชื่อเสียงของศิลปิน"

ใน ค.ศ. 1996 ลิกเทนสไตน์ได้เปลี่ยนรูปแบบงานจากช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 และเริ่มต้นวาดภาพชุด Modern Painting ซึ่งมีมากกว่า 60 รูป เขาใช้เทคนิคจุดแบบ Ben Day และรูปทรงเรขาคณิตและเส้น ท้าทายภาพให้เด่นไปจากโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่ดูเหมือน ๆ กัน รูปแบบที่ยืมจากอลังการศิลป์ (art deco) และอารมณ์อันละเอียดอ่อนอื่น ๆ มักมาจากลวดลายที่มีลำดับ ชุด Modern Sculpture ในช่วงปี ค.ศ. 1967-1968 ทำให้เกิดการอ้างอิงถึงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมจากอลังการศิลป์

ผลงานในช่วงหลัง[แก้]

ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 ลิกเทนสไตน์ได้ผลิตซ้ำผลงานชิ้นเอกของปอล เซซาน, ปีต โมนดรียาน และปาโบล ปีกัสโซ ก่อนที่จะเริ่มสร้างผลงานชุดลายฝีแปรงขึ้นใน ค.ศ. 1965 ลิกเทนสไตน์ กลับมาใช้เทคนิคนี้อีกครั้งภายหลังจากผลงาน Bedroom at Arles ที่ได้รับมาจากผลงานชื่อเดียวกันกับของฟินเซนต์ ฟัน โคค ใน ค.ศ. 1970 ลิกเทนสไตน์ถูกว่าจ้างโดย the Los Angeles County Museum of Art ให้สร้างภาพยนตร์โดยการช่วยเหลือของ Universal Film Studios โดยศิลปินได้คิดและสร้าง Three Landscapes เป็นภาพยนตร์ที่มีทิวทัศน์ของชายทะเล ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับผลงานชุด collages ภาพทิวทัศน์ของเขาที่สร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1964 และ 1966 แม้ว่าลิกเทนสไตน์จะวางแผนที่จะผลิตภาพยนตร์สั้น 15 เรื่องและงาน installation 3 จอ ซึ่งทำร่วมกับโจเอล ฟรีดแมนผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวนิวยอร์ก ได้เปิดบริษัทร่วมทุน โดยที่ศิลปินร่วมเป็นสื่อกลาง

เช่นเดียวกันใน ค.ศ. 1970 ลิกเทนสไตน์ได้ซื้อบ้านเก่าในเซาแทมป์ตัน ลองไอแลนด์ และได้สร้างสตูดิโอขึ้น และอยู่อย่างสันโดษ ใน ค.ศ. 1970 และ 1980 แบบอย่างของเขาเริ่มคลี่คลายลง และได้ขยายตัวไปในรูปแบบที่เขาเคยทำมาก่อนหน้านี้ ลิกเทนสไตน์เริ่มงานชุด Mirrors ใน ค.ศ. 1969 และใน ค.ศ. 1970 ขณะที่เขากำลังทำงานชุด Mirrors เขาก็เริ่มทำงานที่ชื่อว่า The Entablatures ซึ่งประกอบด้วยงานจิตรกรรมชุดแรกใน ค.ศ. 1971–72 งานชุดที่สองใน ค.ศ. 1974-76 และชุดสื่อสิ่งพิมพ์ใน ค.ศ. 1976 เขาผลิตผลงานชุด Artists Studios ซึ่งเป็นงานที่รวบรวมผลงานก่อนหน้านี้ของเขา ผลงานที่โดดเด่นคือ Look Mickey (1973, Walker Art Center, Minneapolis) ซึ่งเป็นการรวบรวม 5 ผลงานที่ผ่านมามาใส่ในฉากเดียว

ขณะที่กำลังเดินทางไปยังลอสแอนเจลิสใน ค.ศ. 1978 ลิกเทนสไตน์รู้สึกทึ่งกับงานสะสมภาพเขียนแนวสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมันของทนายความรอเบิร์ต ริฟไคนด์ เขาเริ่มผลิตผลงานโดยหยิบยืมแบบอย่างมาจากงานสำแดงพลังอารมณ์ ผลงาน The White Tree (1980) มีลักษณะคล้ายกับภาพทิวทัศน์ของกลุ่มเบลาเออไรเทอร์ (Der Blaue Reiter) ขณะที่งาน Dr. Waldmann (1980) ก็ชวนให้นึกถึง Dr. Mayer-Hermann (1926) ของออตโต ดิกซ์ การใช้ดินสอสีเล็ก ๆ ระบายเคยถูกใช้เป็นแม่แบบในงาน woodcuts ในงานของ Emil Nolde และ Max Pechstein เช่นเดียวกันกับ ดิกซ์ และเอรินส์ ลุดวิค คิตเชอร์ ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1970 สไตล์ของลิกเทนสไตน์ถูกแทนที่ด้วยงานแบบ เหนือจริง เช่น Pow Wow (1979, Ludwig Forum für Internationale Kunst, Aachen)

งานหลักชุดเหนือจริงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979-1981 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชาวอเมริกันพื้นเมือง โดยมีที่มาจากงาน Amerind Figure (1981) เป็นประติมากรรมขนาดเท่าคนจริงที่เตือนความทรงจำ เป็นเสา totem สีดำสัมฤทธิ์ โดยเขาใช้พรมขนสัตว์เพื่อเป็นอนุสรณ์ใน Amerind Landscape (1979) เช่นเดียวกับงานชุดเหนือจริงสำหรับงานศิลปะร่วมสมัยและแหล่งอื่น ๆ รวมไปถึงหนังสือที่ออกแบบในสไตล์อเมริกัน-อินเดียนภายในห้องสมุดเล็ก ๆ ของเขา

งานจิตรกรรมแนว Still Life ของลิกเทนสไตน์ ประติมากรรมและภาพวาดที่อยู่ในช่วง 1972 จนถึงช่วงต้นทศวรรษที1980 นั้น มีหลากหลายรูปแบบ รวมไปถึงแบบขนบดั้งเดิมเช่น ผลไม้ ดอกไม้ และแจกัน ในงานชุด Reflection ที่สร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1988 และใน ค.ศ. 1990 ลิกเทนสไตน์กลับมาใช้รูปแบบเดิม ๆ อย่างเช่นผลงานที่ผ่านมา Interiors (1991–1992) ได้ทำให้เห็นความดาษเดื่อนที่พบเห็นได้ทั่วไปของสภาพแวดล้อมที่ได้แรงบันดาลใจมากจากโฆษณาเครื่องเรือน ที่ศิลปินพบเจอในสมุดโทรศัพท์หรือป้ายโฆษณา มีการรวบรวมแรงบันดาลใจจากภาพพิมพ์สีเดียวของแอดการ์ เดอกา ปี ค.ศ. 1994 ในงานนิทรรศการที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันในนิวยอร์ก โดยภาพทิวทัศน์ของเขาในงานชุดรูปแบบจีน ที่มีลักษณะเป็น จุดแบบBen-day และรูปทรงแม่พิมพ์ มีสีสันสดใส ภาพนู้ดเป็นอีกองค์ประกอบของการทำงานของลิกเทนสไตน์ ในช่วงทศวรรษที่ 1990 เช่น Nude with Red Shirt (1995)

นอกจากภาพวาดและประติมากรรม ลิกเทนสไตน์ยังผลิตภาพพิมพ์กว่า 300 ภาพด้วยวิธีการพิมพ์ฉลุลายผ้า (screenprinting) อีกด้วย

ศิลปะแบบป็อปอาร์ตนั้นได้เริ่มมีอิทธิพลในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 21 ลิกเทนสไตน์และแอนดี วอร์ฮอล์ ได้ใช้ศิลปะแบบนี้ในตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997 ต่อมาใน ค.ศ. 1998 และ 2007 ในนิทรรศการที่ British National Portrait Gallery

ผลงานศิลปะมากมายหลายชิ้นได้ถูกทำลายจากเหตุการณ์ก่อการร้ายเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2011 แต่ผลงาน The Entablature Series ของลิกเทนสไตน์นั้น ได้ถูกทำลายภายหลังโดยเหตุการณ์ไฟไหม้

ผลงานของเขาที่ชื่อว่า crying girl เป็นหนึ่งในผลงานที่ถูกนำมาแสดงในภาพยนตร์เรื่อง Night at the Museum: Battle of the Smithsonian

ผู้ว่าจ้าง[แก้]

ใน ค.ศ. 1969 ลิกเทนสไตน์ได้รับการว่าจ้างจากกุนเทอร์ ซัคส์ ให้สร้างงาน "องค์ประกอบ" และ "ลีดากับหงส์" (สำหรับนักสะสมงานป็อปอาร์ต สำหรับห้องนอนที่โรงแรมเดอะแพลิซโฮเทลในเซนต์มอริตซ์) ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 และระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 ลิกเทนสไตน์ได้รับมอบหมายหน้าที่หลักให้ทำงานในที่สาธารณะ เช่น รูปแกะสลักโคมไฟ (1978) ที่เมืองเซนต์แมรี รัฐจอร์เจีย เมอเมด (1979) ที่ชายหาดไมแอมี รูปปั้นสูง 26 ฟุตของภาพ brushstokes in flight ใน ค.ศ. 1984 ที่ถูกเคลื่อนย้ายใน ค.ศ. 1998ที่ สนามบินแห่งชาติโคลัมบัส รูปปั้น five-storey high Mural with Blue Brushstroke ปี 1984–1985 ที่เอควิทาเบิลเซ็นเตอร์ นิวยอร์ก และรูปปั้น El Cap de Barcelona ที่บาร์เซโลนาใน ค.ศ. 1994 ลิกเทนสไตน์สร้าง enamel-on-metal Times Square Mural ความยาว 53 ฟุต ที่ตอนนี้ถูกตั้งไว้บนทางเท้าที่สถานีรถไฟใต้ดินไทม์สแควร์ ใน ค.ศ. 1977 เขาถูกมอบหมายโดยบีเอ็มดับเบิลยู (BMW) ให้วาดรูป Group 5 Racing Version of the BMW 320i สำหรับงานแสดงในโครงการศิลปะรถยนต์ของบีเอ็มดับเบิลยู โลโก้ของดรีมเวิร์กเร็กคอร์ด เป็นโครงการชิ้นสุดท้ายที่เขาทำเสร็จสมบูรณ์ "มันไม่ใช่เรื่องของผมที่จะทำสิ่งเหล่านั้น (เขาหมายถึงโลโก้อันนั้น) และผมก็ตั้งใจว่าจะไม่ทำอีก" "แต่ผมรู้จักโม ออสติน และเดวิด เกฟเฟน และนั่นเป็นสิ่งที่น่าสนใจ"

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ใน ค.ศ. 1949 เขาได้แต่งงานกับอิซาเบล วิลสัน ก่อนหน้านี้เธอได้แต่งงานกับศิลปินโอไฮโอที่ชื่อว่า ไมเคิล แซริสกี ใน ค.ศ. 1958 เขาเริ่มสอนที่มหาวิทยาลัยรัฐนิวยอร์ก ณ ออสวีโก ใน ค.ศ. 1965 ลิกเทนสไตน์และภรรยาได้หย่าร้างกัน

หลังจากนั้นเขาได้แต่งงานกับภรรยาคนที่ 2 ที่ชือว่า ดอโรที เฮิร์ซกา ใน ค.ศ. 1968 หลังจากนั้นใน ค.ศ. 1970 จนถึงวันตายของเขา ลิกเทนสไตน์ได้ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองแมนแฮตตัน และบ้านของเขาใกล้กับชายหาดที่เซาแทมป์ตัน นิวยอร์ก

เขาเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมใน ค.ศ. 1997 ที่ New York University Medical Center ที่ที่เขาได้ทำการรักษามาหลายสัปดาห์

การแสดงผลงาน[แก้]

ใน ค.ศ. 1964 ลิกเทนสไตน์ได้เป็นชาวอเมริกันคนแรกที่แสดงผลงานในหอศิลป์เทต, London on the occasion of the show "'54–'64: Painting and Sculpture of a Decade" ใน ค.ศ. 1967 การแสดงผลงานนิทรรศการครั้งแรกของเขาถูกจัดขึ้นในพิพิธภันฑ์ศิลปะแพซาดีนา ในแคลิฟอเนีย ในปีเดียวกันนั้น เขาก็ยังได้แสดงผลงานเดี่ยวในยุโรป ที่จัดขึ้นในพิพิธภัณฑ์อัมสเตอร์ดัม, ลอนดอน, เบิร์น และฮันโนเฟอร์ ภายหลังนั้น ลิกเทนสไตน์ได้มีส่วนร่วมในการสร้าง documentas IV ใน ค.ศ. 1968 และ and VI ใน ค.ศ. 1977 ลิกเทนสไตน์ นั้นมีการจัดนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ โซโลมอน อาร์. กุกเกนไฮม์ ใน ค.ศ. 1969 โดยไดแอน วอลด์มัน เป็นคนจัดการงานทั้งหมด และกุกเกนไฮม์ได้จัดแสดงงานครั้งที่สองของเขาใน ค.ศ. 1994 ด้วย ลิกเทนสไตน์กลายมาเป็นศิลปินเดี่ยวในการจัดนิทรรศการภาพวาดเดี่ยวของพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ ตังแต่เดือนมีนาคม จนถึง มิถุนายน ใน ค.ศ. 1987

ในช่วงปี 2010 ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์มอร์แกนได้แสดงงานของลิกเทนสไตน์ที่ชื่อว่า The Black-and-White Drawings ใน ค.ศ. 1961-1968 ได้มีการเปิดสถาบันศิลปะแห่งชิคาโก ในเดือนพฤษภาคม 2012 ก่อนที่จะไปเป็นหอศิลป์แห่งชาติ ในวอชิงตัน, เทตมอเดิร์น ในลอนดอน, และซ็องทร์ปงปีดูในปารีส ใน ค.ศ. 2013

งานสะสม[แก้]

ใน ค.ศ. 1996 หอศิลป์แห่งชาติในวอชิงตัน ดี.ซี. ได้กลายมาเป็นสถานที่เก็บผลงานศิลปะของศิลปินที่ใหญ่ที่สุด หลังจากลิกเทนสไตน์ได้บริจาคภาพวาด 154 ภาพ และหนังสือ 2 เล่ม สถาบันศิลปะแห่งชาติในชิคาโกนั้นมีผลงานสำคัญของลิกเทนสไตน์ โดยจัดแสดงเป็นถาวร รวมถึง Brushstroke with Spatter (1966) and Mirror No. 3 (Six Panels) (1971) ด้วย รวมถึงทรัพย์สินส่วนตัวของรอยและดอโรที ลิกเทนสไตน์ และของในมูลนิธิจากร้อยมูลนิธิของลิกเทนสไตน์ ในยุโรปนั้น พิพิธภัณฑ์ลูทวิชในโคโลญ เป็นสถานที่ที่เก็บรวบรวมทรัพย์สินส่วนตัวของเขาได้มากที่สุด โดยมีประมาณ 4,500 งานที่เก็บอยู่ในนั้น

มูลนิธิลิกเทนสไตน์[แก้]

หลังจากที่ลิกเทนสไตน์ ตายใน ค.ศ. 1997 มูลนิธิรอย ลิกเทนสไตน์ ถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1999 ใน ค.ศ. 2011 คณะผู้บริหารของมูลนิธินั้นตัดสินใจที่จะใช้ผลประโยชน์จากคดีที่ยืดเยื้อของเขา ในช่วงปี 2006 มูลนิธิได้ส่งบัตรรูปภาพ Electric Cord 1961 ที่เป็นรูปภาพที่หายสาบสูญไปตั้งแต่สมัย 1970 หลังจากที่ถูกส่งไปให้แดเนียล โกลด์รีเยอร์ โดยหอศิลป์เลโอ กัสเตลลี บัตรนั้นได้เรียกร้องให้ประชาชนที่จะแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่นั้น ๆ และใน ค.ศ. 2012 มูลนิธินั้นได้รับรองความถูกของชิ้นงานต้องเมื่อมันโผล่ขึ้นที่คลังสินค้าในนิวยอร์ก

ผลงานที่ได้รางวัล[แก้]

  • 1977 Skowhegan Medal for Painting, Skowhegan School, Skowhegan, Maine.
  • 1979 American Academy of Arts and Letters, New York.
  • 1989 American Academy in Rome, Rome, Italy. Artist in residence.
  • 1991 Creative Arts Award in Painting, Brandeis University, Waltham, Massachusetts.
  • 1993 Amici de Barcelona, from Mayor Pasqual Maragall, L’Alcalde de Barcelona.
  • 1995 Kyoto Prize, Inamori Foundation, Kyoto, Japan.
  • 1995 National Medal of the Arts, Washington D.C.

ผลงานที่ถูกซื้อขาย[แก้]

ชื่อผลงาน วันที่ขาย
Big_Painting_No._6 พฤศจิกายน 1970
Torpedo...los ! 7 พฤศจิกายน 1989
Kiss II 1990
Happy Tears พฤศจิกายน 2002
In the Car 2005
Ohhh...Alright... พฤศจิกายน 2010
I Can See the Whole Room...and There's Nobody in It![ลิงก์เสีย] พฤศจิกายน 2011
Sleeping Girl เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 9 พฤษภาคม 2012
Woman with Flowered Hat เก็บถาวร 2013-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 15 พฤษภาคม 2013

อ้างอิง[แก้]

  • พิตรปรีชา, จิระพัฒน์. "โลกศิลปะศตวรรษที่ 20". กรุงเทพฯ, ประเทศไทย. เมืองโบราณ, 2552. ISBN 978-974-73-8539-7
  • ฮอนเนฟ, เคลาส์. "Pop Art ป๊อปอาร์ต". กรุงเทพฯ, ประเทศไทย. ไฟน์อาร์ต, 2552. ISBN 978-974-16-0551-4
  • สุนพงษ์ศรี, กำจร. "ศิลปะสมัยใหม่". กรุงเทพฯ, ประเทศไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554. ISBN 978-974-03-2765-3

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]