ภาษาเมเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาเมเดีย
ภูมิภาคอิหร่านสมัยโบราณ
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3xme

ภาษาเมเดีย เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตก อยู่ในสาขาตะวันออกเฉียงเหนือเช่นเดียวกับภาษาพาร์เทียน ภาษาบาโลชิ ภาษาเคิร์ด และอื่น ๆ เป็นภาษาของเผ่าเมเดีย[1] ซึ่งมีการติดต่อกับชาวเปอร์เซียอย่างใกล้ชิด คำในภาษาเมเดียพบได้ทั่วไปในภาษาเปอร์เซียโบราณและภาษาของชาวอารยัน ตัวอย่างเช่น

  • Farnah: Divine glory; (พบในภาษาอเวสตะด้วย),
  • Paridaiza: สวรรค์ (ในภาษาปาดิส پردیس)
  • Vazraka: ยิ่งใหญ่, (ในภาษาเปอร์เซีย Bozorg بزرگ),
  • Vispa: ทั้งหมด, (เช่นเดียวกับภาษาอเวสตะ),
  • Mithra: The yazata,
  • Xshayathiya (King)

ปัจจุบันเรามีความรู้เกี่ยวกับภาษาเมเดียอยู่เพียงแค่คำที่ยืมไปใช้ในภาษาเปอร์เซียโบราณ โดยไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับไวยากรณ์ของภาษานี้หลงเหลืออยู่เลย เนื่องจากชาวเมเดียไม่เหลือหลักฐานลายลักษณ์อักษรใด ๆ เกี่ยวกับพวกตนไว้เลย

อ้างอิง[แก้]

  1. Iran::Language accessdate=2007-03-09