ฟ้าจรดทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟ้าจรดทราย
แนวโรแมนติก, ผจญภัย
บทประพันธ์โสภาค สุวรรณ
บทละครโทรทัศน์ศัลยา
กำกับโดยสยาม สังวริบุตร
นักแสดงธีรภัทร์ สัจจกุล
อุษามณี ไวทยานนท์
อานัส ฬาพานิช
มรกต กิตติสาระ
อุษณีย์ วัฒฐานะ
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ภาษาไทย
ภาษาต้นฉบับไทย ภาษาไทย
จำนวนตอนจำนวน 11 ตอน
การผลิต
ความยาวตอน120 นาที / ตอน
บริษัทผู้ผลิตบริษัท ดาราวิดีโอ จำกัด
ออกอากาศ
สถานีโทรทัศน์สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
ออกอากาศ12 สิงหาคม พ.ศ. 2556 –
16 กันยายน 2556

ฟ้าจรดทราย เป็นอมตะนิยายรักชิ้นเยี่ยมของ โสภาค สุวรรณ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นท่ามกลางแดนทะเลทรายอันร้อนระอุ ได้รับการตอบรับจากผู้อ่านทุกเพศทุกวัยมาเป็นเวลานาน ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกลงใน นิตยสารสตรีสาร

การนำไปสร้างเป็นละครเวที[แก้]

ในปี พ.ศ. 2550 ฟ้าจรดทรายถูกนำมาสร้างเป็นละครเวทีโดย บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด ด้วยการดูแลของ ถกลเกียรติ วีรวรรณ ภายใต้ชื่อว่า ฟ้าจรดทราย เดอะมิวสิคัล แสดงนำโดย มีเรีย เบนเนเดดตี้, ปฏิภาณ ปฐวีกานต์, รฐา โพธิ์งาม, ศรัณยู วงษ์กระจ่าง และพชรพล จั่นเที่ยง เปิดทำการแสดงระหว่างวันที่ 24 พฤษภาคม ถึง 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ที่โรงละครเมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ศูนย์การค้าเอสพลานาส รัชดาภิเษก ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร[1]

ต่อมาในปี 2566 บอย ถกลเกียรติ ได้ประกาศข่าวนำ ฟ้าจรดทราย เดอะมิวสิคัล กลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากนั้นในวันที่ 16 มกราคม 2567 ถกลเกียรติ วีรวรรณ ได้โพสต์ภาพลงอินสตาแกรมส่วนตัวเป็นภาพโปสเตอร์ของละครเวทีเรื่อง ฟ้าจรดทราย เดอะมิวสิคัล พร้อมกับกำหนดการแสดงคือในเดือนมิถุนายน 2567[2] รวมถึงเปิดเผยว่าณเดชน์ คูกิมิยะ มารับบทชารีฟ

การนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์[แก้]

ลิขสิทธิ์ในรูปแบบละครโทรทัศน์เริ่มแรกเป็นของทาง สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 โดยได้ขอต่อสัญญาลิขสิทธิ์นวนิยายในนามองค์กร ไปเมื่อหลายปีก่อนแต่ก็ต้องพับโครงการไปเนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น บทละครโทรทัศน์ไม่เสร็จ วางตัวนักแสดงนำไม่ได้ และต้องใช้เงินทุนในการสร้างสูง แต่ในปี พ.ศ. 2551 สยาม สังวริบุตรผู้บริหารบริษัท ดาราวิดีโอ จำกัด ได้ออกมาประกาศว่าจะสร้างฟ้าจรดทรายในรูปแบบละครโทรทัศน์ จนทำให้เกิดข่าวลือเกี่ยวกับการวางตัวนักแสดงต่างๆนานา แต่งานสร้างก็ยังไม่ได้คืบหน้าแต่ประการใด[3]

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2553 ทางบริษัท ดาราวิดีโอ จำกัด ได้แจ้งความคืบหน้าในการสร้างเป็นละครโทรทัศน์อยู่เป็นระยะ จนเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553 ได้มีการบวงสรวงเปิดกล้องละครฟ้าจรดทรายอย่างเป็นทางการ พร้อมกับละครทวิภพ ซึ่งนำแสดงโดย ธีรภัทร์ สัจจกุลในบท"ชารีฟ" อุษามณี ไวทยานนท์ในบท"มิเชลล์" ส่วนบท"แคชฟีย่า"แสดงโดยมรกต กิตติสาระ และมีนักแสดงอีกมากมายเช่น ฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์,อานัส ฬาพานิช,อุษณีย์ วัฒฐานะ,สุรศักดิ์ โชติทินวัฒน์,แซมมี่ เคาวเวลล์ เป็นต้น[4]

และการนำฟ้าจรดทราย มาทำเป็นละครโทรทัศน์ครั้งนี้ก็ได้ผู้บริหารและอดีตผู้กำกับของดาราวิดีโอ อย่างคุณหลุยส์ สยาม สังวริบุตร กลับมากำกับละครโทรทัศน์อีกครั้ง[5] โดยการถ่ายบางส่วนของละครเรื่องนี้ มีการไปถ่ายทำที่ประเทศอียิปต์และนอกจากนี้มีการถ่ายทำละครด้วยกล้องระบบ HD (High Definition)[6]

ละครฟ้าจรดทราย ถือว่าเป็นละครโทรทัศน์ที่ใช้ระยะเวลาการถ่ายทำยาวนานอีกเรื่องหนึ่ง เพราะเริ่มงานสร้างและการถ่ายทำในปีพ.ศ. 2553จนถึงพ.ศ. 2556 รวมระยะเวลาในการสร้างเกือบ 3 ปีเต็ม โดยในครั้งนี้ได้มีปัญหาเนื่องจากมีกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลามได้ส่งหนังสือทางไปรษณีย์ถึงสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้ยุติการออกอากาศ เนื่องจากมีหลายฉากที่ผิดหลักคำสอนของศาสนา เสมือนการหมิ่นศาสนา เช่น ฉากการดื่มสุรา หรือการที่มีชายหญิงพลอดรักกัน[7] แต่ท้ายที่สุดก็ได้มีการฉายต่อจนจบ เนื่องจากผู้สร้างและทางช่อง 7 ยืนยันว่ามิได้มีเจตนาเช่นนั้น[8]

รูปแบบการนำเสนอ[แก้]

ปี พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2567
รูปแบบการนำเสนอ ละครเวที รัชดาลัย เธียเตอร์ ละครโทรทัศน์ ช่อง 7 ละครเวที รัชดาลัย เธียเตอร์
ผู้สร้าง ซีเนริโอ ดาราวิดีโอ ซีเนริโอ
บทการแสดง ถกลเกียรติ วีรวรรณ ศัลยา
ผู้กำกับ ถกลเกียรติ วีรวรรณ สยาม สังวริบุตร
ตัวละคร
พันเอกชารีฟ อัลฟารัซ / ชารีฟ ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ ธีรภัทร์ สัจจกุล ณเดชน์ คูกิมิยะ
มิเชลล์ เดอลาโรนีล์ / ตาฟา มีเรีย เบนเนเดดตี้ อุษามณี ไวทยานนท์ กุลกรณ์พัชร์ โพธิ์ทองนาค
องค์อาเหม็ด ศรัณยู วงษ์กระจ่าง อานัส ฬาพานิช ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี
แคชฟีย่า รฐา โพธิ์งาม มรกต กิตติสาระ หนึ่งธิดา โสภณ
พระชายาขององค์อาเหม็ด อุษณีย์ วัฒฐานะ
เจ้าชายอับดุลลา สุรศักดิ์ โชติทินวัฒน์
เจ้าหญิงชาลิตา แซมมี่ เคาวเวลล์
ยูซุป ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์
เจ้าชายโอมาน พชรพล จั่นเที่ยง มนัสวิน นันทเสน ธชย ประทุมวรรณ
เจ้าหญิงสุไบดา เดือนเต็ม สาลิตุล
ร้อยเอกการีม ชาติชาย งามสรรพ์
เจ้าหญิงฟารีดา กชกร นิมากรณ์
ชีคอัสมัน ฐาปกรณ์ ดิษยนันทน์
ซาอิบ ทองขาว ภัทรโชคชัย
มุสตาฟา ชาลี กรรณสูต
นายพลมุสคัต ฤทธิ์ ลือชา
นาติเยาะ จัสปาล รชยา รักกสิกรณ์
นะหมัด กษาปณ์ จำปาดิบ
กาเซ็ม เวนซ์ ฟอลโคเนอร์
อาลี กลศ อัทธเสรี
อะมีนา ประดับดาว คุ้มแพรวพรรณ
ฟูลอ อมต อินทานนท์
หมอโบราณ สีเทา เพ็ชรเจริญ
ซาฟีน่า พิมพ์ศิริ ภูวนัย
ซิสเตอร์ แอน วาเนสซ่า บีเวอร์
ฟาร่าห์ จารุศิริ ภูวนัย
โรแบร์ (รับเชิญ) ฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์ เจตพล กนิษฐชาต
อาหมัด ด.ช.ชินพรรธน์ กิตติชัยวรางค์กูร ด.ช.ชญานิน เต่าวิเศษ
ลิเลียน่า ด.ญ.ปานรดา คเชนทร์นุกูล

อ้างอิง[แก้]

  1. "ฟ้าจรดทราย เดอะ มิวสิคัล - เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2013-07-30.
  2. “บอย ถกลเกียรติ” ปล่อยภาพ “ฟ้าจรดทราย” คอมเมนต์แห่เดาคือพระเอกคนนี้?
  3. "อาถรรพณ์'ฟ้าจรดทราย'กว่า10ปีแห่งการรอคอย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-01. สืบค้นเมื่อ 2021-10-19.
  4. คึกคัก!! พิธีบวงสรวงละคร ทวิภพ – ฟ้าจรดทราย
  5. เรื่องย่อละคร ฟ้าจรดทราย
  6. "'ดาราวิดีโอ'ทำ'ฟ้าจรดทราย'คืนกำไรผู้ชม ทุ่มมหาศาล'ลุยอียิปต์-ปรับระบบถ่ายทำ'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-07-30.
  7. มุสลิมต้านละคร "ฟ้าจรดทราย" จากเดลินิวส์
  8. “ช่อง 7 สี” ฉาย “ฟ้าจรดทราย” ต่อ ยันเป็นเรื่องสมมติไม่เจตนาหมิ่นอิสลาม จากผู้จัดการออนไลน์[ลิงก์เสีย]