ฟักแม้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟักแม้ว
ฟักแม้ว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Violales
วงศ์: Cucurbitaceae
สกุล: Sechium
สปีชีส์: S.  edule
ชื่อทวินาม
Sechium edule
(Jacq.) Swartz, 1800

ฟักแม้ว, มะระแม้ว, มะระหวาน, มะเขือเครือ หรือ ชาโยเต้ (อังกฤษ: Chayote; ชื่อวิทยาศาสตร์ Sechium edule) เป็นไม้เถาวงศ์แตง (Cucurbitaceae) ผลและยอดอ่อนกินได้

ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์[แก้]

มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก และแถบอเมริกากลาง ปัจจุบันมีปลูกอยู่ทั่วโลก พบปลูกทั่วไปในพื้นที่สูง 500-1,700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีดินอุดมสมบูรณ์ แสงสว่างพอเพียง (ช่วงแสง 12 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อชักนำให้เกิดการเจริญของดอก) และใกล้แหล่งน้ำ สันนิษฐานกันว่าพืชชนิดนี้นำเข้ามาในประเทศไทยโดยหมอสอนศาสนา และให้ชาวบ้านปลูกเป็นครั้งแรกที่จังหวัดแพร่

คุณลักษณะ[แก้]

ฟักแม้วเป็นไม้เถาเลื้อย สามารถเจริญเติบโตข้ามปีได้ มีลักษณะคล้ายเป็นพืชที่อยู่ในกลุ่มของพืชตระกูลแตง แต่มีลักษณะหลายอย่างที่ไม่เหมือนพืชตระกูลแตงที่พบเห็นโดยทั่วไป ลักษณะลำต้น ใบ ยอด และมือจับ คล้ายแตงกวาผสมกับฟักเขียว มีระบบรากสะสมขนาดใหญ่ ลำต้นเป็นเหลี่ยม เจริญเป็นเถา ยาว 15-30 ฟุต มีเถาแขนง 3-5 เถา มือเกาะเจริญที่ข้อ ใบมีขอบใบลักษณะเป็นเหลี่ยม 3-5 เหลี่ยม ยาว 8-15 เซนติเมตร ดอกสีขาวปนเขียว ดอกเกิดที่ข้อระหว่างต้นกับก้านใบเป็นชนิดดอกช่อ (Inflorescence) ส่วนดอกเป็นประเภทไม่สมบูรณ์เพศ (Imperfect flower) กล่าวคือดอกตัวผู้และดอกตัวเมียเป็นคนละดอก แต่อยู่ในต้นเดียวกัน (Monoecious plant) ผลของมะเขือเครือเป็นประเภทผลเดี่ยว (Simple fruit) เนื้อของผลเจริญมาจากฐานรองดอกที่ขยายใหญ่ไปหุ้มเมล็ดไว้มีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว ในผลเหมือนกับมะม่วง มะปราง ซึ่งเป็นข้อแตกต่างของพืชตระกูลแตงที่พบเห็นโดยทั่วไป

ผลทรงกลมยาวสีเขียวอ่อน รูปร่างคล้ายแพร์ มีขนาดความยาว 7-20 เซนติเมตร กว้าง 5-15 เซนติเมตร น้ำหนักผล 200-400 กรัม เนื้อมีรสหวาน รสชาติคล้ายมันฝรั่งปนแตงกวา

ภายในฟักแม้ว

การปรุงอาหาร และสรรพคุณทางยา[แก้]

ใช้ ผล ใบ และรากประกอบอาหาร แต่ก็สามารถกินลำต้นและเมล็ดได้ ในประเทศไทยนิยมกินยอดซาโยเต้ผัดน้ำมันหอย

  • ผล สามารถกินได้ทั้งเปลือก มีรสชาติคล้ายอาร์ติโช๊ค หรือมันฝรั่ง สามารถนำมาตำส้มตำแทนมะละกอก็ได้ เพราะเนื้อหวานกรอบ นำมาหั่นฝอยหรือสไลด์เป็นแผ่นผัดกับไข่ หรือผัดน้ำมัน หวานอร่อย
  • ราก ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแป้ง ใช้ต้มหรือผัด ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้
  • ผลและเมล็ดประกอบด้วยกรดอะมิโนที่สำคัญหลายชนิด และวิตามินซี
  • ใบและผล ใช้ดองยา มีคุณสมบัติช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจและหลอดเลือด แก้อักเสบ
  • น้ำต้มใบและผล ใช้ในการรักษาอาการเส้นเลือดแข็งตัว ความดันโลหิตสูง และสลายนิ่วในไต
  • ชาวกะเหรี่ยงนำยอดอ่อนและผลไปผัด แกง หรือลวกจิ้มน้ำพริก[1]

ชื่ออื่น ๆ[แก้]

ฟักแม้ว มีชื่อเรียกอื่น ๆ แตกต่างกันตามท้องถิ่น ได้แก่

  • มะเขือเครือ
  • มะเขือนายก
  • ฟักม้ง
  • มะเขือแม้ว
  • มะเขือฝรั่ง
  • แตงกะเหรี่ยง
  • มะระหวาน
  • มะระญี่ปุ่น
  • ฟักญี่ปุ่น

ในภาษาอังกฤษ ฟักแม้ว Chayote ( IPA: [tʃa'jɔte])) เป็นชื่อในภาษาสเปน ที่มาจากภาษา Nahuatl (ภาษาของชาวแอสเต็ก ทางตอนกลางของเม็กซิโก) ชื่อนี้ใช้ทั่วไปในประเทศที่พูดภาษาสเปน อเมริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา ส่วนในประเทศอื่น ๆ มีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังนี้

  • Australia: choko
  • Brazil: chuchu
  • Caribbean: christoferine, christophene
  • China (Cantonese) : fut sao gwa
  • China (Mandarin) : 佛手瓜 (lit. Buddha hand squash)
  • English-speaking countries: chouchou
  • English-speaking countries: chocho, cho-cho
  • English-speaking countries: mango squash
  • English-speaking countries: vegetable pear
  • French Antilles: christophene, christophine
  • Hawaii: Pipinola
  • India: vilati vanga
  • Indonesia: Labu Siam
  • Italy: zucchina spinosa
  • Japan: ハヤトウリ : Hayatouri
  • Latin America: tayote or tayota [ta'jɔta]
  • Latin America: chocho
  • Latin America: gayota
  • Louisiana (Cajun) : mirliton
  • Mauritius: chouchou
  • Norway: chavote
  • Philippines: sayote
  • Portugal: pipinella
  • Réunion Island: chouchou
  • Russian: cajot
  • Thailand: ฟักแม้ว, ชาโยเต้
  • Vietnamese: xu-xu, trai su

อ้างอิง[แก้]

  1. ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า [https://web.archive.org/web/20210604064239/https://library.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/detail.php?id=19230&word=%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99&word=%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99&check_field=TITLE&select_study=&condition=2&search=9&philosophy=&master เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]