พระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าชาร์ลที่ 7
พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส
ครองราชย์21 ตุลาคม ค.ศ. 1422 - 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1461
ราชาภิเษก17 กรกฎาคม ค.ศ. 1429
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศส
รัชกาลถัดไปพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศส
พระราชสมภพ22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1403
ปารีส ในประเทศฝรั่งเศส
สวรรคต22 กรกฎาคม ค.ศ. 1461
Mehun-sur-Yèvre ในประเทศฝรั่งเศส
พระอัครมเหสีมารีแห่งอองชู สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
พระราชบุตรพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศส

Yolande of Valois
มาดาเลนาแห่งวาลัว

ชาร์ลแห่งวาลัว ดยุกแห่งเบรี
ราชวงศ์วาลัว
พระราชบิดาพระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศส
พระราชมารดาอิสซาเบลลาแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

พระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Charles VII de France; อังกฤษ: Charles VII of France) (22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1403- 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1461) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์วาลัว ที่ได้รับการขนานพระนามว่า “le Victorieux” (ผู้พิชิต) หรือ “le Bien-Servi” (ผู้ได้รับการสนองพระบรมราชโองการเป็นอย่างดี) พระเจ้าชาร์ลทรงเป็นเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศส การขึ้นครองราชบัลลังก์ของพระองค์ได้รับการคัดค้านโดยฝ่ายอังกฤษที่ขณะนั้นมีอำนาจอยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษที่นำโดยจอห์นแห่งแลงคาสเตอร์ ดยุกแห่งเบดฟอร์ดที่ 1 ที่ทำการปกครองฝรั่งเศสแทนพระเจ้าเฮนรีอยู่ในปารีสก็อ้างว่าพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทรงเป็นผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสอย่างถูกต้องตามที่ระบุในสนธิสัญญาตรัวส์ (Treaty of Troyes) แต่พระเจ้าชาร์ลก็ทรงได้เข้าทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่เมืองแรงส์ในปี ค.ศ. 1429 ด้วยความช่วยเหลือของโจนออฟอาร์กในการทำสงครามขับไล่อังกฤษออกจากฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1422 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1461[1] ในปลายรัชสมัยพระองค์ทรงต้องประสบกับความยุ่งยากจากความขัดแย้งกับพระราชโอรสผู้ครองราชย์ต่อมาเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศส

เบื้องต้น[แก้]

พระเจ้าชาร์ลที่ 7 เสด็จพระราชสมภพในกรุงปารีส เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 5 ในพระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศสและอิสซาเบลลาแห่งบาวาเรีย พระเชษฐาทั้งสี่พระองค์ของพระองค์ ชาร์ล (ค.ศ. 1386), ชาร์ล (ค.ศ. 1392-ค.ศ. 1401), หลุยส์ (ค.ศ. 1397-ค.ศ. 1415) และ จอห์น (ค.ศ. 1398-ค.ศ. 1417) ต่างก็ทรงถือตำแหน่งโดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส (Dauphin of France) ซึ่งเป็นตำแหน่งรัชทายาท แต่แต่ละพระองค์ก็มาสิ้นพระชนม์โดยไม่มีพระราชโอรสธิดาซึ่งทิ้งชาร์ลให้ได้รับบรรดาศักดิ์ต่างๆ หลายตำแหน่ง[2]

อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรียและนางสนองพระโอษฐ์

ทันทีที่ทรงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นโดแฟ็งชาร์ลก็ทรงเผชิญกับการคัดค้านในสิทธิของพระองค์จนต้องเสด็จหนีออกจากปารีสในปี ค.ศ. 1418 หลังจากกองทหารของจอห์นเดอะเฟียร์เลสส์ ดยุกแห่งเบอร์กันดีพยายามยึดปารีส ในปีต่อมาชาร์ลก็ทรงพยายามคืนดีกับจอห์นเดอะเฟียร์เลสส์โดยทรงพบปะกับจอห์นและสาบานสันติภาพกับบนสะพานพุยลี (Pouilly) ไม่ไกลจากเมเลิง (Melun) ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1419 แต่การสาบานก็ยังไม่เพียงพอ ชาร์ลจึงพบกับจอห์นอีกครั้งเมื่อวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1419 บนสะพานที่มงเตอโร (Montereau) จอห์นผู้มีความไว้วางใจในชาร์ลผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องกันคาดว่าการพบปะกันเป็นเพียงการพบปะทางการทูตอย่างปกติ จึงนำข้าราชสำนักติดตามมาด้วยเพียงไม่กี่คน เมื่อมาถึงคนของชาร์ลก็เข้ารุมสังหารจอห์นบนสะพาน ชาร์ลจะทราบถึงแผนการนี้เท่าใดก็ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมาตั้งแต่บัดนั้น แม้ว่าจะทรงอ้างไม่ทรงมีส่วนรู้เห็นในแผนการที่ว่า แต่ก็ยากที่จะเชื่อได้โดยผู้ที่ทราบถึงการลอบสังหาร[3] และเป็นชนวนที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างพระราชวงศ์ทางฝ่ายพระเจ้าชาร์ลที่ 6 และดยุกแห่งเบอร์กันดี ตัวชาร์ลเองต่อมาก็ต้องมาลงพระนามในสนธิสัญญากับฟิลลิปเดอะกูดลูกชายของจอห์นเดอะเฟียร์เลสส์ในการจ่ายฆ่าเสียหายในการฆาตกรรมที่เกิดขึ้น แต่ก็มิได้ทรงจ่ายตามสัญญา

ขณะที่อยู่ในวัยหนุ่มพระองค์ทรงได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความกล้าหาญและมีลักษณะเป็นผู้นำ ระหว่างที่ทรงเป็นโดแฟ็งชาร์ลก็นำกองทัพเข้าต่อต้านฝ่ายอังกฤษ ทรงฉลองพระองค์สีแดง ขาว และ น้ำเงิน ที่เป็นสัญลักษณ์ของฝรั่งเศส แต่เหตุการณ์สองเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 1421 ทำให้ทรงขาดความมั่นพระทัยลงไปบ้างเมื่อทรงถูกบังคับให้ถอยทัพจากสมรภูมิในการต่อสู้กับสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ และเมื่อพระราชบิดามารดาของพระองค์ค้านสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ของพระองค์โดยกล่าวหาว่าเป็นพระโอรสนอกสมรสของพระราชมารดากับชู้ เหตุการณ์ทั้งสองนี้ทำให้ทรงได้รับความอับอายเป็นอันมากและทรงกลัวถึงอันตรายที่จะมีต่อชีวิตของพระองค์ ชาร์ลจึงทรงตัดสินพระทัยหนีไปพึ่งโยลันเดอแห่งอารากอน (Yolande of Aragon) ผู้ได้รับการขนานนามว่า "ราชินีสี่อาณาจักร" ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส และไปสมรสกับลูกสาวของโยลันเดอมารี

เมื่อพระเจ้าชาร์ลที่ 6 พระราชบิดาเสด็จสวรรคต การสืบราชบัลลังก์ฝรั่งเศสก็กลายเป็นปัญหา ถ้าโดแฟ็งชาร์ลเป็นพระราชโอรสที่ถูกต้องพระองค์ก็ทรงมีสิทธิในการขึ้นครองราชบัลลังก์ได้โดยชอบธรรม แต่ถ้าเป็นพระราชโอรสนอกสมรส ทายาทก็จะเป็นดยุกแห่งออร์เลอองส์ นอกจากนั้นแล้วสนธิสัญญาตรัวส์ที่ลงนามโดยพระเจ้าชาร์ลที่ 6 ในปี ค.ศ. 1420 ก็ยังระบุว่าหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ ราชบัลลังก์ฝรั่งเศสก็จะตกไปเป็นของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีที่ 5 ผู้ที่เพิ่งเสด็จสวรรคต กับ แคทเธอรินแห่งวาลัวพระราชธิดาของพระเจ้าชาร์ลที่ 6 เอง แต่ผู้มีสิทธิทั้งสามต่างก็ไม่มีสิทธิอย่างเต็มตัว ฝ่ายอังกฤษผู้ที่ครองดินแดนทางตอนเหนือของฝรั่งเศสที่รวมทั้งปารีสอยู่ในขณะนั้นสามารถอ้างสิทธิในการครองฝรั่งเศสในส่วนที่มีอำนาจปกครองอยู่ ฉะนั้นทางตอนเหนือของฝรั่งเศสจึงถูกปกครองโดยผู้สำเร็จราชการอังกฤษที่ปกครองแทนสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษโดยมีราชสำนักอยู่ในนอร์ม็องดี

ชาร์ลทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์แห่งฝรั่งเศสสำหรับพระองค์เองแต่เป็นไปอย่างลักๆ ลั่นๆ และไม่ทรงสามารถที่จะกำจัดอังกฤษออกจากฝรั่งเศสได้ พระองค์จึงทรงตั้งตัวอยู่ในบริเวณทางตอนใต้ในบริเวณลุ่มแม่น้ำลัวร์ ที่ยังคงทรงมีอำนาจอยู่บ้าง บางครั้งก็ทรงตั้งราชสำนักอยู่ที่ปราสาทที่ชินงที่ยังคงเรียกกันว่า "โดแฟ็ง" อยู่จนทุกวันนี้ หรือบางครั้งก็ได้รับการขนานพระนามอย่างเสียดสีว่าทรงเป็น "กษัตริย์แห่งบูร์ก" บางครั้งพระองค์ก็คิดจะหนีไปยังคาบสมุทรไอบีเรียซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้อังกฤษขยายตัวลึกลงมาทางใต้ได้อีก

โจนออฟอาร์ก[แก้]

แต่ในปี ค.ศ. 1429 สถานการณ์ก็มาเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงออร์เลอองส์ถูกล้อมมาตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1428 ผู้สำเร็จราชการอังกฤษจอห์นแห่งแลงคาสเตอร์ ดยุกแห่งเบดฟอร์ดที่ 1 พระปิตุลาของพระเจ้าเฮนรีที่ 6 รุกเข้ามาในดัชชีแห่งบาร์ที่ปกครองโดยเรอเนพี่เขยของชาร์ล ขุนนางและทหารฝ่ายฝรั่งเศสที่ยังคงสนับสนุนชาร์ลต่างก็มีความรู้สึกว่าหมดหนทางมากขึ้นทุกขณะ

ในขณะเดียวกันในหมู่บ้านโดมเรมี (Domrémy) ที่ตั้งอยู่ระหว่างลอร์แรน และชองปาญ ก็มีเด็กสาวชื่อโจนผู้มีความเชื่อว่าตนได้รับคำสั่งจากพระเจ้าให้ดำเนินการกู้ฝรั่งเศส ก็เรียกร้องขอกำลังทหารและสิ่งที่จำเป็นในการต่อสู้จากดยุกแห่งลอร์แรนให้นำตัวไปยังชินงไปเฝ้าโดแฟ็ง โจนมาถึงชินองเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1429

1429
  ดินแดนภายใต้อำนาจของพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ
  ดินแดนภายใต้อำนาจของดยุกแห่งเบอร์กันดี
  ดินแดนภายใต้อำนาจของชาร์ล
  ยุทธการหลัก
                     การรุกรานของอังกฤษในปี ค.ศ. 1415                      เส้นทางที่โจนออฟอาร์กเดินทางไปยังแรงส์ในปี ค.ศ. 1429

หลังจากนั้นเหตุการณที่เกิดขึ้นก็กลายเป็นตำนานเล่าขานกันต่อมา เมื่อโจนมาถึงชินง ชาร์ลก็ทรงทดสอบการอ้างของโจนว่ารู้จักพระองค์ทั้งที่ไม่เคยเผชิญหน้ากัน โดยทรงปลอมพระองค์เป็นข้าราชสำนักและยืนอยู่ท่ามกลางข้าราชสำนักอื่นๆ เมื่อโจนเข้ามาในท้องพระโรง โจนผู้ทราบโดยทันที่ว่าผู้ใดคือโดแฟ็งชาร์ลก็น้อมตัวลงถวายความเคารพและกอดพระหนุ และประกาศว่า "พระเจ้าทรงประทานพรแก่พระองค์, พระมหากษัตริย์ของข้า!" ("God give you a happy life, sweet King!") แม้ว่าจะพยายามอ้างกันว่าคนอื่นต่างหากที่เป็นโดแฟ็งชาร์ลแต่ในที่สุดพระองค์ก็ต้องทรงยอมรับ หลังจากนั้นโจนก็เรียกพระองค์ว่า "โดแฟ็ง" หรือ "Gentle Dauphin" จนกระทั่งได้ทำพิธีบรมราชาภิเษกในแรงส์อีกหลายเดือนหนึ่งต่อมา หลังจากการพบปะกันแล้วโดแฟ็งชาร์ลก็ทรงมีความมั่นพระทัยขึ้น และทรงมีความมุ่งมั่นที่จะยึดสิทธิในราชบัลลังก์โดยการเดินทางไปยังแรงส์

สิ่งที่สำคัญในการช่วยให้ชาร์ลประสบความสำเร็จคือการสนับสนุนของตระกูลผู้มีอำนาจของพระชายามารี โดยเฉพาะจากพระมารดาของมารีโยลันเดอแห่งอารากอน

จากนั้นโจนก็นำกองทัพฝรั่งเศสเข้าต่อสู้ที่ออร์เลอองส์ที่ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อฝ่ายอังกฤษ และเป็นจุดที่เปลี่ยนทิศทางของสงครามที่ทำให้ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายได้เปรียบ หลักจากชัยชนะในยุทธการพาเทย์ (Battle of Patay) ชาร์ลก็ได้ทำการราชาภิเษกเป็นพระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1429 ที่มหาวิหารแรงส์ในฐานะพระมหากษัตริย์โดยนิตินัย

ต่อมาโจนถูกจับตัวได้โดยฝ่ายเบอร์กันดีผู้ส่งตัวให้กับฝ่ายอังกฤษ โจนถูกพิจารณาโทษว่าเป็นผู้นอกศาสนา และถูกเผาทั้งเป็นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1431 พระเจ้าชาร์ลมิได้ทรงเข้าช่วยเหลือโจนแต่อย่างใดแม้ว่าโจนจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการที่พระองค์ได้ขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสก็ตาม

จากนั้นพระเจ้าชาร์ลก็ทรงลงพระนามร่วมกับฟิลิปเดอะกูดในสนธิสัญญาอาร์ราส ที่เบอร์กันดีหันกลับมาเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่งหลังจากไปเป็นพันธมิตรกับอังกฤษอยู่ชั่วระยะหนึ่ง สัญญานี้เป็นการประกาศไม่ให้ผู้ใดยอมรับว่าสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส[4]

ในช่วงเวลายี่สิบปีต่อมาฝรั่งเศสก็ยึดปารีสคืนจากฝ่ายอังกฤษได้ และในที่สุดก็ได้ดินแดนทั้งหมดยกเว้นกาแลและหมู่เกาะแชนเนล

อ้างอิง[แก้]

  1. Charles Cawley, Medieval Lands, France, Capetian Kingsแม่แบบ:Pagenumber
  2. Wagner, 89.
  3. Wagner, 90.
  4. Brady, Thomas A., Handbook of European History 1400-1600, Vol.2, (E.J.Brill:Leiden, 1994), 373.
  • Hanawalt, Barbara, The Middle Ages: An Illustrated History
  • Taylor, Aline, Isabel of Burgundy


ดูเพิ่ม[แก้]

ก่อนหน้า พระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส ถัดไป
ชาร์ลที่ 6 พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส
ค.ศ. 1422 - ค.ศ. 1461
ค้านกับ 'พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ'

(ค.ศ. 1422 – ค.ศ. 1453)
หลุยส์ที่ 11
พระราชวงศ์ฝรั่งเศส
จอห์น โดแฟ็งที่ 7 โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส
'ชาร์ลที่ 8 โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส'

(5 เมษายน ค.ศ. 1417 – 21 ตุลาคม ค.ศ. 1422)
หลุยส์ที่ 9 โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส
จอห์น โดแฟ็งที่ 7 รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์ฝรั่งเศส
รัชทายาทโดยนิตินัย

(5 เมษายน ค.ศ. 1417 — 21 ตุลาคม ค.ศ. 1422)
หลุยส์ที่ 9 โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส
บรรดาศักดิ์ขุนนางฝรั่งเศส
จอห์นที่ 3 แห่งเวียนนัวส์ โดแฟ็งแห่งเวียนนัวส์, เคานต์แห่งเวียนนัวส์ และ เคานต์แห่งดิอัวส์
'ชาร์ลที่ 5'

(5 เมษายน ค.ศ. 1417 – 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1423)
หลุยส์ที่ 2 แห่งเวียนนัวส์
ว่าง ดยุกแห่งตูแรน
'ชาร์ลที่ 2'

(ค.ศ. 1417 – 21 ตุลาคม ค.ศ. 1422)
รวมเป็นทรัพย์สินของราชบัลลังก์
(ต่อมาอาร์ชิบอลด์ ดักกลาส)
ว่าง ดยุกแห่งแบร์รี
'ชาร์ลที่ 1'

(ค.ศ. 1417 – 21 ตุลาคม ค.ศ. 1422)
รวมเป็นทรัพย์สินของราชบัลลังก์
(ต่อมาชาร์ลที่ 2)
ว่าง เคานต์แห่งปัวตู
'ชาร์ลที่ 1'

(ค.ศ. 1417 – 21 ตุลาคม ค.ศ. 1422)
รวมเป็นทรัพย์สินของราชบัลลังก์
ว่าง เคานต์แห่งปงตีเยอ
(ค.ศ. 1417 – 21 ตุลาคม ค.ศ. 1422)
รวมเป็นทรัพย์สินของราชบัลลังก์
(ต่อมาชาร์ลแห่งวาลัว)