ประเวศ วะสี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเวศ วะสี

เกิด5 สิงหาคม พ.ศ. 2475 (91 ปี)
จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศสยาม
สัญชาติไทย
อาชีพข้าราชการบำนาญ
แพทย์
มีชื่อเสียงจากแพทย์
ราษฎรอาวุโส
คู่สมรสแพทย์หญิงจันทพงษ์ วะสี
บุตร2 คน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ประเวศ วะสี แพทย์ชาวไทย นักวิชาการด้านสาธารณสุข และ นักวิชาการเกี่ยวกับการศึกษา ทั้งเป็นผู้สนับสนุนงานค้นคว้าวิจัยต่างๆที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิต[1] เป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล[2]กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3] กรรมการ สภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ [4] และ ราษฎรอาวุโส ประเวศ วะสี เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2475 (91 ปี) ตำบลเกาะสำโรง บนฝั่งลำน้ำแควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายคลายและนางกิม วะสี ศึกษาชั้นมูลฐานในวัยเยาว์ที่โรงเรียนวัดเหนือ ชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนประชาบาลตำบลเกาะสำโรง ชั้นมัธยมที่โรงเรียนวิสุทธรังษี จนถึง พ.ศ. 2490 ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2492 สามารถสอบเข้าเรียนต่อชั้นเตรียมแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จบการศึกษาได้รับปริญญาแพทยศาสตร์เกียรตินิยม และได้รับรางวัลเหรียญทองในฐานะที่ได้คะแนนเป็นที่หนึ่งตลอดหลักสูตร

ประวัติการศึกษา[แก้]

ประวัติการทำงาน[แก้]

  1. การเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้าน
  2. การตรวจรักษาและการวิจัย
  3. งานบริหาร
    1. รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาและวางแผน มหาวิทยาลัยมหิดล (2522-2526)
    2. หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (2528-2530)
    3. ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานทางการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข(2527-2530)
    4. ประธานและรองประธานหรือกรรมการขององค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศมากมาย รวมทั้งมูลนิธิ และสถาบันทางวิชาการอื่นรวมกว่า 60 ชุด
    5. ประธานสถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย (2536-ปัจจุบัน)
    6. ประธานมูลนิธิไทย
    7. ประธานคณะกรรมการวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ แผนกแพทยศาสตร์ มูลนิธิ อานันทมหิดล และกรรมการมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกแพทยศาสตร์
    8. ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
    9. ประธานคณะอนุกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการหลักการการจัดตั้งราชวิทยาลัย ครุศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
    10. ประธานคณะทำงานด้านการพัฒนาพืชสมุนไพรเพื่อการผลิตยาทางอุตสาหกรรม องค์การเภสัชกรรม
    11. คณะกรรมการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
    12. คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการต่างๆ
    13. คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ม.มหิดล, ธรรมศาสตร์, จุฬาฯ, สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) , สถาบันราชภัฏ, ขอนแก่น, สงขลา
    14. คณะกรรมการอำนวยการสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท จุฬาฯ
    15. ประธานคณะอนุกรรมการอำนวยการส่งเสริมการวิจัยการศึกษาแห่งชาติ
    16. ประธานกรรมการวิชาการมูลนิธิรางวัลมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์
    17. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
    18. คณะกรรมการการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ
    19. คณะกรรมการอำนวยการโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขแห่งชาติ (National Steering Committee) กระทรวงสาธารณสุข

การทำงานในคณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ[แก้]

ประเวศ วะสี ได้เข้ามามีบทบาททางการเมือง ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง โดยเข้ามาทำหน้าที่ประธานคณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 27 คน เพื่อรวบรวมข้อมูล รับฟังความคิดเห็น และนำไปสู่นโยบายในการปฏิรูปประเทศไทย [5]

รางวัลเกียรติคุณ[แก้]

  • 2498 ได้รับรางวัลเหรียญทองในฐานะที่ได้คะแนนเป็นที่ 1 ตลอดหลักสูตร
  • 2500 รับพระราชทานทุนส่วนพระองค์ และต่อมาทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ไปศึกษาต่อต่างประเทศ
  • 2512 ได้รับรางวัลพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ในฐานะครูแพทย์ที่ดีเป็นคนแรกของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • 2524 ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐ
  • 2526 รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2526
  • 2528 ได้รับเลือกเป็นบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาการแพทย์ ได้รับเหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา
  • 2531 ได้รับเลือกเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • 2533 รับเหรียญเชิดชูเกียรติ Tobacco and Health ของ WHO
  • 2541 การมอบเหรียญ Comenius ประเวศ วะสี ได้รับเหรียญ Comenius และประกาศนียบัตรจากยูเนสโก ในฐานะที่ประเทศไทยนำการศึกษามาเป็นเครื่องมือสนับสนุนให้เกิดการพัฒนามนุษย์ เชื่อมโยงการศึกษาให้เข้ากับภาคอื่นของสังคม และประเทศไทยมีการสนับสนุนการพัฒนาสถานภาพครู[6]
  • 2548 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภทวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. งานเขียนบางส่วนของ ศ.นพ. ประเวศ วะสีที่พิมพ์เป็นหนังสือแล้ว
  2. กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล
  3. กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  4. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  5. "เปิดรายชื่อกรรมการ-สมัชชาปฏิรูปประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
  6. การมอบเหรียญ Comenius[ลิงก์เสีย]
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศาสตราจารย์ประเวศ วะสี, ศาสตราจารย์สิปปนนท์ เกตุทัต)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๖๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2022-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๙ กันยายน ๒๕๒๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕๙, ๒๑ มกราคม ๒๕๓๐
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๗ กันยายน ๒๕๓๐

แหล่งข้อมูลออนไลน์อื่น[แก้]

งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง[แก้]

  • อนรรฆ พิทักษ์ธานิน. (2554, กันยายน-ธันวาคม). "จนกว่าเราจะเขยื้อนภูเขา": การก่อตัวและการเดินทางแห่งความคิดทางสังคมการเมืองของนายแพทย์ประเวศ วะสีก่อน พ.ศ. 2540. รัฐศาสตร์สาร 32(3): 82-127.