ทะเลสาบไบคาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทะเลสาบไบคาล
ภาพถ่ายดาวเทียมใน ค.ศ. 2001
ทะเลสาบไบคาลตั้งอยู่ในรัสเซีย
ทะเลสาบไบคาล
ทะเลสาบไบคาล
ที่ตั้งไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย
พิกัด53°30′N 108°0′E / 53.500°N 108.000°E / 53.500; 108.000พิกัดภูมิศาสตร์: 53°30′N 108°0′E / 53.500°N 108.000°E / 53.500; 108.000
ชนิดของทะเลสาบทะเลสาบโบราณ, ทะเลสาบทรุดภาคพื้นทวีป
ชื่อในภาษาแม่
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักSelenga, Barguzin, Angara ตอนบน
แหล่งน้ำไหลออกAngara
พื้นที่รับน้ำ560,000 km2 (216,000 sq mi)
ประเทศในลุ่มน้ำมองโกเลียและรัสเซีย
ช่วงยาวที่สุด636 กิโลเมตร (395 ไมล์)
ช่วงกว้างที่สุด79 กิโลเมตร (49 ไมล์)
พื้นที่พื้นน้ำ31,722 ตารางกิโลเมตร (12,248 ตารางไมล์)[1]
ความลึกโดยเฉลี่ย744.4 เมตร (2,442 ฟุต; 407.0 ฟาทอม)[1]
ความลึกสูงสุด1,642 เมตร (5,387 ฟุต; 898 ฟาทอม)[1]
ปริมาณน้ำ23,615.39 ลูกบาศก์กิโลเมตร (5,670 ลูกบาศก์ไมล์)[1]
เวลาพักน้ำ330 ปี[2]
ความยาวชายฝั่ง12,100 กิโลเมตร (1,300 ไมล์)
ความสูงของพื้นที่455.5 เมตร (1,494 ฟุต)
แข็งตัวมกราคม–พฤษภาคม
เกาะ27 (เกาะโอลคอน)
เมืองSeverobaykalsk, Slyudyanka, Baykalsk, Ust-Barguzin
1 ความยาวแนวชายฝั่งไม่ได้ถูกวัดอย่างละเอียด
ทะเลสาบไบคาล *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศไซบีเรีย  รัสเซีย
ประเภทมรดกโลกทางธรรมชาติ
เกณฑ์พิจารณา(vii) (viii) (ix) (x)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2539 (คณะกรรมการสมัยที่ 20)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ทะเลสาบไบคาล (รัสเซีย: Oзеро Байкал, อักษรโรมัน: Ozero Baykal [ˈozʲɪrə bɐjˈkaɫ])[a] เป็นทะเลสาบทรุดในประเทศรัสเซีย ตั้งอยู่ในไซบีเรียตอนใต้ ในบริเวณระหว่างหน่วยองค์ประกอบแคว้นอีร์คุตสค์ทางตะวันตกเฉียงเหนือถึงสาธารณรัฐบูเรียเตียทางตะวันออกเฉียงใต้ ทะเลสาบนี้มีน้ำ 23,615.39 ลูกบาศก์กิโลเมตร (5,670 ลูกบาศก์ไมล์)[1] ทำให้เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีปริมาณมากที่สุดในโลก โดยมีน้ำผิวดินถึง 22–23%[4][5] ซึ่งมากกว่าเกรตเลกส์ในทวีปอเมริกาเหนือทั้งหมด[6] และยังเป็นทะเลสาบที่ลึกที่สุดในโลก[7] โดยมีความลึกสุดที่ 1,642 เมตร (5,387 ฟุต; 898 ฟาทอม)[1] และยังเป็นทะเลสาบที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[8] ที่ 25–30 ล้านปี[9][10] ทะเลสาบไบคาลมีขนาดใหญ่ตามพื้นผิวในอันดับ 7 ที่ 31,722 ตารางกิโลเมตร (12,248 ตารางไมล์) ซึ่งค่อนข้างใหญ่กว่าประเทศเบลเยียม[11] และเป็นหนึ่งในทะเลสาบที่ใสสะอาดที่สุดในโลก[12]

ทะเลสาบไบคาลเป็นที่อยู่ของพืชและสัตว์พันกว่าชนิด โดยมีหลายชนิดที่พบเฉพาะในบริเวณนี้ และยังเป็นที่อยู่ของชนเผ่าบูเรียตที่เลี้ยงแพะ อูฐ โค แกะ และม้า[13]ทางฝั่งคะวันออกของะเลสาบ[14] อุณหภูมิเฉลี่ยมีวามหลากหลายจากฤดูหนาวช่วงต่ำสุดอยู่ที่ −19 องศาเซลเซียส (−2 องศาฟาเรนไฮต์) ถึงฤดูร้อนช่วงสูงสุดที่ 14 องศาเซลเซียส (57 องศาฟาเรนไฮต์)[15] ภูมิภาคทางตะวันออกของทะเลสาบไบคาลมีชื่อเรียกว่าทรานส์ไบคาเลียหรือทรานส์ไบคาล[16] และบางครั้งภูมิภาคที่กำหนดไว้อย่างหลวม ๆ รอบทะเลสาบมีชื่อเรียกว่าไบคาเลีย ทางยูเนสโกประกาศให้ทะเลสาบไบคาลเป็นแหล่งมรดกโลกใน ค.ศ. 1996[17]

มรดกโลก[แก้]

ทะเลสาบไบคาลได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 20 เมื่อปี พ.ศ. 2539 ที่เมืองเมริดา ประเทศเม็กซิโก ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

  1. เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
  2. เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทาง ธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
  3. เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
  4. เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะ อันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย

หมายเหตุ[แก้]

  1. (บูร์ยัต: Байгал далай, อักษรโรมัน: Baigal dalai;[3] มองโกเลีย: Байгал нуур, อักษรโรมัน: Baigal nuur)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "A new bathymetric map of Lake Baikal. Morphometric Data. INTAS Project 99-1669. Ghent University, Ghent, Belgium; Consolidated Research Group on Marine Geosciences (CRG-MG), University of Barcelona, Spain; Limnological Institute of the Siberian Division of the Russian Academy of Sciences, Irkutsk, Russian Federation; State Science Research Navigation-Hydrographic Institute of the Ministry of Defense, St. Petersburg, Russian Federation". Ghent University, Ghent, Belgium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 9 July 2009.
  2. M.A. Grachev. "On the present state of the ecological system of lake Baikal". Limnological Institute, Siberian Division of the Russian Academy of Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2011. สืบค้นเมื่อ 9 July 2009.
  3. Dervla Murphy (2007) Silverland: A Winter Journey Beyond the Urals, London, John Murray, p. 173
  4. Schwarzenbach, Rene P.; Philip M. Gschwend; Dieter M. Imboden (2003). Environmental Organic Chemistry (2 ed.). Wiley Interscience. p. 1052. ISBN 9780471350538.
  5. Tyus, Harold M. (2012). Ecology and Conservation of Fishes. CRC Press. p. 116. ISBN 978-1-4398-9759-1.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. Bright, Michael, บ.ก. (2010). 1001 natural wonders : you must see before you die. preface by Koichiro Mastsuura (2009 ed.). London: Cassell Illustrated. p. 620. ISBN 9781844036745.
  7. "Deepest Lake in the World". geology.com. สืบค้นเมื่อ 18 August 2007.
  8. "Lake Baikal – A Touchstone for Global Change and Rift Studies". United States Geological Survey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2012. สืบค้นเมื่อ 3 January 2016.
  9. "Lake Baikal – UNESCO World Heritage Centre". สืบค้นเมื่อ 5 October 2012.
  10. "Lake Baikal: Protection of a unique ecosystem". ScienceDaily. 26 July 2017. สืบค้นเมื่อ 16 January 2018.
  11. "The Oddities of Lake Baikal". Alaska Science Forum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2007. สืบค้นเมื่อ 7 January 2007.
  12. Jung, J., Hojnowski, C., Jenkins, H., Ortiz, A., Brinkley, C., Cadish, L., Evans, A., Kissinger, P., Ordal, L., Osipova, S., Smith, A., Vredeveld, B., Hodge, T., Kohler, S., Rodenhouse, N. and Moore, M. (2004). "Diel vertical migration of zooplankton in Lake Baikal and its relationship to body size" (PDF). ใน Smirnov, A.I.; Izmest'eva, L.R. (บ.ก.). Ecosystems and Natural Resources of Mountain Regions. Proceedings of the first international symposium on Lake Baikal: The current state of the surface and underground hydrosphere in mountainous areas. "Nauka", Novosibirsk, Russia. pp. 131–140. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-15. สืบค้นเมื่อ 9 August 2009.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  13. S. Hudgins (2003). The Other Side of Russia: A Slice of Life in Siberia and the Russian Far East. Texas A&M University Press. สืบค้นเมื่อ 9 August 2009.
  14. M. Hammer; T. Karafet (1995). "DNA & the peopling of Siberia". Smithsonian Institution. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-24. สืบค้นเมื่อ 9 August 2009.
  15. Fefelov, I.; Tupitsyn, I. (August 2004). "Waders of the Selenga delta, Lake Baikal, eastern Siberia" (PDF). Wader Study Group Bulletin. 104: 66–78. สืบค้นเมื่อ 9 August 2009.
  16. Erbajeva, Margarita A.; Khenzykhenova, Fedora I.; Alexeeva, Nadezhda V. (2013-01-23). "Aridization of the Transbaikalia in the context of global events during the Pleistocene and its effect on the evolution of small mammals". Quaternary International. Quaternary interconnections in Eurasia: focus on Eastern Europe SEQS Conference, Rostov-on-Don, Russia, 21–26 June 2010 (ภาษาอังกฤษ). 284: 45–52. Bibcode:2013QuInt.284...45E. doi:10.1016/j.quaint.2011.12.024. ISSN 1040-6182.
  17. "Lake Baikal – World Heritage Site". World Heritage. สืบค้นเมื่อ 13 January 2007.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]