ดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์
(Defense of the Ancients)
นักพัฒนาEul
สตีฟ "กึนโซ" ฟีค
ไอซ์ฟร็อก
เอนจิน
  • ค่าที่ไม่รู้จัก
แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์
แมคโอเอส
แมคโอเอสเท็น
ประเภทม็อด
สัญญาอนุญาตฟรีแวร์
เว็บไซต์http://www.playdota.com/

ดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์ (อังกฤษ: Defense of the Ancients; ตัวย่อ: DotA) เป็นฉาก (scenario) ดัดแปลงสำหรับเกมวางแผนเรียลไทม์ วอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส และภาคต่อ วอร์คราฟต์ 3: โฟรเซนโธรน โดยพัฒนาต่อมาจากแผนที่ "อีออนออฟสไตรฟ์" (Aeon of Strife) ในเกมสตาร์คราฟต์ จุดมุ่งหมายของแต่ละทีมในฉาก คือ การทำลายฐานทัพของฝ่ายตรงข้าม (เรียกว่า แอนเชียนส์) ซึ่งมีการป้องกันอย่างแน่นหนาตรงมุมของแผนที่ โดยผู้เล่นจะได้ควบคุมยูนิตทรงพลัง ที่เรียกว่า "ฮีโร่" ร่วมกับพลพรรคซึ่งถูกควบคุมผ่านปัญญาประดิษฐ์ เรียกว่า "ครีป" (Creep) และจากรูปแบบการเล่นของเกมเล่นตามบทบาท ผู้เล่นจะเลเวลอัพฮีโร่ของตนและใช้ทองเพื่อซื้อไอเท็มระหว่างการเล่น[1]

ตัวฉากได้มีการพัฒนาขึ้นจากโปรแกรม "เวิลด์ เอดิเตอร์" ของเกมวอร์คราฟต์ 3: เรนออฟเคออส ก่อนที่มีการอัปเดตเพื่อให้สอดคล้องกับภาคต่อ โฟรเซนโธรน ที่ออกมาในภายหลัง ซึ่งได้มีการพัฒนาต่อมาในหลายรูปแบบจากแนวคิดดั้งเดิม รุ่นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือ โดตาออลสตาส์ (DotA Allstars) ซึ่งในภายหลังได้ย่อเหลือเพียง ดอทเอ หลังการออกเวอร์ชัน 6.68[2] โดยอยู่ภายใต้การดูแลของผู้สร้างหลายคนในระหว่างการพัฒนาเกม ส่วนผู้พัฒนาคนปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันด้วยนามแฝงว่า "ไอซ์ฟร็อก" ผู้มีส่วนพัฒนาเกมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548

นับตั้งแต่การเปิดตัว ออลสตาส์ ได้มีการจัดการแข่งขันหลายครั้งทั่วโลก ซึ่งรวมถึงการแข่งอย่างเป็นทางการ บลิซซ์คอน ขอบลิซซาร์ด เอ็นเตอร์เทนเมนต์ และเอเชียนเวิลด์ไซเบอร์เกมส์ รวมทั้งไซเบอร์แอทลีทแอมะเทอร์ (Cyberathlete Amateur) และไซเบอร์เอโวลูชันลีกส์ (CyberEvolution leagues) อีกด้วย Gamasutra ประกาศว่าโดตาน่าจะเป็นฉากม็อดฟรีอย่างไม่เป็นทางการซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก[3] ปัจจุบัน วาล์วคอร์เปอเรชันได้เปิดตัวเกมภาคต่อ Dota 2[4]

รูปแบบการเล่น

ภาพในเกมขณะเล่นโดตาออลสตาร์ส

การเล่น ดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์ จะแบ่งผู้เล่นออกเป็นสองทีม เรียกว่า "เซนทิเนล" (Sentinel) และ "สเคิร์จ" (Scourge) ผู้เล่นทางฝั่งเซนทิเนลจะเริ่มต้นจากฐานทัพฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของแผนที่ ส่วนผู้เล่นทางฝั่งสเคิร์จจะเริ่มต้นจากฐานทัพฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะมีหอคอยและยูนิตซึ่งถูกส่งออกมาเป็นระลอก คอยเฝ้าเส้นทางหลักที่นำไปสู่ฐานทัพของแต่ละฝ่าย และในใจกลางของฐานทัพจะมี "แอนเชียนส์" ตั้งอยู่ (เวิลด์ทรี [World Tree] ในกรณีของเซนทิเนล; โฟรเซนโธรน [Frozen Throne] ในกรณีของสเคิร์จ) อันเป็นสิ่งปลูกสร้างที่จะต้องถูกทำลายเพื่อที่จะชนะเกม[5][6] ดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์ สามารถมีผู้เล่นได้สูงสุดถึง 10 คน ในการแข่งขันแบบ 5 ต่อ 5 และสล็อตว่างสำหรับกรรมการหรือผู้สังเกตการณ์ ในการแข่งขันมักจะจัดให้ทั้งสองทีมมีผู้เล่นจำนวนเท่ากัน

ผู้เล่นแต่ละคนเลือกควบคุมฮีโร่ได้คนละหนึ่งตัว ฮีโร่เป็นยูนิตที่ทรงอำนาจและมีความสามารถอันเป็นเอกลักษณ์ ในออลสตาส์ จำนวนฮีโร่ที่สามารถเลือกควบคุมได้มีทั้งหมด 93 ตัว ซึ่งแต่ละตัวก็มีความสามารถและความได้เปรียบเหนือฮีโร่ตนอื่นไม่เหมือนกัน[7] ฉากดังกล่าวเน้นการเล่นแบบทีมเป็นหลัก ซึ่งเป็นการยากที่ผู้เล่นเพียงคนเดียวจะสามารถชนะได้เพียงลำพังเท่านั้น[8] แต่กระนั้น หากมีเวลาเพียงพอ ฮีโร่เพียงตัวเดียวก็อาจเปลี่ยนแปลงผลของเกมได้โดยไม่ต้องอาศัยทีมช่วย จากการโจมตีกลับฮีโร่ของฝ่ายตรงข้าม

ความแตกต่างของฐานฝ่ายเซนทิเนล (บน) และฝ่ายสเคิร์จ (ล่าง)

เนื่องจากตัวเกมเน้นไปยังการเสริมความแข็งแกร่งให้กับฮีโร่เพียงตัวเดียว ดังนั้นจึงไม่มีการให้ความสนใจกับการบริหารทรัพยากรและการสร้างฐานทัพ อย่างเดียวกับเกมเล่นตามบทบาท ในการสังหารยูนิตที่ถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์หรือยูนิตป่าจะเพิ่มค่าประสบการณ์ให้กับผู้เล่น และเมื่อผู้เล่นสะสมค่าประสบการณ์ไปจนถึงระดับหนึ่ง ฮีโร่ก็จะได้เลเวลเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่ง ความเสียหายจากการโจมตี และการอัปเกรดคาถาหรือเวทมนตร์ พร้อมกับที่ผู้เล่นสะสมค่าประสบการณ์ ผู้เล่นยังต้องบริหารทรัพยากรอีกอย่างหนึ่ง คือ ทองคำ อีกด้วย ผู้เล่นจะได้ทองคำจากระบบการต่อสู้ ได้แก่ รายรับจำนวนหนึ่งเป็นระยะ ๆ การสังหารหรือทำลายยูนิต สิ่งปลูกสร้าง และฮีโร่ฝ่ายตรงข้าม[9] จึงได้นำไปสู่เทคนิคการสังหารยูนิตเมื่อ "พลังชีวิตของมันต่ำจนสามารถฆ่าด้วยการโจมตีเพียงครั้งเดียว" ซึ่งถูกเรียกว่า last hitting หรือ last shot[10] ผู้เล่นสามารถใช้ทองของตนเพื่อซื้อไอเท็มเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับฮีโร่และได้รับความสามารถเพิ่มเติม ไอเท็มบางอย่างสามารถประกอบกันขึ้นเป็นไอเท็มที่มีอานุภาพมากขึ้นได้ ซึ่งการเลือกซื้อไอเท็มให้เหมาะสมกับฮีโร่ของผู้เล่นนั้นเป็นยุทธวิธีที่สำคัญในฉากดังกล่าวด้วยเช่นกัน[11]

ผู้เล่นสามารถเลือกเล่นออลสตาส์ได้หลายโหมด ซึ่งแม่ข่าย (host) เป็นผู้เลือกให้ในตอนเริ่มแมตช์ โหมดของเกมจะกำหนดความยากง่ายของฉากรวมทั้งการกำหนดว่าตนจะเป็นฝ่ายเลือกฮีโร่ให้กับตนเองหรือจะได้แบบสุ่ม โหมดเกมหลายอย่างสามารถเล่นด้วยกันได้ (อย่างเช่น easy และ random) ทำให้รูปแบบการเล่นมีความยืดหยุ่นมากขึ้น[12]

การพัฒนา

วอร์คราฟต์ 3 เป็นเกมในลำดับที่สามของชุดเกมวางแผนเรียลไทม์ของบริษัทบลิซซาร์ด วอร์คราฟต์ นับตั้งแต่เกม วอร์คราฟต์ 2 เป็นต้นมา บลิซซาร์ดได้บรรจุ "เวิลด์ เอดิเตอร์" เพิ่มในตัวเกมด้วย ทำให้ผู้เล่นสามารถสร้างฉาก หรือเรียกว่า "แผนที่" ให้กับเกมได้ด้วยตนเอง ซึ่งยังสามารถเล่นออนไลน์กับผู้เล่นคนอื่นผ่านทางแบทเทิล.เน็ต ฉากซึ่งสร้างขึ้นใหม่นี้มีตั้งแต่การดัดแปลงสภาพภูมิประเทศเพียงเล็กน้อย และคงรูปแบบการเล่นเหมือนเกมทั่วไป ไปจนถึงการสร้างฉากขึ้นใหม่ทั้งหมด นับตั้งแต่จุดมุ่งหมายของฉาก ยูนิต ไอเท็ม และเหตุการณ์ เหมือนกับดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์[13] ซึ่งบริษัทบลิซซาร์ดเองก็ได้ชี้ว่าฉากดังกล่าวเป็นตัวอย่างจากผลของการใช้เครื่องมือตกแต่งฉากนี้ด้วยเช่นกัน[14]

เวอร์ชันแรกของ ดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์ เปิดตัวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 โดยผู้สร้างแผนที่ในชื่อ Eul[15] โดยยึดหลักการจากแผนที่จากเกม สตาร์คราฟต์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า "อีออนออฟสไตรฟ์"[12] แต่ภายหลังการเปิดตัว โฟรเซนโธรน ซึ่งเพิ่มคุณสมบัติใหม่ให้กับเวิลด์ เอดิเตอร์ Eul ไม่ได้อัปเดตฉากต่ออีก[16] ผู้สร้างแผนที่คนอื่นจึงนำมาพัฒนาต่อ โดยเพิ่มฮีโร่ ไอเท็ม และคุณสมบัติใหม่[15]

ในบรรดารูปแบบทั้งหลายของแผนที่โดตาที่ถูกพัฒนาต่อจากฉากของ Eul นั้น รวมไปถึง ออลสตาส์ จากการพัฒนาของสตีฟ ฟีค (นามแฝงว่า กึนโซ) แผนที่ดังกล่าวได้กลายเป็นเวอร์ชันที่ได้รับความนิยมที่สุดในเวลาต่อมา[17] ฟีคได้กล่าวว่า ในระหว่างที่เขากำลังเริ่มพัฒนาออลสตาส์นั้น เขาไม่มีทางรู้เลยว่าตัวเกมจะได้รับความนิยมถึงเพียงนี้ และจากความสำเร็จของรูปแบบเกมที่ปรากฏออกมานี้ ทำให้เขามีแรงบันดาลใจที่จะออกแบบชื่อใหม่กับสิ่งที่เขาคิดว่าจะเป็นแนวเกมใหม่นี้[18] ฟีคได้เพิ่มระบบตำราให้กับไอเท็ม เพื่อที่จะให้มีการแบ่งลำดับชั้นของไอเท็มเมื่อมันทรงอำนาจมากขึ้น รวมทั้งสร้างบอสของฉาก ซึ่งถูกเรียกว่า โรชาน (Roshan) ตามชื่อลูกโบวลิ่งของเขา เป็นยูนิตซึ่งยากที่จะสังหารลงได้ แม้จะอาศัยผู้เล่นทั้งทีมก็ตาม[15]

ฟีคได้ใช้ห้องแชตในแบทเทิล.เน็ต เป็นแหล่งรวมตัวสำหรับผู้เล่นโดตา[15] แต่โดตาออลสตาร์สก็ยังไม่มีไซต์อย่างเป็นทางการสำหรับการพูดคุยและการตั้งแม่ข่าย ผู้นำของแคลนโดตาออลตารส์ ทีดีเอ เสนอให้มีการสร้างเว็บไซต์ขึ้นแทนที่ช่องทางออนไลน์ทั้งหลายที่มักจะได้รับการอัปเดตไม่บ่อยครั้งและการพัฒนาที่ขาดช่วง สมาชิกคนหนึ่งของทีดีเอ สตีฟ "เพนดรากอน" เมสคอน ได้สร้างอดีตไซต์ประชาคมอย่างเป็นทางการ dota-allstars.com เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2547[19]

ก่อนหน้าการยุติการให้การมีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนที่ ฟีคได้มีส่วนช่วยปรับปรุงฉากให้เหมาะสมก่อนที่จะมอบการควบคุมให้กับผู้พัฒนาคนอื่นภายหลังเวอร์ชัน 6.01 ผู้สร้างคนใหม่ ไอซ์ฟร็อก ได้เพิ่มคุณสมบัติ ฮีโร่ใหม่ และการปรับปรุงแก้ไข การเปิดตัวแต่ละครั้งจะมีเชนจล็อกออกมาด้วย ไอซ์ฟร็อกได้เก็บตัวอยู่ช่วงเวลาหนึ่งและปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ใด ๆ มีเพียงหลักฐานเดียวซึ่งบ่งบอกการสร้างของ ไอซ์ฟร็อก คือ บัญชีอีเมลของผู้สร้างฉากบนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ และชื่อซึ่งปรากฏในหน้าจอโหลดแผนที่ของเกมเท่านั้น[3] ปัจจุบัน ไอซ์ฟร็อก ได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เล่นผ่านทางบล็อกส่วนตัว ที่ซึ่งเขาตอบคำถามทั่วไปเกี่ยวกับเขาและเกี่ยวกับเกม[20] และยังโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดตัวแผนที่ในอนาคต รวมทั้งพรีวิวฮีโร่ใหม่และไอเท็มใหม่[21]

ดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์ได้รับการเสนอปรับปรุงผ่านทางฟอรัมพูดคุยอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้สามารถเสนอแนวคิดสำหรับฮีโร่หรือไอเท็มใหม่ซึ่งบางส่วนจะถูกเพิ่มในแผนที่ด้วย นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถแนะนำไอคอน คำอธิบายฮีโร่ และภาพหน้าจอโหลดเข้าฉาก รวมทั้งมีการพิจารณาข้อเสนอแนะการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติฮีโร่หรือไอเท็มที่มีอยู่แล้วอย่างจริงจัง เช่น หลังจากที่ชุมชนพบว่าฮีโรตัวหนึ่งมีพลังมากเกินไป ไอซ์ฟร็อกก็ได้เปลี่ยนแปลงค่าพลังใหม่ภายในเวลาสองสัปดาห์หลังจากการเปิดตัวเวอร์ชันใหม่ของแผนที่ดังกล่าว[3] เวอร์ชันที่ฮีโร่ฝ่ายตรงข้ามถูกควบคุมผ่านปัญญาประดิษฐ์ก็ได้มีการเปิดตัวด้วยเช่นกัน เมสคอนยังคงพัฒนา dota-allstars.com โดยในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 มีสมาชิกลงทะเบียนแล้วกว่า 1.5 ล้านคน และมีผู้เยี่ยมชมอีกมากกว่า 1 ล้านคนต่อเดือน[19] แต่เนื่องจากการขัดกันของผลประโยชน์ ไอซ์ฟร็อก จึงประกาศว่าเขาจะบอยคอต dota-allstars.com และสร้างเว็บไซต์ของตนเองในชื่อ playdota.com ขณะเดียวกันกับการพัฒนาเกมต่อไป [22] เมสคอนได้ยุติ dota-allstars ลงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 โดยให้เหตุผลว่ามีจำนวนผู้เข้าใช้งานลดลงและได้หันไปสนใจ ลีกออฟเลเจ็นดส์ แทน

เนื่องจากฉากเฉพาะของ วอร์คราฟต์ 3 ไม่มีคุณสมบัติที่ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงคุณภาพของเกม (เช่น การจับคู่ผู้เล่นที่มีความเร็วอินเทอร์เน็ตใกล้เคียงกัน เป็นต้น) โปรแกรมหลายตัวจึงถูกใช้ในการรักษาระดับของ ดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์ เครื่องมือภายนอกปิงตำแหน่งของผู้เล่น และชื่อเกมสามารถถูกตั้งขึ้นเพื่อจำกัดพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ แคลนและประชาคมอย่างเช่น ทีดีเอ ซึ่งยังคงรักษากฎและระเบียบอย่างเป็นทางการ รวมทั้งผู้เล่นสามารถถูกเตะออกจากแมตช์ได้ เมื่อถูกประกาศใน "แบนลิสต์"[3]

การตอบรับและมรดก

ภาพประกาศผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศลำดับที่1และ2 ในการแข่งดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์จากงานเวิลด์ไซเบอร์เกมส์

ความเป็นที่นิยมของดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์ได้เพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ใน คอมพิวเตอร์เกมมิงเวิลด์ ส่วนรีวิวแผนที่ใหม่และม็อดใน วอร์คราฟต์ 3 ได้มีการแสดงข้อมูลฉากดังกล่าวในนั้นด้วย[23] นักหนังสือพิมพ์และผู้พัฒนาเกมอย่าง ลุค สมิท ก็ได้เรียกว่าเป็น "ที่สุดของเกมวางแผนเรียลไทม์"[24] ออลสตาส์ได้กลายมาเป็นฉากซึ่งใช้ในการแข่งขันที่สำคัญ โดยเริ่มเปิดตัวครั้งแรกในการแข่งขันบลิซคอนของบริษัทบลิซซาร์ดในปี พ.ศ. 2548[25] อีกทั้งยังได้ถูกนำแสดงในงานเวิลด์ไซเบอร์เกมส์ที่มาเลเซียและสิงคโปร์ในปีเดียวกัน และเวิลด์ไซเบอร์เกมส์เอเชียนแชมเปียนชิพ โดยเริ่มต้นจากฤดูกาล พ.ศ. 2549[26] และในการแข่งขันซึ่งได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เช่น ไซเบอร์แอธลีท แอมะเทอร์ ลีก และไซเบอร์เอโวลูชั่นลีกส์ ก็ได้นำฉากดังกล่าวบรรจุในรายชื่อเกมซึ่งใช้ในการแข่งขันด้วย[27] และยังปรากฏในอิเล็กทรอนิกส์สปอร์ตเวิลด์คัพในปี พ.ศ. 2551[28][29] โอเวอร์ พาราดิส ผู้จัดการการแข่งขันอิเล็กทรอนิกส์สปอร์ตเวิลด์คัพ หมายเหตุว่ามีประชาคมในระดับสูงที่คอยสนับสนุนอยู่เบื้องหลังฉากดังกล่าว รวมทั้งการปรากฏทั่วโลก เป็นเหตุผลที่ทำให้เกมได้รับเลือก[30] แต่ส่วนใหญ่แล้ว การแข่งขันแบบแลนได้เป็นส่วนหลักในการเล่นโดยทั่วไป[30] รวมทั้งทัวร์นาเมนต์ในสวีเดนและรัสเซีย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการจัดการแข่งขันระดับแลนทัวร์นาเมนต์และแชมเปียนชิพในทวีปอเมริกาเหนือมีจำนวนไม่มากนัก ทำให้ผู้เล่นหลายทีมต้องสลายตัวไป[31]

ฉากดังกล่าวได้รับความนิยมในหลายพื้นที่ของโลก โดยในฟิลิปปินส์และไทย เป็นเกมที่มีผู้เล่นมากพอ ๆ กับ เคาน์เตอร์-สไตรก์[31][32] นอกจากนี้ ยังได้รับความนิยมในสวีเดนและกลุ่มประเทศในยุโรปเหนืออีกด้วย ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับเพลง "Vi sitter i Ventrilo och spelar DotA" โดยนักดนตรีชาวสวีเดน เบสฮันเตอร์ ซึ่งเข้าสู่ชาร์ตเพลงยุโรป พ.ศ. 2549 ในลำดับที่ 116 และครองตำแหน่งในชาร์ตหนึ่งในสิบอันดับสุงสุดซิงเกิลเพลงในสวีเดน นอร์เวย์[33] และฟินแลนด์[34]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 มิเชล วัลบริจ ผู้เขียนให้กับ Gamasutra กล่าวว่าโดตา "ดูเหมือนว่าจะเป็นม็อดเกมฟรีและไม่เป็นทางการที่ได้รับความนิยม และเป็นที่กล่าวขานถึงมากที่สุดในโลก"[3] โดยชี้ให้เห็นถึงความเข้มแข็งของประชาคมซึ่งเกิดขึ้นจากเกม นอกจากนี้ เขายังได้กล่าวอีกว่า โดตาเป็นการง่ายสำหรับเกมประชาคมที่จะรักษาไว้ และได้เป็นหนึ่งในจุดแข็งที่สุดของแผนที่ เกม เดมิก็อด ของแก๊สพาวเวอร์เกมส์ ก็ได้มีการยกย่องดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์ ว่าได้มีอิทธิพลต่อการสร้างเกมดังกล่าวขึ้น[35][36] ประกอบกับที่สื่อเกม เกมสปาย ได้หมายเหตุว่า ตัวเกมได้อ้างถึงการพิจารณาเกี่ยวกับความทะเยอทะยานเกี่ยวกับพระเจ้า "เล่นโดตาในชีวิตจริง"[37] Guinsoo ยังได้ดำเนินการประยุกต์ใช้ตัวจักรและบทเรียนที่ได้รับจากดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์ในเกม ลีกออฟเลเจ็นดส์ ของริออตเกมส์[18] และยังมีเกม "โคลน" ของโดตา ซึ่งรวมไปถึง ฮีโร่ส์ออฟนิวเอิร์ธ ของ เอส 2 เกม[38][39] บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ยังได้พัฒนาฟรีม็อดสำหรับสตาร์คราฟต์ 2: วิงส์ออฟลิเบอร์ตี ใช้ชื่อว่า Blizzard DOTA ซึ่งประกอบด้วยฮีโร่หลากหลายจากแฟรนไชส์บลิซซาร์ด[40]

ภาคต่อ

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ไอซ์ฟร็อกถูกว่าจ้างโดยวาล์วคอร์เปอเรชัน เป็นผู้นำทีมในโครงการที่เขาอธิบายว่าเป็น "ข่าวดีสำหรับแฟนโดตา"[41] วาล์วยื่นขอใช้ชื่อเครื่องหมายการค้า DotA ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 [4] และDota 2 ได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการโดยวาล์วเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553[42] นอกจากนี้วาล์วได้อัปเกรดซอร์สเอนจินเพื่อให้รวมไปถึงการจำลองเสื้อผ้าอย่างดี เช่นเดียวกับการปรับปรุงระบบแสง และการพัฒนาสตีมวอร์กส ซึ่งรวมไปถึงการต่อขยายอรรถประโยชน์ให้กว้างขวางขึ้น อย่างเช่น ระบบแนะนำผู้เล่นและระบบฝึกสอน[43]

ประเด็นในเรื่องของเครื่องหมายการค้าได้รับการคัดค้านจากบลิซซาร์ดโดยได้ยื่นคำคัดค้านในการใช้ชื่อ DotA ของวาล์ว[44] ประเด็นในข้อพิพาทได้ยุติเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เมื่อวาล์วและบลิซซาร์ดได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันโดยบลิซซาร์ดยอมยกสิทธิ์ให้วาล์วใช้ชื่อ DotA และเปลี่ยนชื่อฟรีม็อดจาก Blizzard DOTA เป็น Blizzard All-Stars แทน[45][46]

อ้างอิง

  1. Tok, Kevin (2006-01-25). "Defense of the Ancients 101, Page 2". GotFrag. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-24. สืบค้นเมื่อ 2007-08-04.
  2. IceFrog (2010-07-28). "Official DotA: Map Archive". GetDotA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-30. สืบค้นเมื่อ 2010-07-28.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Walbridge, Michael (2008-06-12). ""Analysis: Defense of the Ancients - An Underground Revolution"". Gamasutra. สืบค้นเมื่อ 2008-06-23.
  4. 4.0 4.1 Biessener, Adam (October 23, 2010). "Valve's New Game Announced, Detailed: Dota 2". Game Informer. สืบค้นเมื่อ December 16, 2010.
  5. "Frequently Asked Questions". Dota-Allstars.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 2007-08-04.
  6. Lodaya, Punit (2006-02-09). "DotA: AllStars Part 1". TechTree.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-25. สืบค้นเมื่อ 2007-08-04.
  7. "Hero Database". PlayDotA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-24. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
  8. Nair, Neha (2007-10-30). "Why Defense of the Ancients? (Pg. 1)". GotFrag. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-24. สืบค้นเมื่อ 2007-11-01.
  9. Lodaya, Punit (2006-02-09). "DotA: AllStars Part 2: What Do I Do?". TechTree.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-08-04.
  10. Lo, Jaclyn (2008-04-03). "DotA 101: The Killing Blow". GotFrag.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-30. สืบค้นเมื่อ 2009-10-26.
  11. "PlayDotA.com Items Database". PlayDotA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-02. สืบค้นเมื่อ 2007-03-01.
  12. 12.0 12.1 Tok, Kevin (2006-01-25). "Defense of the Ancients 101". GotFrag. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-24. สืบค้นเมื่อ 2007-08-04.
  13. "World Editor". Warcraft III Instruction Manual. Blizzard Entertainment. 2002. p. 16.
  14. Mielke, James (July 2007). "Will Work for Vespene Gas; Ten minutes with StarCraft II lead producer Chris Sigaty". Games for Windows (8).
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 Feak, Steve; Steve Mescon (2009-03-19). "Postmortem: Defense of the Ancients". Gamasutra. pp. 1–5. สืบค้นเมื่อ 2009-04-01.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. Waldbridge, Michael (2008-05-30). "The Game Anthropologist: Defense of the Ancients: An Underground Revolution". GameSetWatch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-17. สืบค้นเมื่อ 2009-01-20.
  17. Staff (2008-02-18). "Vida: El top 5". El Universo (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-14. สืบค้นเมื่อ 2008-07-01.
  18. 18.0 18.1 Perez, Daniel (2009-01-16). "Previews; We talk with new developer Riot Games about its strategy/RPG hybrid and the lead designer's Warcraft roots". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-24. สืบค้นเมื่อ 2009-02-07.
  19. 19.0 19.1 Nair, Neha (2009-04-28). "Interview with Pendragon, The future of DotA-Allstars.com". Dota-Allstars.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-19. สืบค้นเมื่อ 2009-05-15.
  20. Icefrog (2008-12-24). "Q&A Session #1". icefrog.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-21. สืบค้นเมื่อ 2009-04-20.
  21. icefrog (2009-04-08). "Update". Icefrog.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-22. สืบค้นเมื่อ 2009-04-20.
  22. IceFrog (May 14, 2009). "IceFrog.com: DotA Website News". PlayDotA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-27. สืบค้นเมื่อ May 15, 2009.
  23. Staff (2004-09-01). "WarCraft Maps Go Mod". Computer Gaming World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-30. สืบค้นเมื่อ 2007-08-12.
  24. O'Connor, Frank; Smith, Luke และคณะ (February 2008). The Official Bungie Podcast. Washington: Bungie. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (MP3)เมื่อ 2008-04-11. สืบค้นเมื่อ 2008-02-27.
  25. Staff (2005). "Blizzcon '05 Tournaments". Blizzard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-02. สืบค้นเมื่อ 2007-08-05.
  26. "About WCG Asian Championships". World Cyber Games. 2006-08-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-08. สืบค้นเมื่อ 2007-02-19.
  27. "CyberEvolution - Warcraft 3: Defense of the Ancients - Series 1". cevolved.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-31. สืบค้นเมื่อ 2007-02-19.
  28. Banks, James (2008-01-06). "ESWC Gamelist". SK Gaming. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-25. สืบค้นเมื่อ 2008-01-02.
  29. Saylor, Robby (2008-02-14). "Rwar and Slahser on Current Issues". GotFrag. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-03. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  30. 30.0 30.1 Nair, Neha (2008-01-18). "ESWC interview, why DotA?". GotFrag. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-03. สืบค้นเมื่อ 2008-03-07.
  31. 31.0 31.1 Nair, Neha (2007-10-30). "Why Defense of the Ancients? (Pg. 2)". GotFrag. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-01. สืบค้นเมื่อ 2007-11-01.
  32. Fahey, Mike (2009-02-12). "From Warcraft Obsession to Game Creation". Kotaku. สืบค้นเมื่อ 2009-09-12.
  33. "Basshunter - Vi sitter i Ventrilo och spelar DotA". norweigancharts.com. สืบค้นเมื่อ 2007-08-07.
  34. "Bass hunter - Vi sitter i Ventrilo och spelar DotA". finnishcharts.com. สืบค้นเมื่อ 2007-08-07.
  35. Purchese, Rob (2008-03-04). "GPG "fairly certain" Demigod will make 08". Eurogamer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-24. สืบค้นเมื่อ 2008-03-05.
  36. Paul, Ure (2008-03-04). "Demigod First Look". ActionTrip. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-24. สืบค้นเมื่อ 2008-03-12.
  37. Lopez, Miguel (2008-02-21). "Demigod (PC) Preview". GameSpy. สืบค้นเมื่อ 2008-10-16.
  38. Ng, Keane (2009-07-14). "League of Legends Will Be Free to Play". The Escapist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-26. สืบค้นเมื่อ 2009-07-15.
  39. Nguyen, Thierry (2009-09-01). "Clash of The DOTAs". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-24. สืบค้นเมื่อ 2009-10-21.
  40. Varanini, Giancarlo (2010-10-23). "Starcraft II: Blizzard DOTA Hands-On". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-28. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
  41. O'Conner, Alice (2009-10-05). "DotA Dev Joins Valve, Hints at Future Game". Shacknews. สืบค้นเมื่อ 2009-10-05.
  42. Biessener, Adam (2010-10-23). "Valve's New Game Announced, Detailed: Dota 2". Game Informer. สืบค้นเมื่อ 2010-12-16.
  43. Biessener, Adam (2010-10-13). "Valve's New Game Announced, Detailed: Dota 2". Game Informer. สืบค้นเมื่อ 2010-10-13.
  44. Plunkett, Luke (February 10, 2012). "Blizzard and Valve go to War Over DOTA Name". Kotaku.
  45. ผู้จัดการออนไลน์ ยุติปัญหา บลิซซาร์ดยอมวาล์วได้สิทธิ์ชื่อ "DotA"[ลิงก์เสีย] เรียกดูวันที่ 2013-03-22
  46. Reilly, Jim (May 11, 2012). "Valve, Blizzard Reach DOTA Trademark Agreement". Game Informer. สืบค้นเมื่อ May 12, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น