สะเก็ดดาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ดาวตก)

สะเก็ดดาว (อังกฤษ: meteoroid) คือ เศษวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ มีขนาดตั้งแต่ก้อนหินขนาดใหญ่ลงไปถึงผงฝุ่น เมื่อสะเก็ดดาวเคลื่อนที่เข้าสู่บรรยากาศของโลก (หรือของดาวเคราะห์อื่น) ทำให้เกิดความร้อนและแสงสว่างมองเห็นเป็นดาวตก คนทั่วไปมักเข้าใจว่าแสงสว่างนี้เกิดจากความเสียดทานระหว่างสะเก็ดดาวกับบรรยากาศ แต่ในความเป็นจริง กระบวนการหลักของการเกิดดาวตก คือ การแตกตัวเป็นไอออน (ionization) ของอนุภาคในบรรยากาศ หากสะเก็ดดาวมีขนาดใหญ่ วัตถุที่ตกลงถึงพื้นดิน เรียกว่า อุกกาบาต (meteorite) สะเก็ดดาวที่ลุกไหม้จนหมดในชั้นบรรยากาศของโลกเรียกว่า ดาวตก หรือ ผีพุ่งไต้ (meteor) ดาวตกที่สว่างมาก ๆ คือสว่างกว่าดาวศุกร์ อาจเรียกว่าลูกไฟ (fireball) สะเก็ดดาวจำนวนมากเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในฝนดาวตก บางชิ้นเล็กเกินไป พอตกลงมาถึงพื้นของโลกก็อาจเหลือแค่เศษเป็นชิ้นเล็กๆ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งก็เศษของอุกกาบาต หรือชิ้นส่วน อุกกาบาตมีหลายชนิด เพราะว่าหินที่ลอยตัวกรือคลื่อนที่ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา มีทั้งดวงจันทร์ ดาวเสาร์ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร เป็นต้น บางทีอุกกาบาตบางชิ้นอาจจะยังไม่ชิ้นส่วนที่อยู่บนดวงดาวในระบบสุริยะจักรวาลก็เป็นได้ ชึ่งหมายความว่ามันอาจจะเกิดก่อนโลกของเราอีกก็เป็นได้ บางชิ้นอาจจะโครจรมานานมาก เพียงแต่ว่ามันไม่ได้เข้ามาหลวมรวมตัวจับกลุ่มเป็นโครงสร้างของกระบวนการวัตถุธาตุ ได้แก่ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ชึ่งก่อเกำเนิดสิ่งมีชีวิต ชึ่งก็คือโลกของเรา หรืออุกกาบาตบางชิ้นอาจ ไปรวมตัวหรือมีมากในดาวดวงอื่น

ดาวตกหรือผีพุ่งไต้[แก้]

ผีพุ่งไต้ คือ ปรากฏการณ์ของเทหวัตถุนอกบรรยากาศของโลกที่พุ่งมาสู่พื้นผิวของโลกด้วยแรงดึงดูด ผ่านชั้นของบรรยากาศที่หนาขึ้นไปประมาณ 100 กิโลเมตร จึงเกิดการเสียดสีจนลุกเป็นไฟสว่างวาบเป็น ทางไปในท้องฟ้า เรียกกันว่า ดาวตก (Meteor) หรือ ผีพุ่งไต้ ดาวตกจะวิ่งเข้ามาสู่บรรยากาศของโลกวันหนึ่งประมาณ 10,000 ล้านดวง ขนาดของดาวตกมีตั้งแต่ ชิ้นเล็กที่สุดที่เราสามารถถือไว้ในอุ้งมือได้ถึงพัน ๆ ดวงจนถึงมีขนาดใหญ่น้ำหนักเป็นตัน ๆ ความเร็วของ ดาวตกอยู่ระหว่าง 72 กิโลเมตรต่อวินาที และ 12 กิโลเมตรต่อวินาที สุดแต่ว่าดาวตกนั้นพุ่งตรงเข้าชนโลก หรือพุ่งแฉลบไป ดาวตกทุกดวงมิได้เป็นผีพุ่งไต้ (Shooting Star) เสมอไป[ต้องการอ้างอิง] ความสว่างของผีพุ่งไต้เกิดจากความร้อนที่ดาว ตกเหล่านั้นเสียดสีกับบรรยากาศจนร้อนถึงจุดติดไฟจึงเกิดมีแสงสว่างพุ่งเป็นทาง

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]