ดัสตี สปริงฟิลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดัสตี สปริงฟิลด์
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดแมรี อิซาเบล แคเทอรีน เบอร์นาเดตต์ โอ'ไบรน์
เกิด16 เมษายน ค.ศ. 1939(1939-04-16) ในเวสต์แฮมป์สเตด
ที่เกิดลอนดอน
เสียชีวิต2 มีนาคม ค.ศ. 1999(1999-03-02) (59 ปี)
Henley-on-Thames, ออกซ์ฟอร์ดไชร์, ประเทศอังกฤษ
แนวเพลงป็อป, โซล
อาชีพนักร้อง
เครื่องดนตรีกีตาร์
ช่วงปี1958–1995
ค่ายเพลงPhilips Records, Atlantic Records, Parlophone

แมรี อิซาเบล แคเทอรีน เบอร์นาเดตต์ โอ'ไบรน์, โอบีอี (อังกฤษ: Mary Isabel Catherine Bernadette O'Brien OBE) (16 เมษายน ค.ศ. 1939 - 2 มีนาคม ค.ศ. 1999) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ดัสตี สปริงฟิลด์ (อังกฤษ: Dusty Springfield) เป็นนักร้องเพลงป็อป ดารา ในบรรดาศิลปินนักร้องเพลงป็อปจากสหราชอาณาจักร เธอเป็นบุคคลหนึ่งที่สร้างความประทับใจให้กับตลาดอเมริกันมากที่สุด[1] กับน้ำเสียงอันโดดเด่นที่ให้ความรู้สึก เธอเป็นที่รู้จักมากที่สุดในฐานะศิลปินนักร้องเพลงโซลผิวขาว[1]

เธอเกิดในครอบครัวโรมันแคทอลิกชาวไอริชที่รักในดนตรี แมรี โอ'ไบรน์เรียนด้านการร้องที่บ้าน สปริงฟิลด์เริ่มอาชีพเป็นนักร้องเดี่ยวในปี ค.ศ. 1963 กับเพลงป็อปมีจังหวะที่โด่งดังอย่าง "I Only Want To Be With You" เพลงดังต่อมาของเธออย่างเช่น "I Just Don't Know What to Do with Myself", "Wishin' and Hopin'", และ "You Don't Have to Say You Love Me" ผลงานเพลงของเธอ "The Look of Love" ที่เขียนโดย เบิร์ต แบแคแรกและฮอล เดวิด ใช้ประกอบภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ เรื่อง Casino Royale (1967) และยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในสาขาเพลงแห่งปี ในปี ค.ศ. 1967[2]

จากการเปลี่ยนแปลงของวงการเพลงป็อปในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 ทำให้ศิลปินนักร้องเพลงป็อปหลายคนหลุดกระแสไป และเพื่อให้ได้มีชื่อในฐานะศิลปินโซล สปริงฟิลด์เดินทางไปเมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี ทำผลงานเพลงป็อปและโซลกับทีมงานผลิตของค่ายแอตแลนติกเรเคิดส์ อัลบั้มของเธอ Dusty in Memphis ทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี่ในสาขาแสดงเพลงป็อปหญิงยอดเยี่ยมในปี 1970 และเธอได้รับรางวัลแกรมมี่ฮอลออฟเฟมในปี 2001 ผู้อ่านในระดับนานาชาติและการสำนวจจากผู้ชมได้ยกอัลบั้มนี้อยู่ใน 1 ใน 100 อัลบั้มที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล[3] อัลบั้มมีเพลงที่โดดเด่นอย่าง "Son of a Preacher Man" ติดชาร์ตท็อป 10 ในปี 1969 หลังจากอัลบั้มนี้แล้ว ความประสบความสำเร็จของเธอก็ลดลงไป จนในปี ค.ศ. 1987 เธอได้ร่วมร้องกับวงเพตช็อปบอยส์ ทำให้เธอกลับมีเพลงฮิตติดท็อป 20 ในสหราชอาณาจักรและชาร์ตอเมริกันถึง 3 ซิงเกิ้ลส์ อย่าง "What Have I Done to Deserve This?", "Nothing Has Been Proved" และ "In Private"[4] ในปี 1995 เธอได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม[4]

สปริงฟิลด์ได้รับการลงคะแนนเป็นอันดับ 1 ของศิลปินหญิงสหราชอาณาจักร ในแบบสำรวจของนิตยสารเอ็นเอ็มอี ในปี 1964, 1965 และ 1968[5] หลังจากนั้นก็เปิดที่สนใจอีกครั้งในปี 1994 หลังจากที่เพลง "Son of a Preacher Man" บรรจุในเพลงประกอบภาพยนตร์ Pulp Fiction เธอมีชื่ออยู่ในร็อกแอนด์โรลฮอลออฟเฟมและยูเคมิวสิกฮอลออฟเฟม[6][7] สปริงฟิลด์ยังมีชื่ออยู่ใน 1 ในศิลปินร็อกหญิงที่ดีที่สุดตลอดกาลใน 25 อันดับ จากผู้อ่านระดับนานาชาติและแบบสำรวจศิลปินของนิตยสาร โมโจ[8] คิว[9] และวีเอชวัน[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 The Harmony Illustrated Encyclopedia of Rock, Sixth Edition. Harmony Books. 1988. p. 162.
  2. "1967 Academy Awards". Infoplease.
  3. "Dusty in Memphis by Dusty Springfield". BestEverAlbums.com.
  4. 4.0 4.1 "Dusty Springfield". Rock and Roll Hall of Fame.
  5. "The History of The NME Awards.1968. nme.com site".
  6. "Inductee list". Rock and Roll Hall of Fame. สืบค้นเมื่อ 2007-12-31.
  7. UK Music Hall of Fame Endemol UK
  8. Mojo http://www.rocklistmusic.co.uk/mojo_p3.htm#May Rocklist.net
  9. "The lists of the Q magazine".
  10. "100 Women of Rock & Roll. vh1.com site". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-06. สืบค้นเมื่อ 2021-10-19.