ดักลาส โอเชอร์ออฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดักลาส ดี. โอเชอร์ออฟ
Douglas D. Osheroff
ดักลาส ดี. โอเชอร์ออฟ
เกิด1 สิงหาคม ค.ศ. 1945(1945-08-01)
Aberdeen  รัฐวอชิงตัน,  สหรัฐ
สัญชาติ สหรัฐ
พลเมือง สหรัฐ
ศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (B.S.), มหาวิทยาลัยคอร์เนล (Ph.D.)
มีชื่อเสียงจากการค้นพบสถานะของไหลยิ่งยวดใน Helium-3
คู่สมรสPhyllis Liu-Osheroff (ค.ศ. 1970 – ปัจจุบัน)
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (1996)
Simon Memorial Prize (1976)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์เชิงทดลอง ฟิสิกส์สสารควบแน่น
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
ห้องวิจัยเบล
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกDavid Lee
มีอิทธิพลต่อริชาร์ด ไฟน์แมน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ดักลาส ดีน โอเชอร์ออฟ (อังกฤษ: Douglas Dean Osheroff, เกิด 1 สิงหาคม ค.ศ. 1945) เป็นนักฟิสิกส์เชิงทดลองที่รู้จักกันดีสำหรับผลงานในสาขาฟิสิกส์สสารควบแน่น โดยเฉพาะการค้นพบสถานะของไหลยิ่งยวดของ Helium-3 ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน ค.ศ. 1996 ร่วมกับ David Lee และ Robert C. Richardson[1]

ประวัติ[แก้]

บิดาของ โอเชอร์ออฟ เป็นบุตรของผู้อพยพชาวยิวที่มาจากรัสเซีย มารดาของ โอเชอร์ออฟ เป็นบุตรสาวของผู้อพยพชาวสโลวัก[2] โอเชอร์ออฟ เกิดที่เมืองแอเบอร์ดีน รัฐวอชิงตัน และไดัรับปริญญาตรีใน ค.ศ. 1967 จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเขาได้รับฟังคำบรรยายโดยริชาร์ด ไฟน์แมน และทำวิจัยในระดับปริญญาตรีกับ Gerry Neugebauer

เขาเข้าร่วมห้องปฏิบัติการ Atomic and Solid State Physics ณ มหาวิทยาลัยคอร์เนล ในสถานะนักศึกษาบัณฑิต ทำวิจัยเกี่ยวกับฟิสิกส์อุณหภูมิต่ำ โดยความร่วมมือของ David Lee หัวหน้าห้องปฏิบัติการ และ Robert C. Richardson เขาได้ใช้ Pomeranchuk cell เพื่อศึกษาพฤติกรรมของ 3He ณ อุณหภูมิเพียงเศษเสี้ยวของหนึ่งในพันเหนือศูนย์องศาสัมบูรณ์ คณะวิจับพบปรากฏการณ์ที่ไม่คาดหมายในการทดลองและในที่สุดก็หาคำอธิบายว่าเกิดจากการเปลี่ยนวัฏภาคเป็นของไหลยิ่งยวดของ 3He[3][4] ลี ริชาร์ดสัน และ โอเชอร์ออฟ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกัน ใน ค.ศ. 1996 สำหรับการค้นพบนี้

เขาได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลใน ค.ศ. 1973 ต่อมาเขาจึงไปทำงานในห้องปฏิบัติการเบล ณ Murray Hill รัฐนิวเจอร์ซีย์ เป็นเวลา 15 ปี โดยยังศึกษาปรากฏการณ์ ณ อุณหภูมิต่ำของ 3He เมื่อ ค.ศ. 1987 เขาย้ายไปปฏิบัติงาน ณ ภาควิชาฟิสิกส์และฟิสิกส์ประยุกต์แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งเข้าได้เป็นประธานภาคตั้งแต่ ค.ศ. 1993-96 งานวิจัยของเขามุ่งศึกษาไปที่ปรากฏการณ์ ณ อุณหภูมิต่ำมากเท่านั้น

เขาได้รับเลือกเป็นหนึ่งใน Space Shuttle Columbia investigation panel ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับตำแหน่งของริชาร์ด ไฟน์แมน ใน Space Shuttle Challenger panel.

ปัจจุบันเขาเป็นที่กรรมการปรึกษาของ Scientists and Engineers for America ซึ่งเป็นองค์กรที่สนับสนุนวิทยาศาสตร์ที่ดีในรัฐบาลอเมริกัน

เขาเป็นคนถนัดซ้ายและมักอธิบายบุคลิกที่แปลกแยกของเขาด้วยความถนัดซ้าย เขาเป็นนักถ่ายภาพและสอนนักศึกษาปีหนึ่งให้ใช้ถ่ายภาพด้วยฟิล์มในสัมนา "The Technical Aspects of Photography" นอกจากนี้เขายังสอนวิชาฟิสิกส์พื้นฐานในหัวข้องไฟฟ้าและแม่เหล็ก ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในหลายปีการศึกษา ครั้งล่าสุดในภาคการศึกษาฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 2008 ทั้งนี้เขายังสองปฏิบัติการในระดับปริญญาตรีอีกด้วยโดยเฉพาะฟิสิกส์อุณหภูมิต่ำ

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 โอเชอร์ออฟ เข้าร่วมในโครงการ USA Science and Engineering Festival อาหารเที่ยงกับผู้รับรางวัล ซึ่งนักเรียนมัธยมศึกษาได้ร่วมสนทนากับนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลในอย่างไม่เป็นทางการระหว่างอาหารกลางวันที่แต่ละคนหิ้วมาเองจากบ้าน

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Nobel Prize in Physics 1996". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2009-10-04.
  2. Biography on the Nobel Foundation website
  3. Osheroff, DD (1972-04-03). "Evidence for a New Phase of Solid He3". Physical Review Letters. American Physical Society. 28 (14): 885–888. Bibcode:1972PhRvL..28..885O. doi:10.1103/PhysRevLett.28.885. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  4. Osheroff, DD (1972-10-02). "New Magnetic Phenomena in Liquid He3 below 3mK". Physical Review Letters. American Physical Society. 29 (14): 920–923. Bibcode:1972PhRvL..29..920O. doi:10.1103/PhysRevLett.29.920. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

[[วิกิพีเดีย:|ข้อมูลบุคคล]]
ชื่อ Osheroff, Douglas Dean}
ชื่ออื่น
รายละเอียดโดยย่อ
วันเกิด 1945-08-01
สถานที่เกิด Aberdeen, Washington
วันตาย
สถานที่ตาย