ช่างสำราญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ช่างสำราญ เป็นวรรณกรรมที่ได้รับรางวัลซีไรต์ในปี พ.ศ. 2546 แต่งโดย เดือนวาด พิมวนา

เนื้อหา[แก้]

นวนิยายเรื่องนี้แสดงภาพชีวิตของเด็กบ้านแตก คือเด็กชายกำพล ช่างสำราญ ที่ทำให้ผู้อ่านต้องคาดเดาว่า เนื้อเรื่องจะเป็นอย่างไร โดยเริ่มจากการเปิดเรื่องด้วยเหตุการณ์ที่รุนแรง ทั้งการกล่าวถึงแม่เด็กที่มีชู้ และพ่อเด็กที่ไม่มีเงินเช่าบ้าน ต้องหอบหิ้วเด็กไปอาศัยในสังคมใหม่ ที่มีชาวบ้านชอบยุ่งเรื่องของเพื่อนบ้าน ดังนั้นเนื้อหาของเรื่องส่วนหนึ่งจึงเป็นการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องของชาวบ้านที่ชอบยุ่งเรื่องของเพื่อนบ้าน แม้ว่าเหมือนจะทำให้เรื่องราวยุ่งยาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ลักษณะนี้เป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรมของไทย ที่แม้จะเป็นการยุ่งสอดรู้สอดเห็น แต่ก็แฝงไปด้วยความเอื้ออาทรที่มีต่อเด็กชายคนนี้ ซึ่งในแง่นี้ก็คือ ผู้เขียนใช้รากเหง้าทางวัฒนธรรม และความเอื้ออาทรในหมู่ชาวบ้านมาช่วยเด็กชายคนนี้นั่นเอง

นวนิยายเรื่องนี้มีทั้งความสนุก เรื่องตลก (ที่อาจจะหัวเราะไม่ออก) ภาพความสะเทือนใจ อย่างไรก็ตาม อาจารย์ยุรฉัตรกล่าวว่า แม้เนื้อหามีลักษณะไม่เครียดทั้งเรื่อง แต่ก็แฝงความสะเทือนอารมณ์เอาไว้ในขณะเดียวกัน ซึ่งทำให้มีความน่าสนใจ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]