ชาลส์ ลินด์เบิร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาลส์ ลินด์เบิร์ก
ภาพโดยHarris & Ewing
เกิดชาลส์ ออกัสตัส ลินด์เบิร์ก
4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1902(1902-02-04)
ดีทรอยต์, รัฐมิชิแกน, สหรัฐ
เสียชีวิตสิงหาคม 26, 1974(1974-08-26) (72 ปี)
กิปาฮูลู, เมาอี, ฮาวาย, สหรัฐ
สุสานPalapala Ho'omau Church, กิปาฮูลู, เมาอี, ฮาวาย
สัญชาติอเมริกัน
ชื่ออื่น
  • Lucky Lindy
  • Lone Eagle
  • Slim[1]
การศึกษาSidwell Friends School
Redondo Union High School
Little Falls High School
มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน (ไม่ได้รับปริญญา)
อาชีพนักบิน, ผู้เขียน, นักประดิษฐ์, นักสำรวจ, นักเคลื่อนไหว
มีชื่อเสียงจากบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกคนเดียว (1927)
คู่สมรสแอนน์ มอร์โรว์ ลินด์เบิร์ก (1929–1974) (จนเขาเสียชีวิต)
บุตรกับแอนน์ มอร์โรว์ ลินด์เบิร์ก:
ชาลส์ ออกัสตัส ลินด์เบิร์ก จูเนียร์
จอน ลินด์เบิร์ก
แลนด์ มอร์โรว ลินด์เบิร์ก
แอนน์ สเพนเซอร์ ลินด์เบิร์ก (เพอร์ริน)
สก็อตต์ ลินด์เบิร์ก
รีฟ ลินด์เบิร์ก (บราวน์)
กับบริจิตต์ เฮสชัยเมอร์:
ดีรก์ เฮสชัยเมอร์
แอสทริด เฮสชัยเมอร์ Bouteuil
เดวิด เฮสชัยเมอร์
กับ มารีเอตตา เฮสชัยเมอร์:
วาโก เฮสชัยเมอร์
คริสโตฟ เฮสชัยเมอร์.
กับวาเลสกา (ไม่ทราบนามสกุล):
ลูกชาย (ไม่ทราบชื่อ)
ลูกสาว (ไม่ทราบชื่อ)
บุพการีชาลส์ ออกัส ลินด์เบิร์ก
Evangeline Lodge Land Lindbergh
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สหรัฐ
แผนก/สังกัด United States Army Air Corps
กองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ
กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา
ประจำการค.ศ.1925–1941, ค.ศ.1954–1974
ชั้นยศ พลจัตวา
บำเหน็จMedal of Honor (1927)
Distinguished Flying Cross (1927)
Congressional Gold Medal (1928)
ลายมือชื่อ

ชาร์ลส์ เอ. ลินด์เบิร์ก (อังกฤษ: Charles Augustus Lindbergh) เป็นนักบินชาวอเมริกัน (4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1902 - 26 สิงหาคม ค.ศ. 1974) ผู้เป็นนักบินคนแรกที่บินเดี่ยวโดยไม่หยุดพักข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก จากนครนิวยอร์กไปยังปารีส โดยใช้เครื่องบินใบพัดปีกชั้นเดียวชื่อว่าสปิริตออฟเซนต์หลุยส์ เมื่อวันที่ 20-21 ค.ศ.1927 จนได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษของชาวอเมริกัน

เมื่อลินด์เบิร์กมีอายุได้ 25 ปี ขณะที่ทำงานเป็นนักบินให้กับการไปรษณีย์อเมริกา เขาได้ตัดสินใจเข้าร่วมชิงรางวัลออร์ทีก (Orteig Prize) ที่จะมอบเงิน 25,000 ดอลล่าร์สหรัฐแก่ใครก็ตามที่สามารถบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยไม่หยุดพักได้ โดยลินด์เบิร์กได้เริ่มบินออกจากสนามบินรูสเวล ในการ์เดนซิตี้ ในลองไอส์แลนด์ในรัฐนิวยอร์ก และไปสิ้นสุดการบินที่สนามบินเลอบูร์เกต์ (Le Bourget) ในกรุงปารีส ฝรั่งเศส รวมเป็นระยะทางกว่า 5,800 กิโลเมตร โดยใช้เครื่องบินใบพัดปีกชั้นเดียว เครื่องยนต์เดี่ยวที่มีชื่อว่า สปิริตออฟเซนต์หลุยส์ โดยความสำเร็จในครั้งนี้ส่งผลให้ลินด์เบิร์กมีชื่อเสี่ยงไปทั่วโลกในทันที และได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติขั้นสูงสุดของสหรัฐอเมริกา ที่มีชื่อว่า เมดัลออฟฮอเนอร์ (Medal of Honor) อีกด้วย

ในตอนปลายของทศวรรษ 1920 ถึงต้นทศวรรษ 1930 ลินด์เบิร์กได้ใช้ชื่อเสียงของตนในการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์ในสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1932 ลูกชายของลินด์เบิร์กที่ยังเป็นเพียงเด็กทารก ได้ถูกลักพาตัวและฆาตกรรมในภายหลัง ซึ่งบรรดาสื่อถือว่าเป็น "อาชญากรรมแห่งศตวรรษ" เหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลให้ลินด์เบิร์กและครอบครัวตัดสินใจอพยพไปอยู่ในยุโรป

จนกระทั่งเมื่อจักรวรรดิ์ญี่ปุ่นได้เปิดฉากโจมตีท่าเพิร์ลฮาร์เบอร์ โดยก่อนหน้านี้ ลินด์เบิร์กเคยเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญในการต่อต้านไม่ให้สหรัฐเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง ตามรอยบิดาของเขาที่ก็เป็นผู้นำของขบวนการต่อต้านสงครามในสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม หลังเหตุการณ์ที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ ลินด์เบิร์กได้หันมาสนับสนุนในการทำสงครามกับญี่ปุ่น และให้คำปรึกษาแก่กองทัพในสมรภูมิสงครามแปซิฟิกหลายครั้ง อย่างไรก็ตามประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ปฏิเสธที่จะคืนยศแก่ลินเบิร์ก หลังจากที่ลินด์เบิร์กได้ตัดสินใจลาออกจากกองทัพในเดือนเมษายน ค.ศ. 1941

ในบั้นปลายของชีวิต ลินด์เบิร์กยังได้กลายเป็นนักเขียนที่โด่งดัง นักสำรวจ นักประดิษฐ์ และนักสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

อ้างอิง[แก้]

ชีวประวัติ
  • Berg, A. Scott. Lindbergh. New York: G.P. Putnam's Sons, 1998. ISBN 0-399-14449-8.
  • Charles, Douglas M. "Informing FDR: FBI Political Surveillance and the Isolationist-Interventionist Foreign Policy Debate, 1939–1945", Diplomatic History, Vol. 24, Issue 2, Spring 2000.
  • Cassagneres, Ev. The Untold Story of the Spirit of St. Louis: From the Drawing Board to the Smithsonian. New Brighton, Minnesota: Flying Book International, 2002. ISBN 0-911139-32-X.
  • Charles, Douglas M. J. Edgar Hoover and the Anti-interventionists: FBI Political Surveillance and the Rise of the Domestic Security State, 1939-45. Columbus, OH: The Ohio State University Press, 2007. ISBN 978-0814210611.
  • Cole, Wayne S. Charles A. Lindbergh and the Battle Against American Intervention in World War II. New York: Harcourt Brace Jovanovich, 1974. ISBN 0-15-118168-3.
  • Collier, Peter and David Horowitz. The Fords, An American Epic. New York: Summit Books, 1987. ISBN 1-893554-32-5.
  • Costigliola, Frank. Awkward Dominion: American Political, Economic, and Cultural Relations With Europe, 1919–1933. Ithaca, New York: Cornell University Press, First edition 1984. ISBN 0-8014-1679-5.
  • Davis, Kenneth S. The Hero Charles A. Lindbergh: The Man and the Legend. London: Longmans, Green and Co. Ltd., 1959.
  • Friedman, David M. The Immortalists. New York: Ecco, 2007. ISBN 0-06-052815-X.
  • Gill, Brendan. Lindbergh Alone. New York: Harcourt Brace Jovanovich, 1977. ISBN 0-15-152401-7.
  • Kessner, Thomas. The Flight of the Century: Charles Lindbergh and the Rise of American Aviation. New York: Oxford University Press, 2010. ISBN 978-0195320190.
  • Larson, Bruce L. Lindbergh of Minnesota: A Political Biography. New York: Harcourt Brace Jovanovich, Inc., 1973. ISBN 0-15-152400-9.
  • Mersky, Peter B. U.S. Marine Corps Aviation - 1912 to the Present. Annapolis, Maryland: Nautical and Aviation Publishing Company of America, 1983. ISBN 0-933852-39-8.
  • Milton, Joyce. Loss of Eden: A Biography of Charles and Anne Morrow Lindbergh. New York: Harper Collins, 1993. ISBN 0-06-016503-0.
  • Mosley, Leonard. Lindbergh: A Biography. New York: Doubleday and Company, 1976. ISBN 0-395-09578-3.
  • Schroeck, Rudolph. Das Doppelleben des Charles A. Lindbergh (The Double Life of Charles A. Lindbergh). München, Germany/ New York: Heyne Verlag/Random House, 2005. ISBN 3-453-12010-8.
  • Smith, Larry and Eddie Adams. Beyond Glory: Medal of Honor Heroes in Their Own Words. New York: W.W. Norton & Co., 2003. ISBN 0-393-05134-X.
  • Winters, Kathleen. Anne Morrow Lindbergh: First Lady of the Air. Basingstoke, Hampshire, UK: Palgrave Macmillan, 2006. ISBN 1-4039-6932-9.
  • Wallace, Max. The American Axis: Henry Ford, Charles Lindbergh and the Rise of the Third Reich. New York: Macmillan, 2005. ISBN 978-0-312-33531-1.
  • Ward, John William. "The Mythic Meaning of Lindbergh's Flight". In Myth America: A Historical Anthology, Volume II. 1997. Gerster, Patrick, and Cords, Nicholas. (editors.) Brandywine Press, St. James, NY. ISBN 1-881-089-97-5
  • Wohl, Robert. The Spectacle of Flight: Aviation and the Western Imagination, 1920–1950. New Haven, Connecticut: Yale University Press, 2005. ISBN 0-300-10692-0.

ข้อมูลปฐมภูมิ[แก้]

  • Lindbergh, Charles A. Charles A. Lindbergh: Autobiography of Values. New York: Harcourt Brace Jovanovich, 1977. ISBN 0-15-110202-3.
  • Lindbergh, Charles A. Spirit of St. Louis. New York: Scribners, 1953.
  • Lindbergh, Charles A. "WE" (with an appendix entitled "A Little of what the World thought of Lindbergh" by Fitzhugh Green, pp. 233–318). New York & London: G.P. Putnam's Sons (The Knickerbocker Press), July 1927.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]