จูมมะลี ไซยะสอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จูมมะลี ไซยะสอน
ประธานประเทศลาว คนที่ 5
ดำรงตำแหน่ง
8 มิถุนายน พ.ศ. 2549 – 20 เมษายน พ.ศ. 2559
(9 ปี 317 วัน)
ก่อนหน้าคำไต สีพันดอน
ถัดไปบุนยัง วอละจิด
เลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
21 มีนาคม พ.ศ. 2549 – 22 มกราคม พ.ศ. 2559
(9 ปี 307 วัน)
ก่อนหน้าคำไต สีพันดอน
ถัดไปบุนยัง วอละจิด
รองประธานประเทศลาว
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2549
(5 ปี 0 วัน)
ประธานาธิบดีคำไต สีพันดอน
ก่อนหน้าอุดม ขัดติยะ
ถัดไปบุนยัง วอละจิด
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 มีนาคม พ.ศ. 2479 (88 ปี)
แขวงอัตตะปือ ประเทศลาว
พรรคการเมืองพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
คู่สมรสแก้วสายใจ ไซยะสอน (เสียชีวิต)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศ พลโท

พลโท จูมมะลี ไซยะสอน (ลาว: ຈູມມະລີ ໄຊຍະສອນ) อดีตประธานประเทศลาว สมรสกับแก้วสายใจ ไซยะสอน เมื่อ พ.ศ. 2533 มีบุตร 2 คน

ประวัติ[แก้]

จูมมะลี ไซยะสอนเป็นชาวลาวเผ่าลาวลุ่ม เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2479 ในครอบครัวชาวนาที่บ้านวัดเหนือ เมืองไซเสดถา แขวงอัตตะปือ ประเทศลาว

การศึกษา[แก้]

การเข้าร่วมปฏิวัติกับพรรคประชาชนปฏิวัติลาว[แก้]

จูมมะลี ไซยะสอนได้เข้าร่วมพรรคประชาชนปฏิวัติลาวในปี พ.ศ. 2497 ด้วยการเป็นทหารขื้นไปในเขตรวมเมืองซำเหนือ และได้เข้าเป็นสมาชิกของพรรคอย่างเต็มตัว เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ได้เข้าร่วมปฏิวัติและได้รบ โดยเริ่มจากการเคลื่อนไหวสู้รบป้องกันเขตรวม ในปี พ.ศ. 2498 - 2499 จนถึงการบัญชากองกำลังติดอาวุธแขวงเชียงขวาง และยึดเมืองพูคูน เมืองกาสี เมืองวังเวียง เมืองโพนโฮง และเมืองเวียงจันทน์ ในแขวงเวียงจันทน์ ในปี พ.ศ. 2518 เพื่อเป็นเงื่อนไขนำไปสู่การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวสำเร็จ

ตำแหน่งการงาน[แก้]

งานฝ่ายทหาร[แก้]

ท่านได้รับผิดชอบหน้าที่สำคัญ โดยเริ่มจากการเป็นรองหัวหน้าหมู่ใน พ.ศ. 2502 เป็นหัวหน้าหมวด แล้วก้าวขึ้นเป็นผู้บังคับกองพันโดยตรง ต่อมาได้เป็นหัวหน้าเสนาเขต และเป็นรองเลขาคณะพรรคเขตใน พ.ศ. 2515 เป็นเจ้ากรมสู้รบกรมใหญ่เสนาธิการ และเป็นรองเจ้ากรมใหญ่เสนาธิการใน พ.ศ. 2523 เป็นรองรัฐมนตรี (รัฐมนตรีช่วยว่าการ) กระทรวงป้องกันประเทศ (กระทรวงกลาโหม) ใน พ.ศ. 2525 ได้รับประดับยศชั้นพลโทเมื่อปี พ.ศ. 2533 และเป็นรัฐมนตรีกระทรวงป้องกันประเทศใน พ.ศ. 2534

งานฝ่ายบริหาร[แก้]

นอกจากนี้ท่านยังได้เป็นพนักงานฝ่ายบริหารในหลายตำแหน่งสำคัญ โดยเริ่มจากการเป็นเมืองหมวดใน พ.ศ. 2503 เป็นผู้บัญชาการและเป็นเลขาคณะพรรคกองพัน เป็นเลขาคณะพรรคเขตเชียงขวาง ต่อมาได้เป็นคณะพรรคกรมใหญ่เสนาธิการและเลขานุการคณะพรรคกรมใหญ่เสนาธิการใน พ.ศ. 2523 ในกองประชุมใหญ่ของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวครั้งที่ 3 ท่านได้รับเลือกให้เป็นกรรมการศูนย์กลางพรรค ได้รับเลือกเป็นกรรมการสำรองกรมการเมืองศูนย์กลางพรรคในกองประชุมใหญ่ของพรรคครั้งที่ 4 และเป็นกรรมการกรมการเมืองศูนย์กลางพรรค ตั้งแต่กองประชุมใหญ่ของพรรคครั้งที่ 5 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน (ครั้งล่าสุดมีขึ้นเป็นครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 18-21 มีนาคม พ.ศ. 2549)

ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ได้ดำรงตำแหน่งรองประธานประเทศ ทั้งเป็นรองประธานคณะกรรมการป้องกันชาติป้องกันความสงบศูนย์กลาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ประจำการกรมการเมืองศูนย์กลางพรรคอีกด้วย

การเข้าดำรงตำแหน่งประธานประเทศ[แก้]

ในกองประชุมครบคณะครั้งปฐมฤกษ์ ของคณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคสมัยที่ 8 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 พลโทจูมมะลี ไซยะสอนได้รับเลือกตั้งอย่างเป็นเอกฉันท์ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว และในการประชุมสภาแห่งชาติชุดที่ 6 ครั้งปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ปีเดียวกัน ที่ประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์เลือกตั้งให้ท่านเข้ารับตำแหน่งประธานประเทศต่อจากท่านคำไต สีพันดอน นับเป็นประธานประเทศคนที่ 6 แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

อุบัติเหตุเรือล่ม[แก้]

ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2564 ในขณะที่จูมมะลีและครอบครัวได้เดินทางท่องเที่ยว ณ เขื่อนน้ำงึม ได้เกิดอุบัติเหตุเรือล่มเนื่องจากพายุ และคลื่นลมแรงทำให้เรือจมห่างจากฝั่งประมาณ 40 เมตร โดยมีผู้เสียชีวิต 8 คน จากผู้โดยสารทั้งหมด 39 คน ทำให้มีผู้รอดชีวิต 31 คน หนึ่งในนั้นคือ จูมมะลี ได้รับความช่วยเหลือขึ้นมาได้อย่างปลอดภัย และถูกนำตัวไปรักษาอยู่ในโรงพยาบาลที่นครหลวงเวียงจันทน์ แต่ต้องสูญเสียสมาชิกครอบครัว 6 คน คือภรรยาแก้วสายใจ ไซยะสอน ลูกชาย 1 คน ลูกสะใภ้ 2 คน และหลานอีก 2 คน[1][2][3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เรือล่มในอ่างลำน้ำงึม "อดีตผู้นำลาว" สูญเสียคนในครอบครัว 6 ชีวิต". Thai PBS News. 2021-04-06. สืบค้นเมื่อ 2021-04-06.
  2. "Eight die in pleasure boat capsize on Sunday". VIENTIANE TIMES. 2021-04-04. สืบค้นเมื่อ 2021-04-06.
  3. "เรือเรือยอช์ตล่มทะเลสาบดังในลาว ดับ 8 ราย". xinhua thainews service. 2021-04-05. สืบค้นเมื่อ 2021-04-06.
ก่อนหน้า จูมมะลี ไซยะสอน ถัดไป
คำไต สีพันดอน
ประธานประเทศลาว
(8 มิถุนายน พ.ศ. 2549 – 20 เมษายน พ.ศ. 2559)
บุนยัง วอละจิด
คำไต สีพันดอน
เลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
(15 มีนาคม พ.ศ. 2549 – 22 มกราคม พ.ศ. 2559)
บุนยัง วอละจิด
อุดม ขัดติยะ
รองประธานประเทศลาว
(พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2549)
บุนยัง วอละจิด