จาค็อบ ซูมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จาค็อบ ซูมา
ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ คนที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ก่อนหน้ากคาลิมา มุตลาอึนแท
ถัดไปไซริล รามาโฟซา
ประธานพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา
ดำรงตำแหน่ง
18 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 เมษายน พ.ศ. 2485 (81 ปี)
อินคันดลา ประเทศแอฟริกาใต้
คู่สมรสGertrude Sizakele Khumalo (สมรส พ.ศ. 2516)
Kate Mantsho (สมรส พ.ศ. 2519; เสียชีวิต พ.ศ. 2543)[1]
Nkosazana Dlamini (สมรส พ.ศ. 2525; หย่า พ.ศ. 2541)
Nompumelelo Ntuli (สมรส พ.ศ. 2551)
Thobeka Mabhija (สมรส พ.ศ. 2553)[2]
Gloria Bongekile Ngema (สมรส พ.ศ. 2555)[3]
บุตร20 (ประมาณ)[4] เช่น Gugulethu, Thuthukile และ Duduzane
อาชีพนักการเมือง, นักเคลื่อนไหวต่อต้านการแบ่งแยกสีผิว

จาค็อบ เกดเลยีห์เลคีซา ซูมา (อักษรโรมัน: Jacob Gedleyihlekisa Zuma; [geɮʱejiɬeˈkisa ˈzʱuma]; เกิด 12 เมษายน ค.ศ. 1942) เป็นนักการเมืองชาวแอฟริกาใต้ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแอฟริกาใต้คนที่สี่จากปี ค.ศ. 2009 ถึง 2018[5] นอกจากนี้เขายังถูกเรียกด้วยชื่อย่อ เจเซ็ด (JZ) และชื่อชนเผ่า อึมโชโลซี (Msholozi )[6][7][8]

ซูมาเคยดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1999 ถึง 2005[9][10] แต่ต่อมาถูกบังคับออกจากตำแหน่งโดย ทาบอ อึมแบกี ในปี ค.ศ. 2005 หลังที่ปรึกษาด้านการเงินของซูมา Schabir Shaik ถูกตัดสินความผิดฐานรับเงินใต้โต๊ะ ซูมาได้รับเลือกตั้งขึ้นเป็นประธานของพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา (ANC) เมื่อ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2007 หลังพ่ายแพ้ให้กับอึมแบกี ในการประชุมของพรรค ANC ในเมือง Polokwane ต่อมาในวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2008 อึมแบกีประกาศออกจากตำแหน่งหลังถูกคณะกรรมการฝ่ายบริหารแห่งชาติ (ANC) เรียกร้องให้เขาออกจากตำแหน่ง[11] ภายหลังผู้พิพากษาของศาลสูง Christopher Nicholson ตัดสินว่าอึมแบกีได้แทรกแซงการดำเนินงานขององค์การอัยการแห่งชาติ (NPA) โดยไม่เหมาะสม รวมถึงในการดำเนินความผิดฐานฉ้อโกงกับซูมา

ซูมาเผชิญกับความท้าทายทางกฎหมายตั้งแต่ก่อนดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาถูกดำเนินคดีฐานข่มขืนในปี ค.ศ. 2005 ซึ่งต่อมาได้พ้นจากข้อกล่าวหา เขาต่อสู้ทางกฎหมายต่อข้อครหาว่าเขาก่อการอั้งยี่ และ ฉ้อโกง ซึ่งมีผลนับตั้งแต่ที่ปรึกษาการเงินของเขา Schabir Shaik ถูกดำเนินคดีฐานฉ้อโกงและหลอกลวง เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 2009 NPA ยกเลิกการดำเนินคดีฟ้องร้องต่อซูมา โดยอ้างการแทรกแซงทางการเมือง อย่างไรก็ตามการกระทำนี้ถูกปฏิเสธโดยพรรคฝ่ายค้าน หลังโครงการพัฒนาเคหสถานชนบทของเขาโดยใช้เงินของรัฐที่ Nkandla ผู้สำเร็จการแผ่นดินพบว่าซูมาได้รับการเอื้อประโยชน์อย่างไม่เหมาะสมจากค่าใช้จ่ายส่วนนี้ และศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ในปี ค.ศ. 2016 ผ่านการตัดสินคดีความ Economic Freedom Fighters v Speaker of the National Assembly ว่าซูมากระทำการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้เกิดการเรียกร้องให้เขาลงจากตำแหน่งและการอภิปรายไม่ไว้วางใจของรัฐสภาที่ต่อมาไม่ประสบผลสำเร็จ มีการประมาณว่าสมัยการดำรงตำแหน่งของซูมาฉ้อโกงเงินของรัฐไปมากกว่า R1 พันล้านแรนด์ (ราว $83 พันล้านเหรียญสหรัฐ)[12]

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ผู้พิพากษายืนยันการตัดสินจำคุกเจคอบ ซูมาเป็นเวลา 15 เดือน[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. Berger, Sebastien (5 January 2009). "ANC's Jacob Zuma to marry for fifth time". The Daily Telegraph. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2010. สืบค้นเมื่อ 5 May 2010.
  2. "SA's Zuma marries his third wife". BBC News. 4 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2010. สืบค้นเมื่อ 5 May 2010.
  3. "South Africa's polygamous president marries fourth wife". BNO News. 20 April 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2012. สืบค้นเมื่อ 20 April 2012.
  4. Laing, Aislinn (20 June 2012). "Jacob Zuma faces losing £1.2 million support for four wives". The Daily Telegraph. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2012. สืบค้นเมื่อ 20 June 2012.
  5. "Zuma sworn in as SA's fourth democratic President". SABC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2011. สืบค้นเมื่อ 9 May 2009.
  6. Mbuyazi, Nondumiso (13 September 2008). "JZ receives 'death threat'". The Star. p. 4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2009. สืบค้นเมื่อ 14 September 2008.
  7. Gordin, Jeremy (31 August 2008). "So what are Msholozi's options?". Sunday Tribune. สืบค้นเมื่อ 14 September 2008.
  8. Lander, Alice (19 December 2007). "Durban basks in Zuma's ANC victory". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2007. สืบค้นเมื่อ 14 September 2008.
  9. "Jacob Gedleyihlekisa Zuma". The Presidency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2009. สืบค้นเมื่อ 11 December 2007.
  10. SA News/Staff Reporter (22 May 2014). "Jacob Zuma elected president". iafrica.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2014. สืบค้นเมื่อ 30 May 2014.
  11. "SA's Mbeki says he will step down". BBC News. London, UK. 20 September 2008. สืบค้นเมื่อ 21 September 2008.
  12. "Budget 2018 is Zuma's Costly Legacy". Mail & Guardian. สืบค้นเมื่อ 28 February 2018.
  13. "Afrique du Sud: la justice confirme la condamnation de Jacob Zuma à de la prison". Journal de québec. สืบค้นเมื่อ 18 September 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

Wikiquote
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Jacob Zuma