คิงคริมสัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คิง คริมสัน)
King Crimson
วงคิง คริมสัน ในทศวรรษ 1980 จากซ้าย: เอเดรียน บีลิว, โรเบิร์ต ฟริปป์, บิล บรูฟอร์ด และโทนี เลวิน
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดอังกฤษ
แนวเพลงโปรเกรสซีฟร็อก, แจ๊ส-ร็อก
ช่วงปี1969–1974, 1981–1984, 1994–2004, 2007–2008, 2013–ปัจจุบัน
สมาชิกโรเบิร์ต ฟริปป์
เมล คอลลินส์
โทนี เลวิน
แพท มาสเทลลอตโต
กาวิน แฮร์ริสัน
Jakko Jakszyk
บิล รีย์ฟลิน
อดีตสมาชิกเกรก เลค
ปีเตอร์ ไจล์ส
กอร์ดอน ฮาสเกล
บอซ เบอร์เรล (เสียชีวิต)
จอห์น เวททัน
เทรย์ กันน์
ไมเคิล ไจล์ส
แอนดี แมคคัลลอช
เอียน วอลเลซ (เสียชีวิต)
จามี มัวร์
บิล บรูฟอร์ด
ปีเตอร์ ซินฟิลด์
ริชาร์ด ปาล์มเมอร์ เจมส์
เอียน แมคโดนัลด์
เดวิด ครอส
เอเดรียน บีลิว
เว็บไซต์king-crimson.com

คิง คริมสัน (อังกฤษ: King Crimson) เป็นวงดนตรีร็อกจากอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยมือกีตาร์ โรเบิร์ต ฟริปป์ และมือกลอง ไมเคิล ไจล์ส ชื่อวงตั้งขึ้นโดย ปีเตอร์ ซินฟิลด์ มีความหมายว่า Ba‘al Zebûb (ภาษาอาหรับ หมายความว่า 'Lord of Zebûb' หรือ 'เจ้าชายปิศาจ')[1]

ดนตรีของคิง คริมสัน จัดเป็นประเภท โปรเกรสซีฟร็อก ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากดนตรีหลายแนว ไม่ว่าจะเป็น แจ๊ส, คลาสสิก, ไซคีเดลิก, เฮฟวีเมทัล หรือ โฟล์ก ดนตรีของคิง คริมสัน เป็นต้นแบบของวงดนตรีร็อกรุ่นหลังหลายวง อาทิ เนอร์วานา, ไนน์ อินช์ เนล

คิง คริมสัน เปิดตัวครั้งแรกในการแสดงสดเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2512 ต่อมาได้แสดงฟรีคอนเสิร์ตที่สวนสาธารณะไฮด์ปาร์ก ลอนดอน ในเดือนกรกฎาคม ต่อหน้าผู้ชม 650,000 คน และวางตลาดอัลบั้มแรก In the Court of the Crimson King ในเดือนตุลาคม อัลบั้มนี้ได้รับคำชื่นชมจาก พีท ทาวน์เซนต์ แห่งวงเดอะ ฮู ว่าเป็นผลงานชิ้นเยี่ยม [2]

ภาพหน้าปกอัลบั้ม In the Court of the Crimson King ออกแบบโดย Barry Godber (1946–1970) ศิลปินและคอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์ ซึ่งเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย หลังจากอัลบั้มออกวางจำหน่ายไม่นาน อัลบั้มนี้เป็นที่นิยมของนักสะสม และถูกกล่าวถึงในมังงะของ โอโตโมะ คัทสุฮิโร (ผู้เขียน อะกิระ) เรื่อง Hair ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร Young Comic ฉบับวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 โดยสำนักพิมพ์ Shonen Goho-Sha [3]

ผลงาน[แก้]

สตูดิโออัลบั้ม[แก้]

  • In the Court of the Crimson King (October 1969); US #28 UK #3 Gold
  • In the Wake of Poseidon (May 1970); US #31 UK #4
  • Lizard (December 1970); US #113 UK #29
  • Islands (December 1971); US #76 UK #30
  • Larks' Tongues in Aspic (April 1973); US #61 UK #20
  • Starless and Bible Black (June 1974); US #64 UK #28
  • Red (October 1974); US #66
  • Discipline (1981); US #45
  • Beat (1982); US #52
  • Three of a Perfect Pair (1984); US #58 UK #30
  • THRAK (1995); US #83
  • The ConstruKction of Light (2000)
  • The Power to Believe (2003); US #150

บันทึกการแสดงสด[แก้]

  • Earthbound (1972)
  • USA (1974)
  • The Great Deceiver (1992, recorded 1973-1974)
  • B'Boom: Live in Argentina (1995, recorded 1994)
  • THRaKaTTaK (1996, recorded 1995)
  • Epitaph (1997, recorded 1969)
  • The Night Watch (1998, recorded 1973)
  • Absent Lovers: Live in Montreal (1998, recorded 1984)
  • Cirkus: The Young Persons' Guide to King Crimson Live (1999, recorded 1969-1998)
  • Live in Mexico City (1999, recorded 1996)
  • The ProjeKcts (1999, recorded 1997-1999)
  • The Deception of the Thrush: A Beginners' Guide to ProjeKcts (1999, recorded 1997-1999)
  • The Beginners' Guide to the King Crimson Collectors' Club (2000, recorded 1969-1998)
  • Heavy ConstruKction (2000)
  • VROOOM VROOOM (2001, recorded 1995-1996)
  • Ladies of the Road (2002, recorded 1971-1972)
  • EleKtrik: Live in Japan (2003)
  • The Power To Believe Tour Box (2003)
  • Live in Argentina (2012, recorded 1994)

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.songsouponsea.com/Promenade/Metaphysical.html
  2. "King Crimson biography". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-06-04.
  3. รวมเล่มในไทย ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2550 โดย สายฟ้าบุ๊ค

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]