กบฏสามเจ้าศักดินา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กบฏสามเจ้าศักดินา
ส่วนหนึ่งของ สงครามระหว่าง กบฏสามเจ้าศักดินา และ ราชวงศ์ชิง

อู๋ซานกุ้ย (ตรงกลาง) เป็นหนึ่งในผู้นำกบฏครั้งนี้
วันที่เดือนสิงหาคม ปี 1673 คังซีปีที่ 12 - เดือนพฤศจิกายน ปี 1681 คังซีปีที่ 20
สถานที่
ผล ราชวงศ์ชิงชนะสงคราม
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ตะวันตกเฉียงใต้ - ใต้
คู่สงคราม
ราชวงศ์ชิง ราชวงศ์ต้าโจว 1678–1681
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จักรพรรดิคังซี สามเจ้าศักดินา หวังฝู่เฉิน ซุนเหยียนหลิง และ เจิ้งจิง
ความสูญเสีย
กบฏสิ้นสุด

กบฏสามเจ้าศักดินา (三藩之乱) เกิดขึ้นในสมัยฮ่องเต้คังซี เจ้าพิชิตภาคตะวันตกอู๋ซานกุ้ย (平西王) เจ้าพิชิตภาคใต้ซ่างจือซิ่น (平南王) และ เจ้าสถาปนาสันติสุขแห่งภาคใต้เกิ่งจิงจง (靖南王) ก่อการจลาจลในภาคใต้และปลุกระดมต่อต้านราชวงศ์ชิงปี 1673-1681 กบฏสามเจ้าศักดินาจึงสิ้นสุดลง

สามเจ้าศักดินาคือขุนนางหมิงที่ยอมแพ้ต่อราชวงศ์ชิงและช่วยราชสำนักปราบปรามกบฏทางใต้ เป็นผู้ที่มีความดีความชอบถูกตั้งบรรดาศักดิ์รักษามลฑลทางใต้ดังนี้

  1. อู๋ซานกุ้ยถูกตั้งบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพิชิตภาคตะวันตก (平西王) รักษายูนนาน ปี 1662 หลังจากประหารฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงใต้ ราชวงศ์ชิงจึงได้มอบดินแดนกุ้ยโจวให้อู๋ซานกุ้ย อีก 1 ดินแดน
  2. ซ่างเขอสี่ถูกตั้งบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพิชิตภาคใต้ (平南王) รักษากวางตุ้ง
  3. เกิ่งจ้งหมิงถูกตั้งบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าสถาปนาสันติสุขแห่งภาคใต้ (靖南王) รักษาฮกเกี้ยน

เบื้องหลัง[แก้]

ต้นราชวงศ์ชิงมีขุนนางหมิงช่วยกันระดมทัพปราบกบฏราชวงศ์หมิงใต้ หลังจากจางเซี่ยนจงตาย ลูกบุญธรรมของเขา ได้แก่ ซุนเข่อว่าง หลี่ติ้งกั๋ว หลิวเหวินซิ่ว ก็ได้ช่วยกันกอบกู้เอกราช ปี 1646 โดยซุนเข่อว่างคุมทัพใหญ่ต้าซีเข้ากุ้ยโจว สถาปนาภาคตะวันตกเฉียงใต้ต่อต้นราชวงศ์ชิง ปี 1647 เคลื่อนทัพยึดครองยูนนานและกุ้ยโจว2มณฑล ซุ่นจื้อปีที่ 7 ปี 1650 ซ่างเขอสี่และเกิ่งจี้เม้าบุกเข้ายึดกว่างโจวได้ หย่งลี่ปีที่ 6 ต้อนรับฮ่องเต้หย่งลี่เข้ากุ้ยโจว กองทัพต้าซีปราบกบฏขุนศึกภาคเหนือ หลี่ติ้งกั๋วคุมทัพ 8 หมื่นทางตะวันออกออกจากกว่างซีทางใต้ของกุ้ยหลินบุกเข้าหูหนาน กวางตุ้งตามลำดับ หลี่ติ้งกั๋วบุกเข้ายึดกุ้ยหลินได้ ในเวลาเดียวกันหลิวเหวินซิ่วก็ออกตีเสฉวนบุเข้ายึดเมืองชวนหนานกลับคืนมาได้ หย่งลี่ปีที่ 11 ซุนเข่อว่างพ่ายแพ้อย่างยิ่งใหญ่

ปีเดียวกันซุนเข่อว่างยอมจำนนต่อราชวงศ์ชิง หลี่ติ้งกั๋วรักษาอำนาจทางการเมืองกุ้ยหวาง (桂王) แต่ของกรองทางการทหารกองทัพต้าซีถูกซุนเข่อว่างรายงานให้ราชวงศ์ชิงทราบแล้วทำให้ต้าซีพ่ายแพ้ ปี 1658 กองกำลังหลักของชิงจาก หูหนาน เสฉวน กว่างซี สามทางเข้าตีกุ้ยโจว ขณะนั้นเจิ้งเฉิงกงฉวยโอกาสกองกำลังหลักของชิงบุกตีตะวันตกเฉียงใต้ คุมทัพใหญ่ 1แสนกว่าคนปราบกบฏทางเหนือเข้าประชิดนานกิงเพื่อยึดครองนานกิง แต่ ถูกกองทัพชิงตีจนปราชัย ในปี 1661 อู๋ซานกุ้ยบุกเข้ายูนนาน ปีถัดมา ปี 1662 คังซีปีที่ 1 ตีเมืองคุนหมิงแตก หลี่ติ้งกั๋วนำพาส่งฮ่องเต้หย่งลี่ถอยออกจากคุนหมิงหลบหนีไปพม่าอู๋ซานกุ้ยคุมทัพราชวงศ์ชิงบุกเข้าพม่าเพ่อจับกุ้ยหวาง (桂王) หลังจากกุ้ยหวางถูกจับอู๋ซานกุ้ยประหารชีวิตกุ้ยหวางที่คุนหมิง (昆明) หลังจากหลี่ติ้งกั๋วรู้ว่าฮ่องเต้หย่งลี่ถูกประหารชีวิตเขาก็ป่วยตาย หลังจากนั้นอู๋ซานกุ้ยมีอำนาจศาลในกุ้ยโจว ปี 1670 อิทธิพลของอู๋ซานกุ้ยขยายไปสู่ หูหนาน เสฉวน กานซู่ และฉ่านซี ซ่างเขอสี่มีอิทธพลในกวางตุ้งและเกิ่งจิงจงมีอิทธิพลในฮกเกี้ยน พวกเขาปกครองดินแดนเรียกว่า "ศักดินา" ยอมรับดินแดนในครอบครองและศาลชิงเสมือนไม่ได้ควบคุมเหนือมณฑลในภาคใต้ และ ตะวันตกเฉียงใต้

การจลาจลของสามเจ้าศักดินา[แก้]

คังซีปีที่ 12 ปี 1673 ซ่างเขอสี่กลับบ้านเดิมที่เหลียวตง ซ่างจือซิ่นสืบทอดตำแหน่งต่อรักษากวางตุ้งตามลำดับ แต่ ซ่างจือซิ่นหยิ่งผยอง ทางราชสำนักได้ถอดถอนตำแหน่งของซ่างจือซิ่น อู๋ซานกุ้ย (吴三桂) และเกิ่งจิงจง (耿精忠) จึงได้เชิญราชวงศ์ถอนทหาร แต่ได้ลองสืบหาข่าวทางราชสำนักพบส่าขณะนี้ราชสำนักได้ถอดถอนสามเจ้าศักดินาและยังมีคนสนับสนุนให้ถอนสามเจ้าศักดินา เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ปลายปี 1673 จึงทำให้อู๋ซานกุ้ยปะทุต่อต้านชิงที่ยูนนาน เกิ่งจิงจง (耿精忠) ตอบรับก่อการจลาจลในฮกเกี้ยน อู๋ซานกุ้ยส่งหนังสือให้ซ่างเขอสี่ เกลี้ยกล่อมเขาให้ต่อต้านชิง ซ่างเขอสี่ทำหนังสือรายงานต่อราชสำนักว่าตนเองเป็นผู้ที่มีจิตใจจงรักภักดีต่อราชวงศ์ชิง ก่อนปี 1674 กองกำลังราชวงศ์ชิงประสบความล้มเหลว อู๋ซานกุ้ยคุมทัพทหารเป็นกบฏต่อราชวงศ์ชิง เมือเรียกร้องให้ "ต่อต้านชิงฟื้นคืนหมิง" แบ่งทหารบุกตี หูหนานและเสฉวนแตก เกิ่งจิงจง (ลูกชายของเกิ่งจี้เม้า) เกิ่งจิงจงแบ่งทหารบุกตีเมืองใน เจ้อเจียง, เจียงซี ซ่างจือซิ่นก่อการจลาจลในกวางตุ้งลูกชายของซ่างเขอสี่คือซ่างจือซิ่นตอบรับที่ฮกเกี้ยนและกวางตุ้งตามลำดับ ซุนเหยียนหลิงผู้ครอบครองกว่างซี อู๋ซานกุ้ยเชิญหวางฝู่เฉินนำทัพก่อกบฏ หวางฝู่เฉินนำกานซู่และฉ่านซีทางตะวันตกก็ต่อต้าน

ขณะเดียวกัน เจิ้งจิงก็คุมทัพใหญ่ 1 แสน 5 หมื่นคนขึ้นบกที่ฮกเกี้ยน ปี 1675 ฮ่องเต้คังซีรวมกำลังสำคัญทางกลางปราบปรามอู๋ซานกุ้ยทางใต้ เวลาเดียวกันไม่ได้ถอน เจ้าพิชิตภาคใต้, เจ้าสถาปนาสันติสุขแห่งภาคใต้ 2 ศักดินา คังซีปีที่ 15 ปี 1676 หวางฝู่เฉินย้อนกลับสวามิภักดิ์ต่อชิงและกองกำลังของเขาถูกชิงใช้โดยฮ่องเต้คังซีทางตะวันตกของประเทศจีน ปีเดียวกันเกิ่งจิงจงอิทธิพลสิ้นสุดไปแล้วจึงยอมจำนนต่อชิงและกองกำลังของเขาถูกส่งไปเจียงซีแต่เกิ่งจิงจงร้องขอตำแหน่งเจ้าสถาปนาสันติสุขแห่งภาคใต้ ราชวงศ์บัญชาการให้เกิ่งจิงจงนำทัพปราบปรามและทำลายกองกำลังของซ่างจือซิ่นและเจิ้งจิง เกิ่งจิงจงนำทัพบุกตีกองทัพของซ่างจือซิ่นจนปราชัย ซ่างจือซิ่นก็สืบทอดตำแหน่งต่อและยอมจำนนต่อชิงในเดือนมกราคม ปี 1677 หลังจากอู๋ซานกุ้ยยึดครองหูหนาน กองทัพชิงรอโอกาสยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ของหูหนาน ปีนั้นอู๋ซานกุ้ยฆ่าซุนเหยียนหลิงเพราะว่าเชื่อว่าซุนเหยียนหลิงจะยอมจำนนต่อชิง คังซีปีที่ 17 ปี 1678 อู๋ซานกุ้ยตั้งตัวเองเป็นฮ่องเต้ที่เหิงโจว (ปัจจุบัน คือ เหิงหยาง หูหนาน) ชื่อประเทศ ต้าโจว 大周 ศักราช เจาอู่ 昭武 ปีเดียวกัน วันที่ 17 สิงหาคม อู๋ซานกุ้ยป่วยตาย หลานของอู๋ซานกุ้ยคืออู๋ซื่อฝานสืบทอดตำแหน่งต่อ เปลี่ยนศักราชเป็นหงฮว่า 洪化 ประคองโลงศพกลับไปยูนนาน กองทัพชิงฉวยโอกาสขวัญกองทัพอู๋ไม่มั่นคงบุกตีเยว่โจวและบุกเข้ายึดเยว่โจว ผู้บัญชาการทหารราชวงศ์ชิงบุกเข้ายึดเมืองฉางซาหุหนานได้ ยึดดินแดนเหิงโจวและกุ้ยหลิน กองทัพชิงยึดดินแดนฮั่นจงฉงชิ่ง เฉิงตู คืน คังซีปีที่ 19 ปี 1680 เดือนตุลาคม อู๋ซื่อฝานถอยกลับคุณหมิง เวลานี้ หูหนาน กุ้ยโจว กว่างซี เสฉวนถูกกองทัพราชวงศ์ชิงยึดดินแดนคืนตามลำดับ เกิ่งจิงจงบุกตีกองทัพของเจิ้งจิงจนปราชัยถอยกลับไปที่ไต้หวันในปี 1680

สิ้นสุด[แก้]

คังซีปีที่ 19 ปี1680 ผู้บัญชาการทหารราชวงศ์ชิงเสนอความคิดเห็นจากหูหนาน กว่างซี เสฉวน สามทางรวมตียูนนาน คังซีปีที่ 20 ปี1681 ล้อมเมืองคุนหมิง เดือนตุลาคม ผู้บัญชาการทหารราชวงศ์ชิงบัญชาการทหารบุกตีคุนหมิงแตก วันที่ 28 อู๋ซื่อฝานหมดหวังจึงฆ่าตัวตาย วันที่ 29กองทัพอู๋ออกเมืองยอมจำนน ราชวงศ์ต้าโจวสิ้นสุดปี1681