วูดโรว์ วิลสัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Woodrow Wilson)
วูดโรว์ วิลสัน
วิลสันในปีค.ศ. 1919
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
ดำรงตำแหน่ง
4 มีนาคม ค.ศ. 1913 – 4 มีนาคม ค.ศ. 1921
(8 ปี 0 วัน)
รองประธานาธิบดีโทมัส อาร์. มาร์แชลล์
ก่อนหน้าวิลเลียม เอช. ทัฟต์
ถัดไปวาร์เรน จี. ฮาร์ดิง
ผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซีย์
ดำรงตำแหน่ง
17 มกราคม ค.ศ. 1911 – 1 มีนาคม ค.ศ. 1913
(2 ปี 43 วัน)
ก่อนหน้าจอห์น แฟรงกลิน ฟอร์ต
ถัดไปเจมส์ ไฟรแมน ฟีเอเดอร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 ธันวาคม ค.ศ. 1856
สทอนทัน รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐ
เสียชีวิต3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1924 (67 ปี)
วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ
ศาสนาเพรสไบทีเรียน
พรรคการเมืองพรรคเดโมแครต
คู่สมรสเอลเลน แอ็กซัน (1885-1914)
เอดิท บอลลิง เกลต์ (1915-1924)
วิชาชีพนักการเมือง
อาจารย์มหาวิทยาลัย
ลายมือชื่อ

โทมัส วูดโรว์ วิลสัน (อังกฤษ: Thomas Woodrow Wilson) เป็นรัฐบุรุษ นักกฎหมาย และนักวิชาการชาวอเมริกันผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 28 ระหว่าง ค.ศ. 1913 ถึง 1921 สังกัดพรรคเดโมแครต วิลสันได้ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยพรินซตัน และเป็นผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซีย์คนที่ 34 ก่อนชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1912 ขณะดำรงตำแหน่ง เขาได้ตรวจสอบกระบวนการความก้าวหน้าของนโยบายทางนิติบัญญัติที่หาตัวจับได้ยากจนกระทั่งโครงการสัญญาใหม่ใน ค.ศ. 1933 เขายังได้เป็นผู้นำพาประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งใน ค.ศ. 1917 มีการก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวในนโยบายต่างประเทศชื่อ "นักลัทธิวิลสัน"

เขาเกิดในสทอนตัน รัฐเวอร์จิเนีย และใช้ชีวิตช่วงปฐมวัยในออกัสตา รัฐจอร์เจีย และโคลัมเบีย รัฐเซาท์แคโรไลนา ภายหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขารัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ วิลสันประกอบอาชีพสอนที่โรงเรียนต่าง ๆ ก่อนเข้ารับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยพรินซตัน ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซีย์ระหว่าง ค.ศ. 1911 ถึง 1913 วิลสันแตกหักกับหัวหน้าพรรคและเอาชนะกระบวนการการปฏิรูปก้าวหน้าหลายครั้ง ความสำเร็จของเขาในรัฐนิวเจอร์ซียทำให้เขามีชื่อเสียงระดับชาติในฐานะนักปฏิรูปหัวก้าวหน้า และเขาชนะการเสนอชื่อรับเลือกตั้งประธานาธิบดีที่การประชุมพรรคเดโมแครตแห่งชาติ ค.ศ. 1912 วิลสันชนะประธานาธิบดีวิลเลียม ฮาวเวิร์ด แทฟต์จากพรรคริพับลิกันในขณะนั้น และผู้รับสมัครอีกคนจากพรรคก้าวหน้าคือ ธีโอดอร์ โรสเวลต์ จนกลายเป็นชาวภาคใต้คนแรกที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีนับตั้งแต่สมัยสงครามกลางเมืองอเมริกา วิลสัน อนุญาตให้มีการแบ่งแยกอย่างกว้างขวางภายใน ระบบราชการของรัฐบาลกลาง เขาขับไล่ชาวแอฟริกันอเมริกันจำนวนมากออกจากตำแหน่งของรัฐบาลกลาง และการคัดค้านการอธิษฐานของสตรีทำให้เกิดการประท้วง วาระแรกของเขามุ่งเน้นไปที่การผ่านวาระภายใน ในตำแหน่งประธานาธิบดีวาระแรก วิลสันอุทิศให้แก่การผลักดันวาระเสรีภาพใหม่ (New Freedom) ที่เป็นความคิดก้าวหน้า เขาจัดความสำคัญอันดับแรกให้กับการผ่านรัฐบัญญัติรัษฎากร ค.ศ. 1913 ซึ่งลดพิกัดอัตราศุลกากรและริเริ่มภาษีเงินได้ของรัฐบาลกลาง ต่อมากฎหมายภาษีซึ่งดำเนินการในการเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลกลาง และเพิ่มอัตราภาษีรายได้สูงสุดถึงร้อยละ 77 วิลสันยังควบคุมการผ่านรัฐบัญญัติธนาคารกลาง ซึ่งก่อตั้งระบบธนาคารกลางสหรัฐ เขาผ่านสองกฎหมายที่สำคัญคือ รัฐบัญญํติคณะกรรมาธิการการค้ากลาง (Federal Trade Commission Act) และรัฐบัญญัติป้องกันการผูกขาดเคลย์ตัน เพื่อวางระเบียบผลประโยชน์ธุรกิจขนาดใหญ่หรือทรัสต์ (trust)

เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอุบัติขึ้นใน ค.ศ. 1914 เขาดำเนินนโยบายเป็นกลาง เขาชนะการเลือกตั้งอีกสมัยอย่างเฉียดฉิวใน ค.ศ. 1916 โดยชนะ Charles Evans Hughes ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1917 วิลสันขออนุมัติรัฐสภาเพื่อประกาศสงครามต่อจักรวรรดิเยอรมันเพื่อตอบโต้นโยบายการสงครามเรือดำน้ำแบบไม่จำกัด ซึ่งรัฐสภายินยอม วิลสันให้มีการระดมพลยามสงครามแต่เขาอุทิศความพยายามส่วนใหญ่ให้แก่การต่างประเทศ โดยพัฒนาหลักการสิบสี่ข้อเป็นพื้นฐานสำหรับสันติภาพหลังสงคราม หลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรชนะในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 วิลสันและผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรคนอื่น ๆ เข้าร่วมการประชุมสันติภาพปารีส ค.ศ. 1919 ที่วิลสันสนับสนุนการก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศ ต่อมาสนธิสัญญาแวร์ซายได้นำเอาแนวคิดดังกล่าวก่อตั้งสันนิบาติชาติ แต่วิลสันไม่สามารถโน้มน้าววุฒิสภาสหรัฐให้ยอมให้สัตยาบันสนธิสัญญาหรืออนุญาตให้สหรัฐเข้าร่วมกับองค์การดังกล่าว วิลสันตั้งใจลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยที่สามแต่เกิดโรคหลอดเลือดสมองรุนแรงเสียก่อนในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1919 ทำให้เขาทุพพลภาพเสียเกือบตลอดวาระที่เหลือ เขาวางมือจากตำแหน่งทางการเมืองใน ค.ศ. 1921 และเสียชีวิตใน ค.ศ. 1924 ด้วยวัย 67 ปี นักวิชาการส่วนใหญ่ได้ให้อันดับแก่วิลสันว่าเป็นหนึ่งในประธานาธิบดีแห่งสหรัฐที่ดีกว่าค่าเฉลี่ย[1][2] แม้ว่าเขาจะได้รับคำวิจารณ์อย่างรุนแรงสำหรับการกระทำของเขาเกี่ยวกับการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Arthur M. Schlesinger, Jr., "Rating the Presidents: From Washington to Clinton". Political Science Quarterly (1997). 112#2: 179–90.
  2. Schuessler, Jennifer (November 29, 2015). "Woodrow Wilson's Legacy Gets Complicated". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 29, 2016.
  3. Kazin, Michael (June 22, 2018). "Woodrow Wilson Achieved a Lot. So Why Is He So Scorned?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ January 27, 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า วูดโรว์ วิลสัน ถัดไป
วิลเลียม เอช. ทัฟต์
ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 28
(4 มีนาคม ค.ศ. 1913 - 4 มีนาคม ค.ศ. 1921)
วาร์เรน จี. ฮาร์ดิง