ชมพู่ป่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Syzygium aqueum)
ชมพู่ป่า
สถานะการอนุรักษ์
Rare (NCA)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Myrtales
วงศ์: Myrtaceae
สกุล: Syzygium
สปีชีส์: S.  aqueum
ชื่อทวินาม
Syzygium aqueum
Alston
ชื่อพ้อง[1]
  • Cerocarpus aqueus (Burm.f.) Hassk.
  • Eugenia alba Roxb.
  • Eugenia aquea Burm.f.
  • Eugenia callophylla (Miq.) Reinw. ex de Vriese
  • Eugenia malaccensis Lour. nom. illeg.
  • Eugenia mindanaensis C.B.Rob.
  • Eugenia nodiflora Aubl.
  • Eugenia obversa Miq.
  • Eugenia stipularis (Blume) Miq.
  • Gelpkea stipularis Blume
  • Jambosa alba (Roxb.) G.Don
  • Jambosa ambigua Blume
  • Jambosa aquea (Burm.f.) DC.
  • Jambosa calophylla Miq.
  • Jambosa madagascariensis Blume
  • Jambosa obtusissima (Blume) DC.
  • Jambosa subsessilis Miq.
  • Jambosa timorensis Blume
  • Malidra aquea (Burm.f.) Raf.
  • Myrtus obtusissima Blume
  • Myrtus timorensis Zipp. ex Span.
  • Syzygium obversum (Miq.) Masam.

ชมพู่ป่า ชื่อวิทยาศาสตร์: Syzygium aqueum เป็นพืชในวงศ์ Myrtaceae เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นมักโค้งงอ ใบเดี่ยว ขยี้แล้วไม่มีกลิ่นหรือมีกลิ่นเล็กน้อย ก้านยาว ดอกช่อออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ กลีบเลี้ยงรูปหลอด กลีบดอกสีขาวแกมเหลือง เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลสด ทรงคล้ายลูกข่าง มีหลายเมล็ด กลีบเลี้ยงติดที่ส่วนปลายของผล ผลสีขาวหรือแดง ฉ่ำน้ำ ผิวเป็นมันวาว ไม่มีกลิ่น เมล็ดขนาดเล็ก รูปกลม มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลคล้ายชมพู่แก้มแหม่ม แก่แล้วยังมีรสฝาด ในอินโดนีเซียใช้ใบอ่อนห่ออาหารว่างที่ทำจากข้าวเหนียวหมัก รสฝาดในผลเกิดจากแทนนิน

อ้างอิง[แก้]

  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2: ไม้ผลและไม้ผลเคี้ยวมัน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544.หน้า 412 – 414
  1. "The Plant List: A Working List of All Plant Species".