สตาร์อัลไลแอนซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Star Alliance)
สตาร์อัลไลแอนซ์
Star Alliance
ก่อตั้ง14 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี)
สายการบินสมาชิก26
สมาชิกนอกเครือข่าย40
ท่าอากาศยานปลายทาง1,294[1]
ประเทศปลายทาง195[2]
ปริมาณผู้โดยสาร (ล้าน)762[2]
ปริมาณขนส่งผู้โดยสาร (พันล้าน)1,739[1]
ขนาดฝูงบิน5,033[1]
สำนักงานใหญ่ท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ต, ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์, เยอรมนี[3]
ผู้บริหารธีโอ พานาจิโอทูเลียส (ซีอีโอ)[4]
สกอตต์ เคอร์บี้ (ประธาน)[5]
คำขวัญวิธีที่โลกเชื่อมต่อกัน
(The Way the Earth Connects)
เว็บไซต์staralliance.com


สตาร์อัลไลแอนซ์ (อังกฤษ: Star Alliance) เป็นเครือข่ายพันธมิตรสายการบินรายแรกและขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งเมื่อ14 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 โดยมีสายการบินก่อตั้ง 5 สายการบินคือ แอร์แคนาดา, ลุฟท์ฮันซ่า, ยูไนเต็ดแอร์ไลน์, สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม และการบินไทย ปัจจุบันมีสายการบินเข้าร่วมจำนวน 28 สายการบิน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์ ประเทศเยอรมนี

สายการบินทั้งหมดที่ร่วมด้วยจะมีความร่วมมือกัน ดังนี้

  1. ผู้เดินทางเปลี่ยนเครื่องจะได้รับความสะดวกมากขึ้น สามารถใช้บัตรโดยสารใบเดียวตลอดเส้นทางได้
  2. สามารถนำแต้มสะสมที่ได้จากสายการบินในเครือข่ายไปสะสมหรือใช้แต้มกับรายการสะสมแต้มของสายการบินอื่นๆในเครือข่ายได้
  3. ผู้ใช้บริการในชั้นธุรกิจและชั้นหนึ่งของสายการบินในเครือข่ายสามารถใช้บริการห้องรับรองของสายการบินอื่นๆในเครือข่ายได้
  4. มีการพัฒนาระบบสารสนเทศร่วมกัน

ปัจจุบันเครือข่ายมีการให้บริการเที่ยวบินวันละ 21,555 เที่ยวต่อวัน ในท่าอากาศยาน 1,329 แห่ง ใน 195 ประเทศ มีอากาศยานรวมกันกว่า 4,570 ลำ มีปริมาณผู้โดยสารกว่า 678.5 ล้านคน ทั่วโลก[6]

สายการบินที่เข้าร่วม[แก้]

สายการบินสมาชิก[แก้]

แอร์แคนาดา, ลุฟท์ฮันซ่า, สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์, การบินไทย และยูไนเต็ดแอร์ไลน์ สายการบินผู้ร่วมก่อตั้งสตาร์อัลไลนแอนซ์

หมายเหตุ +: สายการบินผู้ร่วมก่อตั้ง

สมาชิกคอนเนคท์ติ้ง[แก้]

สมาชิกในอดีต[แก้]

สนามบินหลัก,รองของสมาชิก[แก้]

Members Hubs Nearby airports
สโลวีเนีย เอเดรียแอร์เวย์ ท่าอากาศยานลูจบีจานาโจสพันนิส ท่าอากาศยานนานาชาติพลิสตีนา, ท่าอากาศยานนานาชาติติรานา
กรีซ เอเจี่ยนแอร์ไลน์ ท่าอากาศยานนานาชาติเอเทนส์, ท่าอากาศยานนานาชาติเฮลาฮิลั่น, ท่าอาศยานนานาชาติเฮสสาโลนิกี้ ท่าอากาศยานนานาชาติคอร์ฟู, ท่าอากาศยานนานาชาติลานาคาร์, ท่าอากาศยานนานาชาติคาลามาตาร์, ท่าอากาศยานนานาชาติโรเดส
แคนาดา แอร์แคนาดา ท่าอากาศยานนานาชาติคัลแกรี, ท่าอากาศยานนานาชาติมอนทรีอัล ปิแอร์ อิลเลียต ทรูโด, ท่าอากาศยานนานาชาติโทรอนโตเพียร์สัน, ท่าอากาศยานนานาชาติท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์ ท่าอากาศยานนานาชาติเอ็ตมอนตอล, ท่าอากาศยานนานาชาติฮาลิแฟ็กสแตน์เฟต, ท่าอากาศยานนานาชาติออตตาวาแม็คโดแนลแครเทียร์, ท่าอากาศยานนานาชาติวินนีเพ็ค
จีน แอร์ไชนา ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง, ท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูซวงหลิว, ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง ท่าอากาศยานนานาชาติฉงชิ่งเจียงเป่ย์, ท่าอากาศยานนานาชาติหางโจวโอคุยา, ท่าอากาศยานนานาชาติเทียนจินปินไห่, ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ฮั่น

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ 2019figures
  2. 2.0 2.1 "Star Alliance Facts and Figures". สืบค้นเมื่อ 16 September 2019.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ headquarter1
  4. "Star Alliance Management". www.staralliance.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2018. สืบค้นเมื่อ 18 April 2017.
  5. "Scott Kirby Elected New Chairman of Star Alliance Chief Executive Board". www.staralliance.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2021. สืบค้นเมื่อ 11 March 2021.
  6. Star Alliance Member Airline จาก เว็บไซต์ Star alliance (สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2555)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]