ข้าวฟ่าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Sorghum bicolor)
ข้าวฟ่าง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Poales
วงศ์: Poaceae
สกุล: Sorghum
สปีชีส์: S.  bicolor
ชื่อทวินาม
Sorghum bicolor
(L.) Moench
ชื่อพ้อง[1]
รายการ
    • Agrostis nigricans (Ruiz & Pav.) Poir.
    • Andropogon besseri Kunth
    • Andropogon bicolor (L.) Roxb.
    • Andropogon caffrorum (Thunb.) Kunth
    • Andropogon compactus Brot.
    • Andropogon dulcis Burm.f.
    • Andropogon niger (Ard.) Kunth
    • Andropogon saccharatrus Kunth
    • Andropogon saccharatus (L.) Raspail
    • Andropogon sorghum (L.) Brot.
    • Andropogon subglabrescens Steud.
    • Andropogon truchmenorum Walp.
    • Andropogon usorum Steud.
    • Andropogon vulgare (Pers.) Balansa
    • Andropogon vulgaris Raspail
    • Holcus arduinii J.F.Gmel.
    • Holcus bicolor L.
    • Holcus cafer Ard.
    • Holcus caffrorum (Retz.) Thunb.
    • Holcus cernuus Ard.
    • Holcus cernuus Muhl. nom. illeg.
    • Holcus cernuus Willd. nom. illeg.
    • Holcus compactus Lam.
    • Holcus dochna Forssk.
    • Holcus dora Mieg
    • Holcus duna J.F.Gmel.
    • Holcus durra Forssk.
    • Holcus niger Ard.
    • Holcus nigerrimus Ard.
    • Holcus rubens Gaertn.
    • Holcus saccharatus var. technicus (Körn.) Farw.
    • Holcus sorghum L.
    • Holcus sorghum Brot. nom. illeg.
    • Milium bicolor (L.) Cav.
    • Milium compactum (Lam.) Cav.
    • Milium maximum Cav.
    • Milium nigricans Ruiz & Pav.
    • Milium sorghum (L.) Cav.
    • Panicum caffrorum Retz.
    • Panicum frumentaceum Salisb. nom. illeg.
    • Rhaphis sorghum (L.) Roberty
    • Sorghum abyssinicum (Hack.) Chiov. nom. illeg.
    • Sorghum ankolib (Hack.) Stapf
    • Sorghum anomalum Desv.
    • Sorghum arduinii (Gmel.) J.Jacq.
    • Sorghum basiplicatum Chiov.
    • Sorghum basutorum Snowden
    • Sorghum caffrorum (Retz.) P.Beauv.
    • Sorghum campanum Ten. & Guss.
    • Sorghum caudatum (Hack.) Stapf
    • Sorghum centroplicatum Chiov.
    • Sorghum cernuum (Ard.) Host
    • Sorghum compactum Lag.
    • Sorghum conspicuum Snowden
    • Sorghum coriaceum Snowden
    • Sorghum dochna (Forssk.) Snowden
    • Sorghum dora (Mieg) Cuoco
    • Sorghum dulcicaule Snowden
    • Sorghum dura Griseb.
    • Sorghum durra (Forssk.) Batt. & Trab.
    • Sorghum elegans (Körn.) Snowden
    • Sorghum eplicatum Chiov.
    • Sorghum exsertum Snowden
    • Sorghum gambicum Snowden
    • Sorghum giganteum Edgew.
    • Sorghum glabrescens (Steud.) Schweinf. & Asch.
    • Sorghum glycychylum Pass.
    • Sorghum guineense Stapf
    • Sorghum japonicum (Hack.) Roshev.
    • Sorghum margaritiferum Stapf
    • Sorghum medioplicatum Chiov.
    • Sorghum melaleucum Stapf
    • Sorghum melanocarpum Huber
    • Sorghum mellitum Snowden
    • Sorghum membranaceum Chiov.
    • Sorghum miliiforme (Hack.) Snowden
    • Sorghum nankinense Huber
    • Sorghum nervosum Besser ex Schult. & Schult.f.
    • Sorghum nervosum Chiov. nom. illeg.
    • Sorghum nigricans (Ruiz & Pav.) Snowden
    • Sorghum nigrum (Ard.) Roem. & Schult.
    • Sorghum notabile Snowden
    • Sorghum pallidum Chiov. nom. illeg.
    • Sorghum papyrascens Stapf
    • Sorghum rigidum Snowden
    • Sorghum rollii Chiov.
    • Sorghum roxburghii var. hians (Hook.f.) Stapf
    • Sorghum saccharatum Host nom. illeg.
    • Sorghum saccharatum (L.) Pers. nom. illeg.
    • Sorghum sativum (Hack.) Batt. & Trab.
    • Sorghum schimperi (Hack.) Chiov. nom. illeg.
    • Sorghum simulans Snowden
    • Sorghum splendidum (Hack.) Snowden
    • Sorghum subglabrescens (Steud.) Schweinf. & Asch.
    • Sorghum tataricum Huber
    • Sorghum technicum (Körn.) Batt. & Trab.
    • Sorghum technicum (Körn.) Roshev.
    • Sorghum truchmenorum K.Koch
    • Sorghum usorum Nees
    • Sorghum vulgare Pers. nom. illeg.


Sorghum bicolor Moderne

ข้าวฟ่าง, ข้าวฟ่างหางช้าง หรือ ข้าวฟ่างสมุทรโคดม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sorghum bicolor) เป็นพืชปลูกในสกุลข้าวฟ่างและมีชื่อสามัญว่า sorghum เป็นพืชในวงศ์หญ้า อายุปีเดียว ต้นเดี่ยวหรือแตกกอที่โคน มีรากพิเศษเป็นรากฝอย ต้นตั้ง แห้งหรือฉ่ำน้ำ จืดหรือหวาน ส่วนกลางลำต้นมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ มีช่วงว่างในส่วนพิธ ใบเรียงสลับ กาบล้อมลำต้นโดยส่วนของกาบซ้อนเหลื่อมกัน มีไขนวลปกคลุม ลิ้นใบสั้น มีขนปกคลุมตามขอบด้านบน มีปากใบทั้งสองด้าน ดอกช่อ ผลแบบธัญพืชกลมหรือปลายมน แหลม ใช้เป็นอาหารทั้งมนุษย์และสัตว์ และใช้เป็นพืชเชื้อเพลิง ข้าวฟ่างหวานเป็นสายพันธุ์ที่ใช้ปลูกเพื่อผลิตน้ำตาลและเอทานอล ต้นสูงกว่าพันธุ์กินเมล็ด[2][3]

พันธุ์[แก้]

ข้าวฟ่างเป็นพืชที่มีความหลากหลายมาก แบ่งเป็น 5 กลุ่มพันธุ์คือ

  • กลุ่มพันธุ์ bicolor ช่อดอกแผ่ออก ก้านช่อดอกย่อยยาว ปลูกในเอเชียและแอฟริกา บางชนิดลำต้นมีรสหวาน ใช้ผลิตน้ำหวานและกากน้ำตาลได้ พันธุ์ที่เมล็ดมีรสขมใช้แต่งรสชาติเบียร์ได้แต่ใช้น้อย
  • กลุ่มพันธุ์ caudatom เมล็ดคล้ายหลังเต่า แบน 1 ด้าน โค้ง 3 ด้าน ก้านช่อดอกย่อยสั้นกว่าเมล็ดมาก พันธุ์นี้ปลูกในชาด ซูดาน ไนจีเรียและยูกันดา
  • กลุ่มพันธุ์ durra ช่อดอกแน่น ช่อดอกย่อยไม่มีก้าน ลักษณะแบน ก้านช่อย่อยอันล่างเป็นรอยพับ เมล็ดมักจะกลม ปลูกมากในทะเลทรายซะฮารา แอฟริกาตะวันตกและตะวันออก รวมทั้งในอินเดีย
  • กลุ่มพันธุ์ guiveea ช่อดอกขนาดใหญ่ ช่อแผ่กว้าง เมื่อแก่ก้านช่อดอกจะห้อยลง เมล็ดแบน บิดอยู่ระหว่างกาบช่อย่อยเมื่อแก่ นิยมปลูกในแอฟริกา ในสมัยก่อนนิยมใช้เป็นอาหารระหว่างการเดินเรือ
  • กลุ่มพันธุ์ kafir ช่อดอกค่อนข้างแน่น ทรงกระบอก ช่อดอกรูปรี ไม่มีก้านช่อดอกย่อย เป็นอาหารหลักในแทนซาเนียและใบแอฟริกา

การใช้ประโยชน์[แก้]

คาดว่าข้าวฟ่างมีถิ่นกำเนิดในเอธิโอเปีย จากนั้นแพร่กระจายไปตามเส้นทางการค้าหรือการเดินเรือ เป็นพืชอาหารที่สำคัญในแอฟริกาและเอเชีย และเป็นพืชอาหารสัตว์ที่สำคัญในสหรัฐและออสเตรเลีย ปรุงได้ทั้งโดยการค่วและต้ม ใช้ทำโจ๊ก อบขนมปัง หรือผลิตเบียร์ โดยใช้เมล็ดข้าวฟ่างไปเพาะให้งอก ในจีนใช้เมล็ดข้าวฟ่างผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และน้ำส้มสายชู ต้นข้าวฟ่างใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง เชื้อเพลิงและอาหารสัตว์ ลำต้นของข้าวฟ่างหวานใช้เป็นอาหารสัตว์และผลิตน้ำตาล

เมล็ดข้าวฟ่างมีแทนนินซึ่งทำให้โปรตีนในข้าวฟ่างย่อยได้น้อย โปรตีนในข้าวฟ่างส่วนใหญ่เป็นโพร์ลามีนที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร โปรตีนที่มีประโยชน์มีเพียง 8-9% ขาดกรดอะมิโน 3 ชนิดคือ ไลซีน เมทไทโอนีน และทรีโอนีน ลำต้นของข้าวฟ่างมีสารกลุ่มคูร์รินซึ่งจะสลายตัวได้เป็นกรดไฮโดรไซยานิก ที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ สารนี้มีมากในใบอ่อนและหน่อ และต้นที่พบปัญหาแล้งจัด ต้นที่อายุมากขึ้น กรดไฮโดรไซยานิกจะลดลง เมื่อเป็นหญ้าแห้งหรือหญ้าหมัก สารนี้จะสลายตัวไป

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Plant List".
  2. "Grassland Index: Sorghum bicolor (L.) Moench". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-19. สืบค้นเมื่อ 2014-02-13.
  3. "Sweet Sorghum". Sweet Sorghum Ethanol Producers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-28. สืบค้นเมื่อ 13 November 2012.
  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10: ธัญพืช. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 183 - 185