หมู่เกาะโซโลมอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Solomon Islands)
หมู่เกาะโซโลมอน

Solomon Islands (อังกฤษ)
Coat of Armsของหมู่เกาะโซโลมอน
Coat of Arms
คำขวัญTo Lead is to Serve
ที่ตั้งของหมู่เกาะโซโลมอน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
โฮนีอารา
ภาษาราชการภาษาอังกฤษ
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
Sir David Vunagi
Manasseh Sogavare
เอกราช
7 กรกฎาคม พ.ศ. 2521
พื้นที่
• รวม
28,450 ตารางกิโลเมตร (10,980 ตารางไมล์) (อันดับที่ 141)
3.2%
ประชากร
• ก.ค. 2548 ประมาณ
478,000 (อันดับที่ 166)
17 ต่อตารางกิโลเมตร (44.0 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 188)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 1.317 พันล้าน
$ 2,145
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 1.273 พันล้าน
$ 2,074
เอชดีไอ (2562)เพิ่มขึ้น 0.567[1]
ปานกลาง · (อันดับที่ 151)
สกุลเงินดอลลาร์หมู่เกาะโซโลมอน (SBD)
เขตเวลาUTC+11
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+677
โดเมนบนสุด.sb

หมู่เกาะโซโลมอน (อังกฤษ: Solomon Islands) เป็นประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศปาปัวนิวกินี และเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพ ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ กว่า 990 เกาะ ซึ่งมีพื้นที่รวมกัน 28,000 ตารางกิโลเมตร

ประวัติศาสตร์[แก้]

หมู่เกาะโซโลมอน สันนิษฐานว่ามีคนอาศัยอยู่คนเกาะนี้มาแล้วเกือบ 2,000 ปีมาแล้ว หมู่เกาะนี้ถูกค้นพบเมื่อปี 1568 โดยชาวสเปนชื่อ กัปตันAlvaro de Mendana หลังจากนั้นมาเกาะโซโลมอน ก็ไม่มีใครเข้าไปเลยเป็นเวลากว่า 200 ปี

ในปี 1886 ประเทศอังกฤษ กับ เยอรมนี ได้มีการแบ่งแยกดินแดนของเกาะโซโลมอน แต่ต่อมาภายหลังประเทศ สหราชอาณาจักรอังกฤษได้เป็นผู้ถือครองเกาะแห่งนี้แต่เพียงผู้เดียว

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง โซโลมอนเป็นที่หมายปองของคู่สงคราม เพราะเป็นจุดพักระหว่างทางของการขนส่งสินค้าในมหาสมุทรแปซิฟิค และ มีทะเลล้อมรอบ จึงรบเพียงแค่ทางเรือ และ ทางอากาศ โดยมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม และ อุดมสมบูรณ์จึงได้ชื่อว่า Pearl of Pacific (ไข่มุกแห่งแปซิฟิค) โดยกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้บุกรุกเข้ามาในเกาะนี้ช่วงต้นของสงคราม แต่กองทัพสหราชอาณาจักรก็สามารถยึดครองดินแดนกลับมาได้อีกครั้งในปี 1945 ในปี 1976 เกาะแห่งนี้กลายเป็นดินแดนที่สามารถปกครองตนเองได้และได้รับเอกราช ในวันที่ 7 กรกฎาคม 1978 และได้เข้าเป็นภาคีสหประชาชาติเมื่อ 19 กันยายน 1978

การเมืองการปกครอง[แก้]

นิติบัญญัติ[แก้]

อำนาจนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภาแห่งชาติ ซึ่งเป็นสภาเดียว ประกอบด้วยสมาชิกสภา 30-50 คน โดยกระจายอำนาจ แบ่งเป็น 4 ภาค แต่ละภาคมีสภาปกครองท้องถิ่น 8 แห่ง สมาชิกสภาปกครองท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

หมู่เกาะโซโลมอนแบ่งเป็น 9 จังหวัด (provinces) และ 1 เขตเมืองหลวง*:

เศรษฐกิจ[แก้]

เศรษฐกิจของประเทศขึ้นอยู่กับการเกษตรเป็นหลัก ประมาณร้อยละ 90 ของจำนวนประชากร มีอาชีพกสิกรรม ทำป่าไม้ และประมง มีรายได้จากการส่งออกประมาณปีละ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

รัฐบาลหมู่เกาะโซโลมอนพยายามชักชวนให้ประเทศต่าง ๆ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เข้าไปร่วมทุนในสาขาต่าง ๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว การผลิตไม้แปรรูปเพื่อส่งออก การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น รัฐบาลได้วางกฎเกณฑ์ เพื่อส่งเสริมการ ลงทุน โดยการลดภาษีการค้า ยกเว้นภาษีวัตถุดิบและเครื่องจักรกลสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเวลา 5 ปี และไม่มีข้อห้ามสำหรับการส่งผลกำไรออกนอกประเทศ

ประชากรศาสตร์[แก้]

เชื้อชาติ[แก้]

ประกอบด้วยชาวเมลานีเซียซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ มีชาวไมโครนีเซีย ยุโรปและเอเชียเล็กน้อย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายอังกลิเคน ร้อยละ 34 โรมันคาทอลิก ร้อยละ 19 และอีวันเจลิคอน ร้อยละ 24

อ้างอิง[แก้]

  1. "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. December 15, 2020. สืบค้นเมื่อ December 15, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
การศึกษา
ด้านการท่องเที่ยว
  • คู่มือการท่องเที่ยว Solomon Islands จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)