กวางรูซาชวา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Rusa timorensis)
กวางรูซาชวา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Cervidae
วงศ์ย่อย: Cervinae
สกุล: Rusa
สปีชีส์: R.  timorensis
ชื่อทวินาม
Rusa timorensis
(Blainville, 1822)
พื้นที่การกระจายพันธุ์ทั้งในปัจจุบันและในอดีต
ชื่อพ้อง[1]
  • Cervus celebensis Rorig, 1896
  • Cervus hippelaphus G.Q. Cuvier, 1825 (ชื่อเดิมที่เคยมีผู้ตั้งไว้ก่อนแล้ว)
  • Cervus lepidus Sundevall, 1846
  • Cervus moluccensis Quoy & Gaimard, 1830
  • Cervus peronii Cuvier, 1825
  • Cervus russa Müller & Schlegel, 1845
  • Cervus tavistocki Lydekker, 1900
  • Cervus timorensis Blainville, 1822
  • Cervus tunjuc Horsfield, 1830 (ชื่อตั้งไร้คำบรรยาย)

กวางรูซาชวา หรือเรียกสั้น ๆ ว่า กวางรูซา (อังกฤษ: Javan rusa;[2] ชื่อวิทยาศาสตร์: Rusa timorensis) เป็นกวางชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดที่เกาะชวาของอินโดนีเซีย ลักษณะโดยทั่วไป คือเป็นกวางขนาดกลาง ลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง-น้ำตาลเทา บริเวณใต้คอและใต้ท้องมีสีน้ำตาลอ่อน เพศเมียจะมีสีอ่อนกว่าเพศผู้ น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ของตัวผู้ประมาณ 120-160 กิโลกรัม ตัวเมีย 65-90 กิโลกรัม ความยาวรอบตัว 1.3-2.5 เมตร ความยาวหาง 10-30 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะมีความสูงเท่ากับ 110 เซนติเมตรและ 90 เซนติเมตรตามลำดับ

การจำแนกแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดย่อย ดังนี้

ตัวเมีย

อุปนิสัยของกวางรูซาชวา มักอยู่เป็นฝูงใหญ่ในบริเวณป่าโปร่ง ทุ่งหญ้า ตามพุ่มไม้เมื่อต้องการพักผ่อนจะหลบไปซ่อนตัวในป่าทึบ ไม่ชอบพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง แยกฝูงตัวผู้ตัวเมีย ตัวผู้จะคุมฝูงเฉพาะฤดูผสมพันธุ์ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ที่มีศักดิ์สูงจะเข้าคุมฝูงและจัดตั้งฮาเร็มของตัวเอง แผดเสียงร้องดัง ส่งเสียงคำรามท้าทายตัวอื่น มีการต่อสู้แย่งชิงตัวเมียจนบางครั้งต่อสู้กันถึงตาย ระบบสังคมในฝูงของกวางตัวเมียที่มีอายุมากจะเป็นผู้นำภายในฝูง

กวางรูซาชวาถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีการเพาะเลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์ เพื่อเอาเขากวางอ่อน และเนื้อในการบริโภค นิยมเลี้ยงกันในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และไทย[3] [4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Hedges, S., Duckworth, J.W., Timmins, R.J., Semiadi, G. & Priyono, A. (2008). Rusa timorensis. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 9 April 2009. Database entry includes a brief justification of why this species is of vulnerable.
  2. 2.0 2.1 Groves, C. (2005-11-16). Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. ISBN 0-801-88221-4.
  3. "ผู้ว่าฯ นำทีมลิ้มรส "สเต๊กกวางรูซ่า" สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ของเนินมะปราง". ผู้จัดการออนไลน์. 22 October 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 11 December 2014.
  4. LONG JL 2003. Introduced Mammals of the World: Their History, Distribution and Influence (Cabi Publishing) by John L. Long (ISBN 9780851997483)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Rusa timorensis ที่วิกิสปีชีส์